ภาพกล้องฮับเบิลจากปฏิบัติการซ่อมบำรุงโดยกระสวยอวกาศในปี 1997
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเริ่มจ่ายไฟได้อีกครั้ง
นาซาประสบความสำเร็จในการสับระบบไปสู่คอมพิวเตอร์สำรองบนหอสังเกตการณ์เมื่อวันศุกร์ที่
16 กรกฎาคม
หลังจากประสบปัญหากับระบบคอมพิวเตอร์หลักอยู่หลายสัปดาห์
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน
กล้องฮับเบิลได้ปิดระบบหลังจากคอมพิวเตอร์หลัก(payload computer) บนยาน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ซึ่งจัดการอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ของกล้องเกิดขัดข้อง
ขณะนี้ ผ่านมาหนึ่งเดือนนับตั้งแต่เกิดปัญหากับฮับเบิล ทีมฮับเบิลคิดว่ามีสาเหตุจากหน่วยควบคุมพลังไฟ(Power
Control Unit; PCU) ของกล้อง
นาซาได้สับไปใช้ระบบสำรอง และทำให้กล้องฟื้นคืนกลับมาได้ แถลงการณ์จากนาซาบอกว่า แม้ว่าฮับเบิลจะกลับมาออนไลน์ได้ด้วยระบบสำรอง
แต่ทีมฮับเบิลก็ยังคงจับตาดูเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง
เดิมที นาซาเชื่อว่าปัญหาเกิดจากคอมพิวเตอร์หลักของกล้อง
แต่หลังจากใช้คอมพิวเตอร์หลักสำรองก็ยังไม่สำเร็จ ทีมภาคพื้นดินที่ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดในมารีแลนด์
จึงเปลี่ยนไปพิจารณาหน่วยสั่งการของอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและมีความซับซ้อนมากกว่า(SI
C&DH) แทน
องค์กรเชื่อว่าสาเหตุของความขัดข้องนี้เกิดจากวงจรปกป้องทุติยภูมิ ของ PCU วงจรนี้น่าจะเจอแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำหรือสูงเกินระดับที่ยอมรับได้(ซึ่งมันก็ทำงานได้สมบูรณ์แบบ) หรือมันมีการเสื่อมสภาพไปมากจนวงจรต้องเข้าสู่ระดับรักษาความปลอดภัย ทีมฮับเบิลภาคพื้นดินไม่สามารถรีเซท PCU ได้ ทางออกจึงสับไปใช้ระบบสำรอง ซึ่งมีการทดสอบเพื่อเตรียมการสับระบบและก็ให้ผลทดสอบที่ดีออกมา นาซาจึงเริ่มเดินเครื่องการสับระบบในวันที่ 15 กรกฎาคม และในอีกหนึ่งวันต่อมา การสับระบบก็ประสบความสำเร็จ
โดยรวมแล้ว เราภูมิใจมากกับทีมนาซาฮับเบิล
เมื่อผมได้รับรายงานประจำวัน จากความก้าวหน้าที่มี
ฮับเบิลจะสามารถกลับมาทำงานวิทยาศาสตร์ได้ภายในสุดสัปดาห์นี้ ผมรอชมภาพแรก “หลัง”
กลับมาทำงาน Thomas Zurbuchen ผู้ช่วยผู้บริการส่วนอำนวยการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ที่สำนักงานใหญ่นาซา
ทวีตหลังจากข่าวว่าฮับเบิลกำลังอยู่บนเส้นทางฟื้นคืนกลับมาพร้อมทำงาน
นอกจากจะสับระบบสู่ฮาร์ดแวร์สำรองแล้ว จากแถลงการณ์
ทีมยังใช้ PCU สำรองด้วย
เช่นเดียวกับ Command Unit/Science Data Formatter(CU/SDF) ซึ่งก็อยู่อีกด้านของระบบ SI
C&DH(Science Instrument and Command& Data Handling) PCU จะผันพลังไฟเข้าสู่ SI C&DH ในขณะที่ CU/SDF ฟอร์แมทและจากนั้นก็ส่งข้อมูลและคำสั่งไปทั่วกล้องโทรทรรศน์
