ทีมนักวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัยอริโซนาได้พบแถบและริ้วบนดาวแคระน้ำตาลที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด
ซึ่งบอกใบ้ถึงกระบวนการต่างๆ ที่หมุนกวนชั้นบรรยากาศดาวแคระน้ำตาลจากภายใน
ดาวแคระน้ำตาล(brown dwarf) เป็นวัตถุฟากฟ้าที่เป็นปริศนาที่เป็นดาวฤกษ์ก็ไม่ใช่
ดาวเคราะห์ก็ไม่เชิง พวกมันมีขนาดพอๆ กับดาวพฤหัสฯ แต่มีมวลสูงมากกว่าหลายสิบเท่า
แต่กระนั้นก็ยังมีมวลต่ำกว่าดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
ดังนั้นแกนกลางของพวกมันจึงแรงดันไม่สูงพอที่จะหลอมอะตอมในแบบที่ดาวฤกษ์ทำ
แต่เมื่อพวกมันก่อตัวขึ้นมาก็ยังร้อนและค่อยๆ เย็นตัวลงสลัวลงอย่างช้าๆ
ทำให้ยากที่จะค้นหาพวกมัน
ไม่มีกล้องโทรทรรศน์ใดเลยที่ได้เห็นชั้นบรรยากาศของวัตถุเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
Daniel Apai นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอริโซนา
รองศาสตราจารย์แผนกดาราศาสตร์และหอสังเกตการณ์สจ็วต
และห้องทดลองดวงจันทร์ดาวเคราะห์ กล่าวว่า เราสงสัยว่า
แคระน้ำตาลดูคล้ายกับดาวพฤหัสฯ
โดยมีแถบและริ้วซึ่งเกิดขึ้นจากลมความเร็วสูงขนาดใหญ่ที่พุ่งขนานกันตามแนวลองติจูด
หรือพวกมันมีพายุขนาดมหึมาที่มีรูปแบบคงเดิมคล้ายกับพายุหมุนที่พบบนขั้วดาวพฤหัสฯ Apai
เป็นผู้เขียนนำการศึกษาซึ่งเผยแพร่ใน
Astrophysical Journal ที่ค้นหาคำตอบโดยใช้เทคนิคชั้นสูง
กราฟฟิคเปรียบเทียบดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์, ดาวแคระน้ำตาล และดาวฤกษ์ที่แท้จริง แม้ดาวแคระน้ำตาลจะก่อตัวขึ้นในลักษณะที่คล้ายกับดาวฤกษ์ แต่มีคุณสมบัติหลายประการเหมือนกับดาวเคราะห์ก๊าซ
เขาและทีมพบว่าดาวแคระน้ำตาลดูคล้ายคลึงกับดาวพฤหัสฯ อย่างมาก
รูปแบบในชั้นบรรยากาศเผยให้เห็นลมความเร็วสูงที่วิ่งขนานกันกับศูนย์สูตรของดาวแคระน้ำตาล
ลมเหล่านี้กวนชั้นบรรยากาศ กระจายความร้อนที่ผุดขึ้นจากภายในที่ยังร้อนระอุของแคระน้ำตาลเสียใหม่
และก็เช่นเดียวกับดาวพฤหัสฯ ที่พื้นที่ขั้วแคระน้ำตาลก็มีพายุหมุนด้วยเช่นกัน
แบบจำลองชั้นบรรยากาศบางงานทำงานรูปแบบชั้นบรรยากาศเช่นนี้ Apai กล่าว ซึ่งรวมถึงแบบจำลองจาก Adam Showman
ผู้ล่วงลับ
ซึ่งเป็นศาตราจารย์ที่ห้องทดลองดวงจันทร์และดาวเคราะห์ มหาวิทยาลัยอริโซนา
และผู้นำในแบบจำลองชั้นบรรยากาศดาวแคระน้ำตาล
รูปแบบลมและการไหลเวียนในชั้นบรรยากาศขนาดใหญ่ๆ
มักจะพบได้ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์
ตั้งแต่ภูมิอากาศของโลกจนถึงลักษณะปรากฏของดาวพฤหัสฯ
