ภาพจากศิลปินแสดงแถบดาวเคราะห์หลัก(main asteroid belt) ซึ่งมีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่กว่า 1 กิโลเมตรมากกว่าหนึ่งล้านดวง โคจรอยู่รวมกลุ่มระหว่างวงโคจรดาวอังคารและดาวพฤหัสฯ
การศึกษาสีของดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยที่โคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสฯ
ได้พบผู้หลงทางสองดวงซึ่งมีพื้นผิวที่แดงมาก
บ่งชี้ว่าพวกมันก่อตัวขึ้นเลยจากเนปจูนออกไป และหนีเข้ามาจนถึงวงโคจรปัจจุบัน
การค้นพบน่าจะนำไปสู่แง่มุมที่สำคัญในวิวัฒนาการระบบสุริยะ
มันยังให้โอกาสในการศึกษาวัตถุที่มีกำเนิดอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์อย่างมาก
โดยไม่ต้องเดินทางออกไปไกลขนาดนั้นเลย
ดาวเคราะห์น้อยแบ่งออกเป็นชนิดตามองค์ประกอบและกำเนิด
และจากสิ่งเหล่านี้ก็จะสะท้อนออกมากับสีของพวกมัน ดาวเคราะห์น้อยชนิดดี(D-type)
มีสีที่แดงที่สุดในระบบสุริยะส่วนใน
แต่เราทราบว่าก็มีวัตถุที่เรียกว่า ทรานส์เนปจูน(Trans-Neptunian objects;
TNOs) หลายดวงที่มีสีแดงจัดกว่า ทีมนานาชาติทีมหนึ่งได้ทำการสำรวจสีของดาวเคราะห์น้อยชนิดดี
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 110 กิโลเมตร
เพื่อดูว่ามีอะไรโดดออกมาหรือไม่
ในรายงานที่เผยแพร่ใน Astrophysical
Journal Letters ทีมนักวิจัยที่นำโดยนักดาราศาสตร์
Sunao Hasegawa จากสถาบันวิทยาศาสตร์การบินและอวกาศ
องค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น(ISAS JAXA) ได้รายงานว่าดาวเคราะห์น้อยปอมเปยา(203
Pompeja) ซึ่งมีขนาดคาบเส้นขนาดที่ตรวจสอบกัน
ว่ามีสเปคตรัมสูงชันไปทางสีแดง(redder spectral slope-ตรวจสอบความสว่างเปรียบเทียบที่ช่วงความยาวคลื่นต่างๆ
ของแสง) มากกว่าวัตถุอื่นๆ ที่ได้ตรวจสอบ ผู้เขียนยังตรวจสอบดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กกว่าที่มีสเปคตรัมสูงชันไปทางสีแดงคล้ายๆ
กัน และพบว่าดาวเคราะห์น้อยจัสทิเทีย(269 Justitia) ซึ่งมีความกว้าง 54 กิโลเมตรก็มีลักษณะที่สอดคล้องด้วยเช่นกัน
ยังมีวัตถุอีกมากมายในแถบดาวเคราะห์น้อยหลักจนผู้เขียนไม่สามารถสำรวจพวกมันได้ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้อย่างมากว่า ปอมเปยาและจัสทิเทีย จะยังมีวัตถุคล้ายๆ
กันอีกมากที่เล็กเกินกว่าจะทำการตรวจสอบได้ คำถามใหญ่ 2 ข้อจากงานนี้ก็คือ เพราะเหตุใด
วัตถุคู่นี้จึงแดงจัด และพวกมันมาอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยได้อย่างไร
ถ้าสันนิษฐานว่าพวกมันไม่ได้ก่อตัวขึ้นที่นี่
ผู้เขียนสรุปว่าสีแดงนี้บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของของผสมระหว่างสารอินทรีย์เชิงซ้อนกับวัสดุสารอื่นที่ไม่ทราบชนิด
สำหรับสารอินทรีย์เชิงซ้อนที่จะปรากฏขึ้นบนพื้นผิววัตถุได้นั้น
วัตถุจะต้องก่อตัวขึ้นเลยจากเส้นหิมะ(snow lines) ที่จำเพาะออกไป
ที่ซึ่งโมเลกุลจะอยู่ในรูปน้ำแข็งแทนที่จะเป็นไอ เส้นหิมะของน้ำ(ตำแหน่งที่น้ำจะแข็งตัว)
ก็อยู่เลยแถบหลักออกไปเล็กน้อย
ส่วนเส้นหิมะของคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยิ่งขยับออกไปอีกใกล้ดาวเสาร์
