ทีมนักวิจัยนานาชาติได้สร้างแผนที่สสารมืดภายในเอกภพท้องถิ่น โดยใช้แบบจำลองเพื่อระบุตำแหน่งอันเนื่องจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของสสารมืดที่มีต่อกาแลคซี(จุดสีดำ) แผนที่ความหนาแน่นเหล่านี้ ซึ่งแต่ละภาพเป็นภาพตัดขวางในมิติที่แตกต่างกัน ได้สร้างรายละเอียดโดดเด่นที่เป็นที่รู้จักในเอกภพท้องถิ่น(แดง) และยังเผยให้เห็นรายละเอียดสายใยขนาดเล็ก(สีเหลือง) ที่ทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างกาแลคซีซ่อนอยู่ X ระบุกาแลคซีทางช้างเผือก และลูกศรแสดงการเคลื่อนที่ของเอกภพท้องถิ่นอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วง
แผนที่สสารมืดในเอกภพท้องถิ่นฉบับใหม่ได้เผยให้เห็นโครงสร้างเส้นใยที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อนซึ่งเชื่อมต่อกาแลคซีต่างๆ
ไว้
แผนที่ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์โดยทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติน่าจะช่วยในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของสสารมืดได้เช่นเดียวกับความเป็นมาและเป็นไปของเอกภพท้องถิ่นของเราเอง
สสารมืด(dark matter) เป็นสสารล่องหนซึ่งเป็นองค์ประกอบถึง 80% ในเอกภพ
มันยังเป็นโครงกระดูกให้กับสิ่งที่นักเอกภพวิทยาเรียกว่า เส้นใยเอกภพ(cosmic
web) ซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ
อันเนื่องจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงในตัวมันเอง
จึงกำกับการเคลื่อนที่ของกาแลคซีและสสารในอวกาศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม
การกระจายตัวของสสารมืดท้องถิ่นนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ในปัจจุบันเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบสสารมืดได้โดยตรง
นักวิจัยจะต้องรับรู้การกระจายของมันโดยมีพื้นฐานจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของมัน
ที่มีต่อวัตถุอื่นในเอกภพอย่างกาแลคซี แทน
Donghui Jeong รองศาสตราจารย์สาขาดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเพนน์ซิลวาเนีย
สเตท และผู้เขียนในการศึกษานี้ กล่าวว่า
น่าขันที่การศึกษาการกระจายของสสารมืดที่อยู่ไกลออกไปกลับง่ายกว่า เนื่องจากมันสะท้อนถึงอดีตอันห่างไกลซึ่งมีความซับซ้อนน้อยกว่ามาก
เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพมีการเจริญเติบโต
ความซับซ้อนของเอกภพก็เพิ่มขึ้น
ดังนั้นจึงยากขึ้นที่จะทำการตรวจสอบเกี่ยวกับสสารมืดในละแวกท้องถิ่น
ความพยายามก่อนหน้านี้ในการทำแผนที่เส้นใยเอกภพ
เริ่มต้นด้วยแบบจำลองเอกภพยุคต้นและจากนั้นก็จำลองวิวัฒนาการของแบบจำลองเมื่อเวลาผ่านไปหลายพันล้านปี
อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีการคำนวณอย่างหนักหน่วง
และโดยรวมแล้วไม่สามารถสร้างผลสรุปที่มีรายละเอียดมากพอที่จะเห็นเอกภพท้องถิ่นได้
แต่การศึกษาใหม่ นักวิจัยใช้ความพยายามที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ของสมองกล
เพื่อสร้างแบบจำลองที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายและการเคลื่อนที่ของกาแลคซี
เพื่อทำนายการ
กระจายของสสารมืด
นักวิจัยสร้างและฝึกแบบจำลองโดยใช้แบบจำลองเสมือนจริงกาแลคซีชุดใหญ่ที่เรียกว่า
Ilustris-TNG ซึ่งรวมกาแลคซี,
ก๊าซ, สสารปกติอื่นๆ เช่นเดียวกับสสารมืด
ทีมได้เลือกกาแลคซีที่จำลองขึ้นมาเป็นการจำเพาะที่ใกล้เคียงกับทางช้างเผือก
และสุดท้ายก็จำแนกว่า
คุณสมบัติของกาแลคซีข้อใดที่ต้องใช้เพื่อทำนายการกระจายของสสารมืด
เมื่อให้ข้อมูลที่แน่ชัดเข้าไป แบบจำลองก็สามารถเติมช่องว่างสิ่งที่พวกมันเคยเห็นมาก่อนหน้านั้นได้
Jeong กล่าว
