Thursday, 25 February 2021

R Leporis

 





“ดู "อาร์ลีปุริส" สิ” ครูดูดาวของผมแนะนำระหว่างที่กำลังหมุนซ้ายหมุนขวาเพราะไม่รู้จะดูอะไรดี

เปิดแผนที่กลุ่มดาวลีปุสหรือกระต่ายป่ามองเห็นเด่นชัด อาร์ลีปุริสมีชื่อแปลกๆกำกับอยู่ Hind’s Crimson Star

ผมไม่เคยรู้จักดาวดวงนี้มาก่อนจนกระทั่งวันนี้ ดาวที่มีสีแดงเข้มที่สุดบนฟ้า...

ใช้เวลาหาอยู่ครู่หนึ่งบนท้องฟ้าก็พบดาวสีแดงก่ำคล้ายทับทิมไร้ประกาย บางคนก็บอกว่าเหมือนหยดเลือดหยดเล็กๆที่ใครสักคนทำหยดไว้ ดูแปลกประหลาดกว่าดาวทุกดวงที่เคยเห็น

ดาวดวงนี้ค้นพบโดย J.R. Hind เมื่อปี 1845 เลยได้รับเกียรติตั้งชื่อว่า “Hind’s Crimson Star” หรือ “ดาวสีแดงเข้มของไฮด์”

แล้วทำไมถึงมีสีแดงเข้มแบบนี้?

ดาวที่มีสีแดงไปจนถึงสีส้มมีอยู่หลายดวงที่รู้จักกันดีอย่างเช่น บีเทลจูส แอนทาเรส อันเดอร์บารัน ดาวสีแดงอยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต เรียกกันว่าดาวยักษ์แดง

ผิวของดาวจะพองแล้วก็ยุบเป็นรอบ ความสว่างก็มีการเปลี่ยนแปลง ดวงอาทิตย์ของเราเองต่อไปก็จะกลายเป็นดาวยักษ์แดง คาดกันว่าขอบเขตของดวงอาทิตย์จะขยายออกไปจนใกล้เนปจูนโน่นเลย

ในบรรดาดาวยักษ์แดงทั้งหลายจะมีบางดวงที่ในชั้นบรรยากาศมีธาตุคาร์บอนมากกว่าออกซิเจน และธาตุคาร์บอนนี่เองที่เป็นสาเหตุให้ดาวยักษ์แดงกลุ่มนี้มีสีแดงเข้มกว่าปกติ เพราะโดยธรรมชาติคาร์บอนดูดซับแสงสีน้ำเงินไว้หมด เหลือแต่สีแดงที่ผ่านออกมา

ดาวคาร์บอนที่มีสีแดงเข้มแบบนี้เป็นของหายากบนฟ้า มีไม่กี่ดวง ดวงที่สีเข้มที่สุดและอยู่ใกล้เราที่สุดก็คือ R Leporis ดวงนี้นี่เอง

เคยดูจากบางพลีด้วย Borg 101ED ถึงจางสักหน่อยแต่ก็มองเห็นครับ


คลิกภาพเพื่อขยาย


Name: Hind’s Crimson Star 
Catalog Numbers: R Leporis  
Type: Carbon Variable Star 
Visual Magnitude: 5.5-11.7 
Constellation: Lepus 
Distance: 1300 ly 

Coordinates:
RA: 05h 00’ 25.71” 
Dec: -14°46’ 54.5’

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...