สารประกอบที่มีคาร์บอนพื้นๆ อย่างมีเธนก็ยิ่ง(มีเส้นหิมะ) ที่ไกลออกไปอีก
เส้นหิมะที่ไกลมากขึ้นย่อมหมายความว่าวัสดุสารเชิงซ้อนเกือบทั้งหมดจะแข็งตัวที่ส่วนนอกสุดของระบบสุริยะเท่านั้น
นักวิจัยสรุปว่า วัตถุทั้งสองโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินกว่าจะรักษาน้ำแข็งของพวกมันไว้ได้
ไม่เหมือนกับ TNOs สีใกล้เคียงกัน
หรือกระทั่งเซนทอร์(Centaurs) ซึ่งโคจรอยู่ระหว่างดาวพฤหัสฯ
และเนปจูน เพื่อที่จะมีสารอินทรีย์เหล่านี้
คุณต้องเริ่มจากมีน้ำแข็งจำนวนมากอยู่บนพื้นผิว Michael Marsset ผู้เขียนจากเอ็มไอที กล่าว ดังนั้น
พวกมันจะต้องก่อตัวขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เย็นจัด จากนั้น
การอาบรังสีของดวงอาทิตย์ลงบนน้ำแข็ง ก็สร้างสารอินทรีย์เชิงซ้อนขึ้นมา
บางครั้ง ดาวหางก็ถูกเปลี่ยนเส้นทางวงโคจรได้จากการผ่านเข้าใกล้ดาวเคราะห์มากเกินไป
จนสุดท้ายก็เข้ามาในระบบสุริยะส่วนใน
แต่โดยปกติจะมีวงโคจรที่รีมากกว่าคู่นี้อย่างมาก
ผู้เขียนเชื่อว่าการขยับเข้ามาข้างในเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว
ก็เป็นไปได้ว่าเป็นผลจากที่ดาวพฤหัสฯ และดาวเสาร์อพยพเปลี่ยนวงโคจร
ตลอดช่วงเวลาหลายพันล้านปี
อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์แม้แต่จากระยะทางที่ค่อนข้างไกล
ก็อาจจะดึงพวกมันเข้าสู่วงโคจรเกือบกลมไม่ต่างจากดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักอื่นๆ
ซึ่งมีกำเนิดไม่เร้นลับเท่า
ถ้าปอมเปยาและจัสทิเทียเป็นนักพเนจรตัวแดงจากนอกวงโคจรเนปจูนอย่างแท้จริง
พวกมันก็จะยืนยันความเข้าใจปัจจุบันของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการก่อตัวดาวเคราะห์
เมื่อการอพยพของดาวพฤหัสฯ และดาวเคราะห์ยักษ์อื่นๆ
ทำให้วัตถุจากระบบสุริยะส่วนนอกถูกลากมาไกลตามที่ได้ทำนายไว้
ไดอะแกรมแสดงว่าดาวเคราะห์น้อยและเซนทอร์ถูกจัดวางในระบบสุริยะแตกต่างกันอย่างไร และพวกมันก่อตัวขึ้นที่ใดเมื่อเทียบกับเส้นหิมะ
สำหรับปฏิบัติการในอนาคตสู่วัตถุที่อยู่เลยเนปจูนออกไป
ยังน่าจะจำกัดแค่การไปบินผ่านอย่างรวดเร็วอย่าง การผ่านเข้าใกล้พลูโตและ 2014
MU69(Arrokoth) ที่แดงจัดของปฏิบัติการนิวฮอไรซันส์(New
Horizons) อย่างไรก็ตาม
ปอมเปยา และจัสทิเทีย ก็เข้าถึงได้ง่ายพอๆ กับเซเรส(Ceres) ซึ่งเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อย
และเวสตา(Vesta) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสอง
ทั้งสองดวงได้รับการเยี่ยมเยือนอย่างยาวนานโดยปฏิบัติการดอว์น(Dawn) และไปเยือนยังง่ายกว่าดาวเคราะห์น้อยทรอย
ซึ่งอยู่ในวงโคจรร่วมกับดาวพฤหัสฯ รอบดวงอาทิตย์ ปฏิบัติการลูซี(Lucy) จะส่งออกสู่อวกาศในปีนี้
แหล่งข่าว iflscience.com
: two interloper main belt asteroids look like they formed past Neptune and
sneaked in
sciencealert.com : two
weird red rocks live in the asteroid belt, and they don’t belong there
skyandtelescope.com : two
extremely red asteroids discovered far from home
No comments:
Post a Comment