หนังสือหลายเล่มบอกว่าไม่ยากนัก มองเห็นง่าย แม้แต่กับกล้องสองตาดีๆสักหน่อย ผมเองเคยเห็นที่บางพลีจากกล้องดูดาว 4” เมื่อปี 2008 เป็นแสงฟุ้งที่จางมาก แต่ก็พอรับได้เพราะเป็นชานเมือง กทม น่าแปลกที่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กลับกลายว่าไม่เห็นอะไรเลยแม้ว่าจะดูจากกล้องดูดาวขนาด 8.25” ก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตามมีโอกาสอีกครั้งกับท้องฟ้าระดับแมกนิจูด 6 อย่างภูสวนทราย เอ็ม 71 ในกล้องดูดาว 4” ที่กำลังขยายราว 40 เท่าก็เริ่มมองเห็นดาวในแสงฟุ้งที่เห็นได้ไม่ยาก
ภาพที่เห็นจากมิวล่อน 8.25” ที่กำลังขยาย 135 เท่าแสงฟุ้งเป็นรูปทรงรี มองเห็นดาวอยู่ภาพยในราว 10-20 ดวงที่สว่างแตกต่างกัน ทางด้านทิศเหนือมีดาวเรียงเป็นแถวยาว
เอ็ม 71 ไม่มีใจกลางที่สว่างเหมือนกระจุกดาวทรงกลมตัวอื่นที่เคยดู ทำให้เชื่อกันว่าเป็นกระจุกดาวเปิดที่มีดาวอยู่หนาแน่นเหมือนเอ็ม 11 เพิ่งจะได้รับการพิสูจน์ทราบว่าเป็นกระจุกดาวทรงกลมเมื่อไม่นานนี้เอง
กระจุกดาวตัวนี้พบเป็นครั้งแรกโดยนักดาราศาสตร์ชาวสวิสในปี 1746 ส่วนปิแอร์ เมอร์แชนท์ผู้ช่วยของแมสซายเออร์พบในปี 1780 วิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์พบว่าเป็นกระจุกดาวไม่ใช่เนบิวล่าในปี 1783
เหตุที่ทำให้ไม่มีใจกลางที่สว่างเหมือนกระจุกดาวทรงกลมตัวอื่นอาจเป็นเพราะอยู่ใกล้เราก็เป็นไปได้ เรียกว่าเป็น Globula Cluster อีกตัวที่มีธรรมชาติน่าสนใจแม้จะจางสักหน่อยก็ตาม
ข้อมูลเบื้องต้น
กลุ่มดาว: Sagitta
Catalog No.: Messier 71, NGC 6838
ประเภท: Globular Cluster
Visual Magnitude: +8.18
dia: 3.3 arcmin
ระยะทางจากโลก: 1300 ly
R.A.: 19h 54m 41.38s
Dec.: +18° 50’ 00.7”
Catalog No.: Messier 71, NGC 6838
ประเภท: Globular Cluster
Visual Magnitude: +8.18
dia: 3.3 arcmin
ระยะทางจากโลก: 1300 ly
R.A.: 19h 54m 41.38s
Dec.: +18° 50’ 00.7”
No comments:
Post a Comment