ความเอียงของแกนการหมุนรอบตัว(obliquity) ของดาวเสาร์ที่กำลังเพิ่มขึ้น หมายความว่าเราจะได้เห็นทั้งวงแหวนและออโรราที่ขั้วดาวเสาร์ได้ดีขึ้นกว่าที่เป็น ถ้ามันตั้งตรง
ข้อสรุปจากงานล่าสุดโดยนักวิทยาศาสตร์จาก CNRS,
มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์
และมหาวิทยาลัยแห่งปิซา
ได้แสดงว่าการเอียงของแกนการหมุนรอบตัวในปัจจุบันของดาวเสาร์นั้น
เกิดขึ้นจากการอพยพของดวงจันทร์บริวาร
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของมัน ไททัน(Titan)
ก๊าซและฝุ่นที่ก่อตัวระบบดาวเคราะห์ขึ้นมาจะหมุนวนอยู่ในระนาบการโคจร
ถ้าไม่มีอะไรมาเปลี่ยน ดาวเคราะห์แต่ละดวงก็แทบจะตั้งฉากกับเส้นทางรอบๆ ดวงอาทิตย์
แต่ความเป็นจริงแล้ว มันวุ่นวายกว่านั้น มุมระหว่างศูนย์สูตรของดาวเคราะห์
กับระนาบการโคจร จะเรียกว่า ความเอียง(obliquity) ดาวพุธ, ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสฯ ก็ทำตัวตามที่คาดไว้
โดยมีความเอียงในระดับเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น
ทำให้ฤดูกาลของพวกมันแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ดาวอังคารและเนปจูนมีระดับความเอียงที่มากกว่าของโลก 23.4 องศาเล็กน้อย
ในขณะที่ยูเรนัสนั้นเอียงกระเท่เร่จนล้มและกลิ้งไปด้านข้างและถอยหลังอีกเล็กน้อย
ความเอียงอยู่ที่ 98 องศา
ดาวเคราะห์แต่ละดวงต่างก็มีเหตุที่ทำให้เกิดความเอียงแตกต่างกันไป
และบางครั้งทุกอย่างก็ไม่ใช่แบบที่ได้เห็น ความเอียงของดาวเสาร์ที่ 26.7 องศานั้น
อยู่ระหว่างค่าดาวอังคารและเนปจูนก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ก็ยังต้องการคำอธิบาย นักดาราศาสตร์เกือบทั้งหมดเชื่อว่าสาเหตุนั้นเกิดขึ้นเมื่อกว่า
4 พันล้านปีก่อน
เมื่อระบบสุริยะยังอายุน้อย
การสำรวจล่าสุดซึ่งนำโดย Melaine
Saillenfest จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์
ได้แสดงว่าไททันและดวงจันทร์อื่นๆ
กำลังขยับออกห่างจากดาวเสาร์เร็วกว่าที่นักดาราศาสตร์เคยประเมินไว้อย่างมาก โดยเฉพาะไททันซึ่งกำลังเคลื่อนห่างด้วยอัตรา
11 เซนติเมตรต่อปี
การขยับออกห่างของดวงจันทร์บริวารก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เมื่อดวงจันทร์ของโลกเองก็กำลังถอยห่างด้วยอัตรา
3.8 เซนติเมตรต่อปี
แต่อัตราการเคลื่อนที่ของไททันที่เร็วกว่าที่คิดไว้ประมาณ 100 เท่า โดยเมื่อรวมอัตราการอพยพออกห่างที่เพิ่มขึ้นล่าสุดนี้ไว้ในการคำนวณ
นักวิจัยสรุปได้ว่ากระบวนการส่งผลให้แกนการหมุนรอบตัวของดาวเสาร์เอียง
โดยเมื่อดวงจันทร์บริวารขยับออกห่างมากขึ้น ดาวเคราะห์ก็จะยิ่งเอียงมากขึ้น
เหตุการณ์ที่ทำให้ดาวเสาร์เอียงนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
กว่าสามพันล้านปีหลังจากที่ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้น
แกนการหมุนรอบตัวของดาวเสาร์เอียงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และก็เพิ่งราว 1 พันล้านปีก่อนนี้เองที่การขยับออกของดวงจันทร์ทั้งหลายของมัน(โดยเฉพาะเมื่อไททันมีอัตราการถอยห่างมากขึ้น)
เหนี่ยวนำให้เกิดกำทอน(resonance) ที่ยังคงดำเนินมาถึงจนทุกวันนี้
เมื่อแกนการหมุนรอบตัวของดาวเสาร์มีปฏิสัมพันธ์กับเส้นทางของเนปจูน และค่อยๆ
เอียงจนกระทั่งมันมาถึงระดับปัจจุบันที่ 27 องศา
การค้นพบเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับลำดับเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ เมื่อนักดาราศาสตร์เห็นพ้องกันมานานแล้วถึงการมีอยู่ของกำทอนนี้
อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่ามันเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกๆ เมื่อกว่า 4 พันล้านปีก่อน
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในวงโคจรของเนปจูน นับแต่นั้น
ก็คิดกันว่าแกนการหมุนรอบตัวของดาวเสาร์ก็เสถียรมาตลอด ในความเป็นจริงแล้ว
แกนการหมุนรอบตัวของดาวเสาร์ก็ยังคงขยับต่อไป
และสิ่งที่เราได้เห็นทุกวันนี้ก็เป็นเพียงสถานะเปลี่ยนแปลงของการขยับนี้
ในอีกไม่กี่พันล้านปีข้างหน้า
แกนการหมุนรอบตัวของดาวเสาร์น่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า
ทีมวิจัยยังได้ข้อสรุปคล้ายๆ
กันเกี่ยวกับดาวพฤหัสฯ ซึ่งคาดว่าจะมีการเอียงคล้ายๆ กันนี้
อันเนื่องมาจากการอพยพออกห่างของดวงจันทร์หลักทั้งสี่ของมัน
และเกิดกำทอนกับวงโคจรของยูเรนัส ซึ่งในอีกสัก 5 พันล้านปีข้างหน้า แกนการหมุนรอบตัวของดาวพฤหัสฯ
ก็น่าจะเพิ่มจาก 3 องศาไปเป็นมากกว่า
30 องศา
งานวิจัยนี้เผยแพร่ใน Nature Astronomy วันที่
18 มกราคม
แหล่งข่าว spaceref.com
: Saturn’s tilt is caused by its moons
phys.org : Saturn’s tilt
caused by its moons
iflscience.com : Saturn
is falling over and its moons are to blame
No comments:
Post a Comment