ภาพของ ALESS 073.1 ซึ่งปรากฏเมื่อ 1.2 พันล้านปีหลังจากบิ๊กแบงเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ท้าทายความเข้าใจปัจจุบันว่ากาแลคซีก่อตัวอย่างไร
โดยเปิดเผยภาพของกาแลคซีอายุน้อยแห่งหนึ่งในช่วงต้นๆ
ของเอกภพซึ่งกลับดูเป็นกาแลคซีผู้ใหญ่อย่างไม่น่าเชื่อ
กาแลคซีซึ่งมีชื่อว่า ALESS 073.1 ดูเหมือนจะมีรายละเอียดทุกอย่างที่คาดไว้สำหรับกาแลคซีที่เป็นผู้ใหญ่มากและทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ต้องตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดมันจึงโตเร็วมากๆ
งานวิจัยใหม่เผยแพร่ในวารสาร Science ฉบับวันที่
12 กุมภาพันธ์
กาแลคซีมีหลายรูปร่าง, ขนาดและสี
และประกอบด้วยองค์ประกอบที่แตกต่างกันเช่น ดิสก์ที่หมุนรอบตัว, แขนกังหัน และส่วนป่อง(bulges)
ใจกลางกาแลคซี
เป้าหมายหลักของดาราศาสตร์สมัยปัจจุบันก็คือเพื่อเข้าใจว่าเพราะเหตุใดกาแลคซีต่างๆ
จึงมีลักษณะอย่างที่พวกมันเป็นในปัจจุบัน
และองค์ประกอบที่แตกต่างกันของพวกมันก่อตัวขึ้นเมื่อใด
ทีมซึ่งนำโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ในเวลส์ ใช้เครือข่ายมิลลิเมตร/เสี้ยวมิลลิเมตรขนาดใหญ่อะตาคามา(ALMA) เป็นไทม์แมชชีนเพื่อย้อนเวลากลับไปสู่อดีตอันไกลโพ้น
เผยให้เห็นว่า ALESS 073.1 มีสภาพอย่างไรเมื่อเพียง
1.2 พันล้านปีหลังจากบิ๊กแบงเท่านั้น
เนื่องจากแสงที่เปล่งออกจากกาแลคซีแห่งนี้ใช้เวลาหลายพันล้านปีเพื่อเดินทางมาถึงกล้องโทรทรรศน์ของเราบนโลก
ทีมจึงสามารถสำรวจว่ากาแลคซีมีสภาพอย่างไรในช่วงเยาว์วัยและตรวจสอบได้ว่าเดิมทีมันก่อตัวอย่างไร
แต่ผลสรุปที่ได้ก็เป็นภาพของกาแลคซีโบราณแห่งหนึ่งโดยตรงที่คมชัดที่สุดเท่าที่เคยทำมา
จากการเปล่งคลื่นของฝุ่นและก๊าซ
พวกเขาใช้ข้อมูลเพื่อทำแบบจำลองว่าสสารกระจุกในกาแลคซีอย่างไรและคำนวณการเคลื่อนที่ของมัน
ซึ่งช่วยให้ทีมได้ทำการศึกษาโครงสร้างภายในในรายละเอียดได้
เราได้พบส่วนป่อง(bulge) ขนาดใหญ่, ดิสก์ที่หมุนรอบตัว
และสิ่งที่อาจเป็นแขนกังหัน ทุกอย่างครบในกาแลคซีแห่งนี้เมื่อเอกภพมีอายุเพียง 10%
ของอายุปัจจุบันเท่านั้น Federico
Lelli ผู้เขียนนำการศึกษา
ที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ กล่าว หรือพูดอีกอย่างว่า
กาแลคซีแห่งนี้ดูเหมือนเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ทั้งที่มันควรจะเป็นเพียงเด็กน้อย
Timothy Davis ผู้เขียนร่วม จากสำนักฟิสิกส์และดาราศาสตร์
มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ เช่นกัน กล่าวว่า
การค้นพบที่น่าประทับใจนี้ท้าทายความเข้าใจของเราว่ากาแลคซีก่อตัวอย่างไร
เนื่องจากเราเชื่อว่ารายละเอียดเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในกาแลคซีที่เต็มวัย