ยังสับระบบการใช้ฮาร์ดแวร์สำรองอีกหลายชิ้นเพื่อให้กล้องทำงานได้
หลังจากเปลี่ยนไปใช้ฮาร์ดแวร์สำรองบนฮับเบิลอย่างระมัดระวัง
ทีมก็เปิดระบบคอมพิวเตอร์หลักสำรองบนยาน ส่งซอฟท์แวร์การบินและสั่งฮับเบิลให้กลับสู่
รูปแบบการทำงานปกติ(normal operations mode) นอกจากจะจับตาดูยานและฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ
หลังจากการเปลี่ยนแปลง ทีมฮับเบิลยังเริ่มกู้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฮับเบิลกลับจาก
รูปแบบระวังภัย(safe mode) หลังจากที่กล้องเริ่มขัดข้องในวันที่
13 มิถุนายน
เป็นต้นมา
แถลงการณ์นาซาบอกว่า การนำเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั้งหมดให้กลับมาออนไลน์ได้ต้องใช้เวลาอีกเป็นวัน
เนื่องจากทีมต้องแน่ใจว่าเครื่องมือทั้งหลายอยู่ในอุณหภูมิที่เสถียรและสามารถเปิดใช้ได้อย่างปลอดภัย
หลังจากเครื่องมือวิทยาศาสตร์ออกจาก รูปแบบการทำงานระวังภัยแล้ว ทีมฮับเบิลจะเทียบมาตรฐาน(calibrate)
พวกมันและกลับสู่การทำงานวิทยาศาสตร์ได้
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กล้องฮับเบิลประสบปัญหาทางเทคนิคในอวกาศ
แต่กล้องซึ่งส่งออกสู่อวกาศไปกับกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีในปี 1990 ก็ไม่ได้รับการซ่อมบำรุงโดยนักบินอวกาศมาตั้งแต่ปี
2009 โดยโครงการกระสวยอวกาศจบลงในอีกสองปีหลังจากนั้น
แม้ว่าจะประสบกับอุปสรรคทางเทคนิคมาตลอดการทำงาน ตั้งแต่ความผิดพลาดที่เกิดจากกระจกปฐมภูมิ
ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี 1993
การสับระบบแบบนี้ เคยเกิดขึ้นคล้ายๆ กันในปี
2008 เมื่อ SI
C&DH ไม่ทำงาน
ความแตกต่างหลักก็คือ ฮับเบิลได้รับการซ่อมบำรุงในปี 2009 ซึ่งได้เปลี่ยนหน่วย SI C&DH ทั้งหมดไป โดยรวมแล้ว นาซาได้ส่งปฏิบัติการซ่อมบำรุงกล้อง
5 ครั้ง หอสังเกตการณ์อวกาศก็ยังสุขภาพดีแม้ว่าจะแสดงร่องรอยความการใช้งานมายาวนาน
ฮับเบิลได้ทำการสำรวจเอกภพมากกว่า 1.4 ล้านครั้ง
ข้อมูลที่กล้องรวบรวมได้ถูกใช้ในรายงานวิทยาศาสตร์มากกว่า 18000 งาน ฮับเบิลก็ยังคงจับภาพจากอวกาศที่ทำให้หัวใจแทบหยุดเต้นไปชั่วขณะ
เปลี่ยนแปลงความเข้าใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์, ดาวฤกษ์, กาแลคซีและเอกภพโดยรวม ต่อไป และนาซามีกำหนดการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์
ในช่วงสิ้นปีนี้
แหล่งข่าว space.com
: NASA revives ailing Hubble Space Telescope with switch to backup computer
iflscience.com :
breaking- NASA operation to get Hubble operational again passes major hurdle
phys.org : Hubble Space
Telescope fixed after month of no science
No comments:
Post a Comment