Friday, 26 March 2021

NGC3372 : Carina Nebula


ดาวดวงสีแดงกลางภาพคือ Eta Carinae, หากฟ้าดีพอจะเห็นเนบิวล่ากว้างใหญ่กว่านี้มาก



หากถามว่าเนบิวลาที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าคือตัวไหน คงต้องเป็น NGC3372 เนบิวลาในกลุ่มดาวคารินาหรือท้องเรือ

แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเพราะมองเห็นได้ยากจากซีกโลกเหนือรวมถึงประเทศไทยด้วย ไม่เหมือนเอ็ม42 ในกลุ่มดาวนายพรานที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรฟ้าทำให้มองเห็นได้เกือบทุกพื้นที่บนโลก

ที่ละติจูดอย่างกทม อีต้าคาริเน่เนบิวลา มีตำแหน่งสูงที่สุดทางทิศใต้ราวสิบห้าองศา เป็นไปได้ที่จะมองเห็นหากทิศใต้โล่ง ฟ้าใสและไม่มีฝุ่นมาบังที่ขอบฟ้ามากนัก

ผมเชื่อว่าอย่างน้อยน่าจะพอมองเห็นด้วยกล้องสองตาในที่ๆมีมลภาวะทางแสงและหมอกควันปานกลาง เพราะภาพสเก็ทช์ข้างบนคือภาพที่เห็นผ่านกล้องดูดาวขนาด 4” ที่หมูสี

คืนนั้นอีต้าคาริเน่เนบิวลาสูงสาว 10 องศาเศษ ขอบฟ้าใต้สว่างขาวโพลน ไม่เห็นดาวใดๆด้วยตาเปล่า แต่ยังมองเห็นเนบิวลาทะลุแสงรบกวนและหมอกควันออกมาได้ในกล้องดูดาว

ผมมีโอกาสอีกครั้งที่นครศรีธรรมราช มองเห็นด้วยตาเปล่าสูงราว20องศาจากขอบฟ้า สว่างและใหญ่กว่าเอ็ม42มาก เสียดายว่าคืนนั้นไม่มีโอกาสที่จะดูให้ละเอียดและสเก็ทช์ลงสมุด

คงต้องหาโอกาสกลับไปที่นครศรีธรรมราชแล้วสำรวจแบบเจาะลึกอีกครั้ง

ลองหาโอกาสดูนะครับ คนที่อยู่ทางใต้จะได้เปรียบ เชียงใหม่ เชียงรายจะยากกว่า เพราะจะใกล้ขอบฟ้ามาก 

เดือนสองเดือนนี้ NGC3772 อยู่ตำแหน่งสูงสุดทางทิศใต้ราวสี่ห้าทุ่ม รอพระจันทร์สักหน่อย ขอให้เป็นวันที่ฟ้าดีๆ น่าจะได้ชมครับไม่ว่าจะตาเปล่า กล้องสองตา กล้องดูดาว หรือซีซีดี


แผนที่จาก Stellarium [คลิกภาพเพื่อขยาย]


No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...