ไม่ใช่ในกาแลคซีที่อายุน้อย รายละเอียดหลักของกาแลคซีก็คือ การมีอยู่ของส่วนป่อง
ซึ่งเป็นกลุ่มของดาวที่อยู่กันอย่างแออัดซึ่งมักจะพบภายในใจกลางกาแลคซี แกนกลางของมันยังสร้างพลังงานมากกว่าที่อธิบายได้ด้วยดาวฤกษ์
การศึกษาก่อนหน้านี้ได้บอกว่า “นิวเคลียสกาแลคซีกัมมันต์”(active galactic
nuclei; AGN) เช่นนี้จะบอกเป็นนัยถึงการมีอยู่ของหลุมดำมวลมหาศาล(supermassive
black holes) ซี่งมีมวลตั้งแต่หลายล้านจนถึงหลายพันล้านเท่าดวงอาทิตย์
เชื่อกันว่า
ส่วนป่องขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้นอย่างช้ามากๆ โดยการควบรวมกับกาแลคซีขนาดเล็กซ้ำแล้วซ้ำอีก
หรือโดยกระบวนการที่จำเพาะที่เกิดขึ้นภายในกาแลคซีเองซึ่งก็ไม่ได้เกิดอย่างเร็วมากๆ
นัก อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติทางกลศาสตร์ของ ALESS 073.1 ได้เผยให้เห็นถึงการก่อตัวของส่วนป่องขนาดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเร็วสุดยอดมาก
โดยมีดาวราวครึ่งหนึ่งของกาแลคซีที่อยู่ในส่วนป่องนี้
กาแลคซีเต็มวัยบางแห่งอย่างทางช้างเผือก
ก็มีแขนกังหันที่ยื่นออกจากส่วนกลาง ทำให้มันมีรูปร่างกังหันที่สะดุดตา ใน ALESS
073.1 ก็พบรายละเอียดแขนกังหันคล้ายๆ
กันอย่างไม่คาดคิด เนื่องจากคิดกันว่ากาแลคซียุคต้นจะต้องสับสนวุ่นวายและปั่นป่วน
แทนที่จะเป็นโครงสร้างที่เรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างแขนกังหัน กาแลคซีอย่าง ALESS
073.1 จึงเพิ่งท้าทายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการก่อตัวกาแลคซี
Lelli กล่าวสรุป
การค้นพบใหม่เหล่านี้จึงบอกว่ากาแลคซีสามารถก่อตัวรายละเอียดความเป็นผู้ใหญ่เช่น
ดิสก์และส่วนป่อง ได้เร็วมากและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยคิดไว้
โครงสร้างอย่างส่วนป่อง, ดิสก์ที่หมุนรอบตัว
และสิ่งที่อาจเป็นแขนกังหันจะต้องก่อตัวขึ้นในเวลาไม่ถึงหนึ่งพันล้านปี ในอนาคต
นักวิทยาศาสตร์ตั้งมั่นที่จะเก็บภาพกาแลคซีจากช่วงเวลาในเอกภพที่ใกล้เคียงกันด้วยคุณภาพสูงให้ได้จำนวนสักสิบกว่าแห่ง
การสำรวจใหม่เหล่านี้จะบอกได้ว่ากาแลคซีอย่าง ALESS 073.1 นั้นเป็นสิ่งที่พบโดยทั่วไป
หรือเป็นข้อยกเว้นในเอกภพยุคดึกดำบรรพ์ Lelli กล่าว การสำรวจนี้ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว
แต่โชคร้ายที่หอสังเกตการณ์ ALMA ต้องปิดไปเนื่องจากโรคระบาด
COVID-19
แหล่งข่าว phys.org
: portrait of young galaxy throws theory of galaxy formation on its head
space.com : surprisingly
mature galaxy in the infant universe suggests galaxies form faster than we
thought
iflscience.com : a
curious galaxy that is very young but looks very old is puzzling astronomers
No comments:
Post a Comment