ภาพจากศิลปินแสดงดาวไฮเปอร์ยักษ์แดง VY Canis Majoris ซึ่งอยู่ไกลออกไป 3009 ปีแสงจากโลก มันอาจจะเป็นดาวมวลสูงสุดเท่าที่เคยพบในทางช้างเผือก
ทีมนักดาราศาสตร์ได้สร้างภาพดาวไฮเปอร์ยักษ์(hypergiant)
ดวงหนึ่งที่กำลังจะตาย
ในรายละเอียดสามมิติ ทีมซึ่งนำโดย Ambesh Singh และ Lucy Ziurys จากมหาวิทยาลัยอริโซนา ได้ตามรอยการกระจายตัว,
ทิศทางและความเร็วของโมเลกุลหลากหลายชนิดรอบๆ
ดาวไฮเปอร์ยักษ์แดงดวงหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า VY Canis Majoris
การค้นพบนำเสนอในการประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันครั้งที่
240 ในพาซาดีนา
คาลิฟอร์เนีย ได้ให้แง่มุมในระดับที่ไม่น่าเชื่อ สู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตายของดาวฤกษ์ยักษ์
ทีมประกอบด้วย Robert Humphreys จากมหวิทยาลัยมินเนโซตา
และ Anita Richards จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
ในสหราชอาณาจักร
ดาวซุปเปอร์ยักษ์สุดขั้วที่เรียกว่า
ไฮเปอร์ยักษ์ นั้นพบได้ยากมากๆ โดยในทางช้างเผือกพบเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น
บีเทลจุส(Betelgeuse) ดาวที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มดาวนายพราน(Orion)
และ NML Cygni หรือ V1489 Cygni ในกลุ่มดาวหงส์(Cygnus) ดาวมวลสูงไม่เหมือนกับดาวมวลต่ำลงมาซึ่งจะพองตัวออกเมื่อเข้าสู่สถานะดาวยักษ์แดง(red
giant) แต่ก็ยังรักษารูปร่างทรงกลมได้
ไฮเปอร์ยักษ์จะมีการสูญเสียมวลอย่างรุนแรงเป็นครั้งคราว
ซึ่งจะก่อตัวโครงสร้างที่ซับซ้อนและไม่ปกติมากๆ ประกอบด้วยวงโค้ง(arcs), ก้อน(clumps) และปม(knots)
VY Canis Majoris(เขียนสั้นๆ ว่า VY CMa) อยู่ห่างจากโลกออกไป 3009 ปีแสง มันเป็นดาวแปรแสงที่หดพองได้(pulsating
variable star) ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่(Canis
Major) มีมวลราว 17
เท่าดวงอาทิตย์ เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง
10,000 ถึง 15,000
เท่าหน่วยดาราศาสตร์(astronomical
units; 1 AU คือระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์)
VY CMa จึงอาจจะเป็นดาวขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในทางช้างเผือกมา
Ziurys บอกไว้
ลองนึกถึงบีเทลจุสในแบบโด๊ปสเตียรอยด์ Ziurys
กล่าว แต่มันใหญ่กว่ามาก,
มีมวลสูงกว่ามาก และมีการผลักมวลอย่างรุนแรงทุกๆ 200 ปีหรือประมาณนั้น ทีมเลือกศึกษา VY CMa ด้วยเหตุผลที่มันเป็นหนึ่งในตัวอย่างดาวฤกษ์ชนิดเหล่านี้ที่ดีที่สุดดวงหนึ่ง
เราสนใจเป็นพิเศษว่าไฮเปอร์ยักษ์ทำอะไรเมื่อถึงจุดจบชีวิตของพวกมัน Singh
นักศึกษาปริญญาเอกปีที่สี่ในห้องทดลอง
Ziurys กล่าว
ผู้คนมักจะคิดว่าดาวมวลสูงเหล่านี้ก็แค่พัฒนาระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา
แต่เราชักจะไม่แน่ใจอีกต่อไป เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็น่าจะได้เห็นซุปเปอร์โนวาได้มากกว่านี้
Ziurys กล่าวเสริม
ขณะนี้เราคิดว่าพวกมันอาจจะยุบตัวลงอย่างเงียบๆ
กลายเป็นหลุมดำแต่เราไม่ทราบว่าดวงไหนจะจบชีวิตแบบนั้น หรือเกิดขึ้นเพราะอะไรและอย่างไร
