ซ้าย: ภาพยูเรนัสจากกล้องฮับเบิลเพื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2021 นำหมวกคลุมขั้วเหนือ(northern polar hood) สว่างของดาวเคราะห์มาให้เห็นอย่างชัดเจน ขวา: ภาพเนปจูนจากกล้องฮับเบิลเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2021 แสดงรายละเอียดจุดมืดและซีกโลกเหนือเนปจูนที่มืดลง
ขณะนี้
นักดาราศาสตร์อาจจะทราบแล้วว่าเพราะเหตุใด ยูเรนัสและเนปจูน จึงมีสีที่แตกต่างกัน
ด้วยการสำรวจจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
เช่นเดียวกับจากกล้องโทรทรรศน์เจมิไนเหนือและ NASA Infrared Telescope
Facility นักวิจัยได้พัฒนาแบบจำลองชั้นบรรยากาศชิ้นหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจดาวเคราะห์ทั้งสอง
แบบจำลองเผยให้เห็นว่า หมอก(haze) บนยูเรนัสที่มีมากมายสะสมในชั้นบรรยากาศที่นิ่งสนิทของดาวเคราะห์
และทำให้มันมีโทนสีที่อ่อนกว่าเนปจูน
เนปจูนและยูเรนัสมีความคล้ายกันมาก
พวกมันมีมวล, ขนาด และองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศที่เหมือนกัน
แต่ลักษณะปรากฏของทั้งสองกลับแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ในช่วงความยาวคลื่นที่ตาเห็นได้ เนปจูนจะมีสีครามสด(azure) ในขณะที่ยูเรนัสมีสีฟ้าอมเขียว(cyan)
ขณะนี้นักดาราศาสตร์มีคำอธิบายว่าเพราะเหตุใดดาวเคราะห์ทั้งสองจึงมีสีที่แตกต่างกัน
งานวิจัยใหม่บอกว่า
มีชั้นของหมอกที่หนาที่มีบนดาวเคราะห์ทั้งสอง แต่บนยูเรนัสจะหนาทึบกว่าบนเนปจูน
ดังนั้นจึงเหมือน "ทาแป้ง” ให้กับยูเรนัสมากกว่าเนปจูน
ถ้าไม่มีหมอกบนชั้นบรรยากาศยูเรนัสและเนปจูน ทั้งสองดวงก็น่าจะดูเป็นสีฟ้าในเฉดเดียวกันอันเป็นผลจากแสงสีฟ้าที่กระเจิงออกจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ทั้งสอง
ข้อสรุปนี้มาจากแบบจำลองที่ทีมนานาชาติซึ่งนำโดย Patrick Irwin ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ดาวเคราะห์
ที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายชั้นแอโรซอล(aerosol) ในชั้นบรรยากาศยูเรนัสและเนปจูน
การสำรวจชั้นบรรยากาศส่วนบนของดาวเคราะห์ทั้งสองก่อนหน้านี้ มุ่งเป้าไปที่ลักษณะของชั้นบรรยากาศในช่วงความยาวคลื่นที่จำเพาะเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แบบจำลองใหม่ประกอบด้วยชั้นในชั้นบรรยากาศมากมาย
และสอดคล้องกับการสำรวจจากดาวเคราะห์ทั้งสอง ในช่วงความยาวคลื่นที่กว้าง แบบจำลองใหม่ยังรวมอนุภาคหมอกภายในเบื้องลึก
ที่เคยคิดกันว่ามีแต่เพียงเมฆน้ำแข็งของมีเธนและไฮโดรเจนซัลไฟด์เท่านั้น
นี่เป็นแบบจำลองงานใหม่ที่สอดคล้องการสำรวจแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากช่วงความยาวคลื่นอุลตราไวโอเลตจนถึงอินฟราเรดใกล้
ในทีเดียว Irwin ซึ่งเป็นผู้เขียนนำรายงานนี้
อธิบาย รายงานผลสรุปเผยแพร่ใน Journal of Geophysical Research: Planets วันที่ 23 พฤษภาคม ยังเป็นครั้งแรกที่ได้อธิบายความแตกต่างในช่วงตาเห็นระหว่างยูเรนัสและเนปจูนด้วย
ก่อนหน้านี้
นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นมีเธนของเนปจูนที่ทำให้เนปจูนมีสีเข้ม เมื่อก๊าซดูดกลืนแสงสีแดงและสะท้อนแสงสีฟ้าออกมา
แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องจนมุมว่าเกิดอะไรขึ้นบนยูเรนัส
จากที่ยูเรนัสมีมีเธนในสัดส่วนสูงกว่า(2.3% โดยมวลในชั้นบรรยากาศ เทียบกับเนปจูนที่ 1.9%)
แบบจำลองของทีมมุ่งเป้าไปที่แอโรซอลหรืออนุภาคที่แขวนลอยในชั้นบรรยากาศ
โดยบอกว่ามีแอโรซอล 3 ชั้นในระดับความสูงที่แตกต่างกัน
ชั้นหลักที่ส่งผลต่อสีก็คือ ชั้นกลาง
