Wednesday 8 June 2022

Liller 1

 

Liller 1 


     สีแดงส้มของกระจุกดาวทรงกลม Liller 1 ในภาพนี้ บางส่วนถูกกลบด้วยแสงจ้าของดาวสีฟ้าแสบตาที่กระจุกตัวอย่างหนาแน่น ในความเป็นจริง ต้องขอบคุณกล้องมุมกว้าง 3(WFC3) ของกล้องฮับเบิลที่ทำให้เราเห็น Liller 1 ในภาพนี้ได้อย่างชัดเจนมาก เนื่องจาก WFC3 นั้นไวต่อช่วงความยาวคลื่นแสงที่สายตามนุษย์มองไม่เห็น

     Liller 1 อยู่ห่างออกไปเพียง 3 หมื่นปีแสงจากโลก ซึ่งถือว่าค่อนข้างเป็นละแวกเพื่อนบ้านในทางดาราศาสตร์ แต่มันอยู่ภายในส่วนป่อง(bulge) ของทางช้างเผือก ซึ่งเป็นพื้นที่ในใจกลางกาแลคซีของเรา ซึ่งทั้งหนาแน่นแออัดและเต็มไปด้วยฝุ่น เพราะอย่างนี้ Liller 1 จึงถูกปิดกั้นอย่างหนักหน่วงโดยฝุ่นในห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว ซึ่งทำให้แสงช่วงตาเห็นได้โดยเฉพาะแสงสีฟ้า กระเจิง(scattering) อย่างรุนแรง โชคดีที่แสงอินฟราเรดบางส่วนและแสงช่วงตาเห็นสีแดง ยังสามารถผ่านทะลุพื้นที่ฝุ่นเหล่านี้ได้ WFC3 นั้นไวต่อทั้งแสงช่วงตาเห็นและอินฟราเรดใกล้ ช่วยให้เราได้มองทะลุผ่านเมฆฝุ่นที่ปิดกั้น และให้ภาพ Liller 1 ที่ตระการตา

     Liller 1 เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมันไม่เหมือนกับกระจุกทรงกลมเกือบทั้งหมด เมื่อมันเป็นส่วนผสมของดาวที่อายุน้อยมากและดาวที่อายุเก่าแก่มาก กระจุกดาวทรงกลมโดยปกติจะมีเพียงแค่ดาวอายุมาก บางส่วนอาจมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงกับอายุของเอกภพ แต่ Liller 1 กลับมีประชากรดาวที่มีอายุแตกต่างกันอย่างชัดเจนอย่างน้อย 2 กลุ่ม ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุ 12 พันล้านปี และที่อายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 1 ถึง 2 พันล้านปีเท่านั้น นี่ทำให้นักดาราศาสตร์สรุปว่าระบบของดาวแห่งนี้สามารถก่อตัวดาวในช่วงเวลาที่ยาวนานเป็นพิเศษ

 

แหล่งข่าว esahubble.org : hiding in plain sight   

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...