Wednesday, 15 June 2022

โรงงานผลิตดาวใน Minkowski's Object

     กล้องโทรทรรศน์อวกาศอับเบิลได้จับภาพโรงงานที่กำลังวุ่นวายกับการสร้างดาว วัตถุรูปร่างประหลาดนี้มีชื่อว่า วัตถุของ
มินคาวสกี้
(Minkowski’s object) เป็นกาแลคซีแคระที่เรืองสีฟ้าสว่าง ด้านล่างซ้ายของภาพ ในขณะที่กาแลคซีทรงรี NGC 541 ก็สว่างด้านบนขวา วัตถุของมินคาวสกี้พร่าพรายด้วยดาว มีดาวอย่างน้อย 20 ล้านดวง และได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจากเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ของมัน ภาพใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม


ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแสดง วัตถุของมินคาวสกี้(Minkowski’s Object) ด้านล่างซ้าย และกาแลคซีทรงรี NGC 541

     กาแลคซีแคระแห่งนี้ได้ชื่อตาม นักดาราศาสตร์ชาวเจอรมนี-อเมริกา Rudolph Minkowski ซึ่งทำงานสหวิทยาการซึ่งรวมถึงการตรวจสอบวิวัฒนาการกาแลคซี และแยกซุปเปอร์โนวาออกเป็น 2 ชนิด

     ในแถลงการณ์กล่าวว่า ไอพ่นวิทยุจาก NGC 541 น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการก่อตัวดาวในวัตถุของมินคาวสกี้ ไอพ่นนี้ผลักดันก๊าซรอบๆ กาแลคซี บีบอัดก๊าซจนกระทั่งโมเลกุลมีพลังงานสูงแตกตัวเป็นไอออน เมื่อก๊าซที่เป็นไอออนเปลี่ยนจากสถานะพลังงานสูงกว่าลงมาที่ระดับพลังงานต่ำกว่า พลังงานที่หนีจากเมฆนี้ในรูปของการแผ่รังสี เมื่อเมฆเย็นตัวลง พวกมันจะยุบตัว และให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ๆ ขึ้นมา

     NGC 541 เป็นกาแลคซีทรงรีที่น่าจะเกิดขึ้นจากการควบรวมของกาแลคซี 2 แห่ง กล้องโทรทรรศน์ได้บันทึกไอพ่นวิทยุของกาแลคซี แสดงว่ากระแสอนุภาควิ่งออกจากดิสก์สะสมมวลสาร(accretion disk) ที่ล้อมรอบหลุมดำแห่งหนึ่งในใจกลางกาแลคซี กิจกรรมวิทยุน่าจะเกิดขึ้นจากเศษซากจากการชนใกล้เคียง แต่ใดๆ ก็คือ พื้นที่ที่วุ่นวายเป็นเหตุผลหนึ่งที่ฮับเบิลเล็งกล้องไปเพื่อให้เข้าใจสภาวะที่เหนี่ยวนำการก่อตัวดาวขึ้นมา ให้ดีขึ้น

      ทั้งกล้องฮับเบิลและผู้สืบทอด กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ อุทิศให้กับการเข้าใจว่ากาแลคซีและดาวก่อตัวได้อย่างไร ให้ดีขึ้น กระจกที่ใหญ่กว่าและตำแหน่งในอวกาศของกล้องเวบบ์จะช่วยให้มันตรวจสอบไปถึงกาแลคซีแห่งแรกๆ สุดในเอกภพ งานวิจัยกาแลคซีของกล้องเวบบ์จะพิจารณาหัวข้อเช่น การควบรวม, การชน, หลุมดำมวลมหาศาล และชนิดของกาแลคซี


แหล่งข่าว space.com : Hubble telescope spots peculiar dwarf galaxy with really bright neighbor

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...