ซึ่งเป็นชั้นของอนุภาคหมอก(ในรายงานระบุว่าเป็น ชั้นแอโรซอล-2) ซึ่งบนยูเรนัสหนากว่าที่เนปจูน ทีมสงสัยว่า
บนดาวเคราะห์ทั้งสอง มีเธนแข็งได้ควบแน่นกลายเป็นอนุภาคในชั้นนี้ ดึงอนุภาคให้จมลึกลงไปในชั้นบรรยากาศในรูปของละอองหิมะมีเธน
เนื่องจากชั้นบรรยากาศเนปจูนปั่นป่วนและมีกิจกรรมมากกว่าชั้นบรรยากาศยูเรนัส
ทีมเชื่อว่าชั้นบรรยากาศเนปจูนจึงมีประสิทธิภาพในการกวนอนุภาคมีเธนให้ลอยขึ้นมาสู่ชั้นหมอกนี้
และสร้างหิมะมีเธน ซึ่งจะกำจัดหมอกออกไปได้มากกว่าและทำให้หมอกของเนปจูนเบาบางกว่าบนยูเรนัส
ผลที่ได้ก็คือ สีฟ้าของเนปจูนจะเข้มกว่า
เราหวังว่าการพัฒนาแบบจำลองนี้น่าจะช่วยเราให้เข้าใจเมฆและหมอกในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ได้
Mike Wong นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย
เบิร์กลีย์ และสมาชิกทีมเบื้องหลังผลสรุปนี้ ให้ความเห็น
การอธิบายความแตกต่างของสีระหว่างยูเรนัสและเนปจูนกลับเป็นโบนัสที่คาดไม่ถึง
เพื่อสร้างแบบจำลองนี้
ทีมวิเคราะห์ข้อมูลในคลังหลายปีจากกล้องฮับเบิล ข้อมูลสเปคตรัมที่ได้จาก STIS(Space
Telescope Imaging Spectrograph) ของฮับเบิล
ครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นที่กว้างตั้งแต่อุลตราไวโอเลตผ่านช่วงตาเห็นและอินฟราเรด
เมื่อรวมกับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน
ทั้งการสำรวจใหม่จากกล้องเจมิไนเหนือ และข้อมูลในคลังของ Infrared
Telescope Facility ซึ่งอยู่ที่ฮาวายทั้งสองแห่ง
ไม่เพียงแต่ทีมจะสามารถตรวจสอบสเปคตรัมดาวเคราะห์ได้
แต่ยังใช้ภาพบางส่วนของฮับเบิลที่ถ่ายด้วยกล้องมุมกว้าง 3(WFC3) ของฮับเบิล ฮับเบิลได้ให้ภาพพายุในชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า
จุดมืด(dark spots) ซึ่งพบเห็นได้บ่อยบนเนปจูนและพบได้น้อยกว่าบนยูเรนัส
ไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดว่าชั้นในชั้นบรรยากาศส่วนใดที่เป็นสาเหตุของจุดมืด
หรือเพราะเหตุใด แอโรซอลในชั้นเหล่านั้นจึงสะท้อนแสงได้น้อยลงจนทำให้ฮับเบิลได้เห็นพวกมัน
แบบจำลองของทีมอธิบายสิ่งที่ทำให้จุดมีสีคล้ำ และเพราะเหตุใด พวกมันจึงตรวจจับบนยูเรนัสได้ง่ายกว่าบนเนปจูน
ผู้เขียนคิดว่าชั้นแอโรซอลในชั้นที่ลึกที่สุดในแบบจำลองมีสีคล้ำลง
น่าจะสร้างจุดมืดที่คล้ายกับที่เห็นบนเนปจูนและบางทีอาจจะบนยูเรนัสด้วย
ด้วยภาพรายละเอียดจากฮับเบิล พวกเขาสามารถตรวจสอบและยืนยันสมมุติฐาน ในความเป็นจริง
ภาพที่ได้จากแบบจำลองนั้นสอดคล้องพอดีกับภาพดาวเคราะห์ทั้งสองที่ได้จาก WFC3
พอดี
โดยสร้างจุดมืดให้เห็นในช่วงความยาวคลื่นเดียวกัน ชั้นแอโรซอล-2 บนยูเรนัสเดียวกันนี้
ยังเป็นสามารถให้มีสีที่อ่อนกว่าด้วย
เมื่อชั้นที่หนาพรางจุดดำเหล่านั้นได้มากกว่าที่เนปจูน
นักวิทยาศาสตร์น่าจะยังต้องพึ่งพาข้อมูลจากภาคพื้นดินและฮับเบิลต่อไป
เพื่อศึกษาพิภพน้ำแข็งยักษ์ทั้งสอง
เนื่องจากยังไม่มียานใดที่มีกำหนดบินไปไกลขนาดนั้นอีก
แม้ว่าการสำรวจของประชาคมวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จะแนะว่า
ปฏิบัติการสู่ยูเรนัสน่าจะเป็นปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่(flagship)
ที่มีความสำคัญสูงสุด
และน่าจะส่งออกได้ในทศวรรษ 2030
แหล่งข่าว esahubble.org
: Hubble helps explain why Uranus and Neptune are different colors
astronomy.com : why are
Uranus and Neptune different colors?
spaceref.com : Gemini
North telescope helps explain why Uranus and Neptune are different colors
No comments:
Post a Comment