แผนที่จากแบบจำลองของเราไม่ได้ตรงตามข้อมูลที่จำลองขึ้นมาแบบเป๊ะๆ
แต่เราก็ยังสามารถสร้างโครงสร้างที่มีรายละเอียดยิบได้
เราพบกระทั่งการเคลื่อนที่ของกาแลคซีกับความเร็วแนวสายตา(radial velocity) ที่แปลกประหลาดของพวกมัน
เพิ่มเติมให้กับการกระจายตัวที่ยิ่งเพิ่มคุณภาพของแผนที่
และช่วยให้เราได้เห็นรายละเอียดเหล่านี้
จากนั้น
ทีมวิจัยก็ปรับใช้แบบจำลองกับข้อมูลจริงจากเอกภพท้องถิ่นที่ได้จากบัญชีรายชื่อกาแลคซี
Cosmicflow-3 บัญชีประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายและการเคลื่อนที่อย่างครบถ้วนของกาแลคซีมากกว่า
1.7 หมื่นแห่งในละแวกใกล้เคียงทางช้างเผือกภายในระยะทาง
200 เมกะพาร์เซค(1
พาร์เซค เท่ากับ 3.26 ปีแสงโดยประมาณ) หรือ 6.5 พันล้านปีแสง
แผนที่เส้นใยเอกภพท้องถิ่นที่ได้เผยแพร่ในรายงานออนไลน์วันที่ 26 พฤษภาคม ใน Astrophysical Journal
แผนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างโครงสร้างที่รู้จักดีในเอกภพท้องถิ่นขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง
ซึ่งรวมถึง “แผ่นท้องถิ่น”(local sheet) ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งหนึ่งที่มีทางช้างเผือก,
กาแลคซีใกล้เคียงใน “กลุ่มท้องถิ่น”(local group) และกาแลคซีในกระจุกหญิงสาว(Virgo
cluster) เช่นเดียวกับ
“ช่องว่างท้องถิ่น”(local void) ซึ่งเป็นพื้นที่อวกาศที่ค่อนข้างว่างเปล่าใกล้กับกลุ่มท้องิ่น
นอกจากนี้ มันยังจำแนกโครงสร้างใหม่ๆ
มากมายที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม ตั้งแต่ความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นท้องถิ่นกับ
“กำแพงกลุ่มดาวเตาหลอม”(Fornax Wall) รวมถึงโครงสร้างสายใยขนาดเล็กที่เชื่อมโยงทางช้างเผือกกับกาแลคซีรอบๆ
ไว้ และกับกาแลคซีอื่นๆ
การมีแผนที่เส้นใยเอกภพท้องถิ่นนั้นเปิดบทเรียนใหม่สู่การศึกษาเอกภพวิทยา Jeong
กล่าว เราสามารถศึกษาว่าสสารมืดกระจายตัวอย่างไรเมื่อเทียบกับข้อมูลการเปล่งคลื่นอื่นๆ
ซึ่งจะช่วยให้เราได้เข้าใจธรรมชาติของสสารมืด
และเราสามารถศึกษาโครงสร้างสายใยเหล่านี้ซึ่งเป็นสะพานที่ซ่อนอยู่ซึ่งเชื่อมระหว่างกาแลคซี
ได้โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น มีข้อมูลบอกว่าทางช้างเผือกและกาแลคซีอันโดรเมดา
อาจจะเคลื่อนที่เข้าหากันและกันอย่างช้าๆ
แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าพวกมันจะชนกันหรือไม่ในอีกหลายพันล้านปีข้างหน้า
การศึกษาสายใยสสารมืดที่เชื่อมโยงกาแลคซีทั้งสองน่าจะให้แง่มุมที่สำคัญสู่อนาคตนี้
เนื่องจากสสารมืดนั้นเป็นตัวควบคุมพลวัตของเอกภพ มันจึงกำหนดชะตากรรมของเราด้วย
Jeong กล่าว
ดังนั้นเราสามารถถามคอมพิวเตอร์ให้สร้างแผนที่ไปอีกหลายพันล้านปีข้างหน้าเพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเอกภพท้องถิ่น
และเราก็สามารถสร้างแบบจำลองย้อนเวลากลับไปเพื่อให้เข้าใจละแวกเพื่อนบ้านของเราได้
นักวิจัยเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถปรับปรุงความเที่ยงตรงของแผนที่ได้โดยเพิ่มกาแลคซีให้มากไปอีก
การสำรวจทางดาราศาสตร์ที่วางแผนไว้ยกตัวอย่างเช่น
ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์
น่าจะช่วยให้พวกเขาได้เพิ่มกาแลคซีขนาดเล็กหรือสลัวที่ยังไม่เคยถูกสำรวจ
และกาแลคซีที่อยู่ไกลออกไปอีกได้
แหล่งข่าว phys.org
– mapping the local cosmic web: dark matter map reveals hidden bridges between
galaxies
sciencealert.com – new
dark matter map shows the bridges between the Milky Way and nearby galaxies
iflscience.com – map
reveals hidden dark matter bridges connecting nearby galaxies
No comments:
Post a Comment