ดาวแคระขาวดวงหนึ่งไม่ใช่ดาวแคระขาวในแบบที่เรารู้จัก ในขณะที่ดาววิถีหลัก(main sequence star) อย่างดวงอาทิตย์ของเราจะหลอมวัตถุดิบนิวเคลียร์ในแกนกลาง เพื่อพยุงไว้ไม่ให้ดาวยุบตัวลงภายใต้แรงโน้มถ่วงของมันเอง แต่ดาวแคระขาวนั้นมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ความเสื่อมถอยทางควอนตัม(quantum degeneracy) ธรรมชาติทางควอนตัมของอิเลคตรอนนี้หมายความว่า อิเลคตรอน 2 ตัวจะไม่สามารถมีสถานะทางควอนตัมที่เหมือนกัน
สุพราหมัณยัน จันทรเสกขา(Subharmanyan Chadrasekhar) ได้คำนวณความสัมพันธ์ระหว่างมวลและรัศมีดาวแคระขาว พบว่าเมื่อมวลดาวแคระขาวที่ 1.4 เท่ามวลดวงอาทิตย์ จะทำให้แรงดันจากอิเลคตรอนเสื่อมถอยไม่สามารถค้ำจุนการยุบตัวภายใต้แรงโน้มถ่วงได้
เมื่อคุณพยายามจะบีบอัดให้อิเลคตรอนอยู่ในสถานะเดียวกัน
พวกมันจะส่งแรงดันเสื่อมถอย(degeneracy pressure) ซึ่งจะค้ำจุนไม่ให้ดาวแคระขาวยุบตัวลง
แต่ก็ยังมีขีดจำกัดมวลที่ดาวแคระขาวจะสามารถพยุงตัวไว้ได้ Subrahmanyan
Chadrasekhar ได้ทำการคำนวณขีดจำกัดมวลนี้ในปี
1930 และพบว่า
ถ้าดาวแคระขาวดวงหนึ่ง มีมวลมากกว่า 1.4 เท่ามวลดวงอาทิตย์
แรงโน้มถ่วงจะบดอัดจนดาวกลายเป็นดาวนิวตรอน หรือหลุมดำ
แต่ขีดจำกัดจันทรเสกขาก็มีพื้นฐานจากแบบจำลองที่ค่อนข้างพื้นๆ ซึ่งบอกว่า
ดาวแคระขาวอยู่ในสมดุลและไม่ได้หมุนรอบตัวอยู่ แต่ดาวแคระขาวจริงนั้นมีความซับซ้อนมากกว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกมันเกิดการชนขึ้น ดาวแคระขาวคู่นั้นพบได้ค่อนข้างทั่วไปในเอกภพ
ดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์แคระแดงหลายดวงก็เป็นส่วนหนึ่งในระบบคู่
เมื่อดาวเหล่านี้เดินไปถึงจุดจบของวิถีหลักของพวกมัน ก็จะกลายเป็นระบบคู่ดาวแคระขาว
เมื่อเวลาผ่านไป วงโคจรของพวกมันจะสลายตัว
เป็นสาเหตุให้ดาวทั้งสองชนกันในที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
โดยมากพวกมันจะระเบิดเป็นโนวาหรือซุปเปอร์โนวา, สร้างดาวนิวตรอนขึ้นมา แต่บางครั้ง
พวกมันก็ก่อตัวบางสิ่งที่ไม่ปกติเอามากๆ ตามที่รายงานล่าสุดใน Astronomy
& Astrophysics
ในปี 2019 มีการค้นพบแหล่งรังสีเอกซ์แห่งหนึ่งที่ดูคล้ายกับดาวแคระขาว
แต่ก็สว่างเกินกว่าจะเกิดขึ้นจากดาวแคระขาวได้
บอกกันว่าวัตถุนี้น่าจะเป็นการควบรวมที่ไม่เสถียรจากดาวแคระขาวสองดวง
ในการศึกษาใหม่นี้ ทีมนักดาราศาสตร์ที่นำโดย Lidia Oskinova จากมหาวิทยาลัยพอทชดัม เจอรมนี ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์
XMM-Newton เพื่อจับภาพวัตถุนี้
พวกเขาได้ยืนยันว่าวัตถุนี้มีมวลสูงกว่าขีดจำกัดจันทรเสกขา
วัตถุซุปเปอร์จันทรเสกขานี้ถูกล้อมด้วยเนบิวลาซากที่มีลมความเร็วสูง
เนบิวลาซากนั้นประกอบด้วยนีออนเกือบทั้งหมด
ซึ่งจะเห็นเป็นสีเขียวในภาพ
นี่สอดคล้องกับวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นจากการควบรวมของดาวแคระขาว
มันน่าจะหมุนรอบตัวเร็วซึ่งป้องกันไม่ให้วัตถุยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอน แต่สุดท้าย
วัตถุนี้ก็ยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอนในอีกประมาณ 1 หมื่นปีข้างหน้า
มันอาจจะสร้างซุปเปอร์โนวาในกระบวนการนี้ด้วย
ดูเหมือนว่าดาวแคระขาวจะสามารถทำลายขีดจำกัดจันทรเสกขาได้บ้างสักระยะหนึ่ง
แหล่งข่าว sciencealert.com
: colliding white dwarfs produced bizarre slime-green zombie star
scitechdaily.com – cosmic
neon lights : strange new type of star revealed in x-ray light
No comments:
Post a Comment