การตรวจสอบสเปคตรัมและภาพถ่าย
VY CMa ก่อนหน้านี้จากกล้องฮับเบิล
ได้แสดงถึงการมีอยู่ของวงโค้งและปมก้อนอื่นๆ อย่างชัดเจน
หลายรายละเอียดแผ่ออกไปไกลหลายพัน AU จากดาว
เพื่อค้นหารายละเอียดกระบวนการที่ไฮเปอร์ยักษ์จะจบชีวิตให้มากขึ้น
ทีมจึงตามรอยโมเลกุลบางชนิดที่พบรอบๆ ดาว และทำแผนที่โมเลกุลเหล่านั้นบนภาพฝุ่นที่มีอยู่ก่อนแล้วซึ่งถ่ายโดยกล้องฮับเบิล
ไม่มีใครที่จะสามารถสร้างภาพดาวดวงนี้ได้โดยสมบูรณ์ Ziurys กล่าว
อธิบายว่าทีมของเธอต้องการจะเข้าใจกลไกที่ดาวทิ้งมวล
ซึ่งดูจะแตกต่างจากที่ดาวขนาดเล็กกว่าเป็น
เมื่อเข้าสู่ช่วงยักษ์แดงในบั้นปลายชีวิตของพวกมัน
คุณจะไม่เห็นการสูญเสียมวลแบบสมมาตร แต่จะเป็นเซลล์การพาความร้อน(convective
cells) ที่พัดพาผ่านชั้นโฟโตสเฟียร์ของดาว
เหมือนกับลูกกระสุนยักษ์ และผลักมวลออกมาในทิศทางที่แตกต่างกัน เธอกล่าว
มันก็คล้ายกับ coronal arc ที่ดวงอาทิตย์
แต่ใหญ่กว่าถึงหนึ่งพันล้านเท่า
ทีมใช้ ALMA ในชิลีเพื่อตามรอยโมเลกุลหลายชนิดในวัสดุสารที่พื้นผิวดาวผลักออกมา
ในขณะที่ยังคงทำการสำรวจบางส่วนอยู่
แต่ก็ทำแผนที่เบื้องต้นจากโมเลกุลกำมะถันออกไซด์, กำมะถันไดออกไซด์,
ซิลิกอนออกไซด์, ฟอสฟอรัสออกไซด์ และโซเดียมคลอไรด์ เรียบร้อยแล้ว จากข้อมูลเหล่านี้
ทีมได้สร้างภาพโครงสร้างโมเลกุลที่ไหลออกจาก VY CMa ในระดับที่แสดงแนวโน้มที่วัสดุสารทั้งหมดถูกผลักออกจากดาวฤกษ์
โมเลกุลประปรายอยู่ตามวงโค้งในเปลือกก๊าซ
ซึ่งบอกเราว่าโมเลกุลผสมคลุกเคล้ากับฝุ่นอย่างทั่วถึง Singh กล่าว ข้อดีของการเปล่งคลื่นจากโมเลกุลในช่วงวิทยุก็คือ
พวกมันให้ข้อมูลความเร็ว ไม่เหมือนกับการเปล่งคลื่นจากฝุ่น ซึ่งอยู่นิ่ง
ด้วยการหันจานรับสัญญาณวิทยุ 48 จานของ ALMA ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
นักวิจัยก็สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางและความเร็วของโมเลกุล
และทำแผนที่โมเลกุลในพื้นที่ต่างๆ ในเปลือกก๊าซรอบไฮเปอร์ยักษ์ดวงนี้ ในรายละเอียด
กระทั่งเชื่อมโยงโมเลกุลกับการผลักมวลครั้งต่างๆ ได้
การประมวลผลข้อมูลยังเป็นภาระหนักในแง่พลังการคำนวณ Singh กล่าว โดยรวมแล้ว เราได้ประมวลผลข้อมูลเกือบ 1
เทร่าไบต์จาก ALMA และเรายังคงได้รับข้อมูลเพื่อที่เราจะได้เข้าถึงความละเอียดสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้
เขากล่าว แค่เทียบมาตรฐาน(calibrate) กับล้างข้อมูล
ก็ต้องวนทำซ้ำ(iteration) ถึง 2
หมื่นรอบแล้ว
ซึ่งใช้เวลาหนึ่งถึงสองวันสำหรับโมเลกุลแต่ละชนิด
ด้วยการสำรวจเหล่านี้
ขณะนี้เราสามารถทำแผนที่ได้ Ziurys กล่าว
กระทั่งตอนนี้ ก็ทำได้เพียงศึกษาพื้นที่ส่วนเล็กๆ
ของโครงสร้างขนาดมหึมานี้เท่านั้น
แต่คุณก็ยังไม่เข้าใจการสูญเสียมวลและดาวขนาดใหญ่เหล่านี้ตายได้อย่างไร
โดยที่ไม่ได้พิจารณาพื้นที่ทั้งหมดทั้งมวล
นี่เป็นเหตุผลที่เราอยากจะสร้างภาพที่สมบูรณ์ขึ้นมา
แหล่งข่าว spaceref.com
: watching the death of a rare giant star
space.com : “Betelgeuse on steroids ” sheds light on how rare massive stars
die
No comments:
Post a Comment