และขณะนี้เราก็ทราบว่าไอพ่นขนาดใหญ่ในชั้นบรรยากาศลักษณะนี้ก็ตกแต่งชั้นบรรยากาศของแคระน้ำตาลด้วยเช่นกัน
Apai ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมในรายงาน
ซึ่งยังมี Luigi Bedin และ Domenico
Nardiello จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งปาดัว
ซึ่งรายหลังก็ทำงานที่ห้องทดลองดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งมาร์กเซย์ ฝรั่งเศส ด้วย
การทราบว่าลมจะพัดและกระจายความร้อนอย่างไร
บนหนึ่งในดาวแคระน้ำตาลที่ถูกศึกษาอย่างดีที่สุดและอยู่ใกล้ที่สุด
จะช่วยให้เราได้เข้าใจภูมิอากาศ, ความสุดขั้วด้านอุณหภูมิ
และวิวัฒนาการของแคระน้ำตาลโดยรวม Apai กล่าว
ทีมของเขาที่อริโซนาเป็นผู้นำในระดับโลกในการทำแผนที่ชั้นบรรยากาศดาวแคระน้ำตาลและดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา
โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศและวิธีการใหม่ๆ
ทีมใช้ดาวเทียม TESS(Transiting
Exoplanet Survey Satellite) ของนาซา
เพื่อศึกษาดาวแคระน้ำตาลสองดวงที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ที่ระยะทางเพียง 6.5
ปีแสงจากโลก ดาวแคระน้ำตาลที่เรียกว่า
Luhman 16A และ B ในขณะที่ทั้งสองมีขนาดพอๆ กับดาวพฤหัสฯ
แต่พวกมันมีความหนาแน่นสูงกว่าและจึงมีมวลมากกว่า Luhman 16 A มีมวล 34 เท่าดาวพฤหัสฯ
และ Luhman 16B ซึ่งเป็นเป้าหลักในการศึกษาของ
Apai มีมวล 28
เท่าดาวพฤหัสฯ และร้อนกว่า A ประมาณ 810 องศาเซลเซียส
TESS แม้ว่าจะออกแบบมาให้ตามล่าดาวเคราะห์นอกระบบ
ก็ยังให้ชุดข้อมูลที่น่าตื่นเต้นและรุ่มรวยอย่างไม่น่าเชื่อกับดาวแคระน้ำตาลที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด
Apai กล่าว
ด้วยอัลกอริทึมชั้นสูงที่พัฒนาโดยสมาชิกทีมของเรา เราก็สามารถทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงความสว่างเมื่อแคระน้ำตาลทั้งสองหมุนรอบตัว
ได้อย่างแม่นยำมาก แคระน้ำตาลจะสว่างขึ้นเมื่อพื้นที่ในชั้นบรรยากาศที่สว่างกว่า
หมุนเข้ามาสู่ซีกด้านที่มองเห็นได้ และจะมืดลงเมื่อพื้นที่สว่างหันหนีออกไป
เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศให้การตรวจสอบที่แม่นยำสูงมากและไม่ถูกรบกวนโดยแสงจากช่วงกลางวัน
ทีมจึงรวบรวมการหมุนรอบตัวได้มากกว่าที่เคยทำ
ให้มุมมองการไหลเวียนในชั้นบรรยากาศดาวแคระน้ำตาลที่มีรายละเอียดมากที่สุด Apai
กล่าวว่า
ไม่มีกล้องตัวใดเลยที่มีขนาดใหญ่มากพอที่จะให้ภาพดาวเคราะห์หรือแคระน้ำตาลในรายละเอียดได้
แต่ด้วยการตรวจสอบว่าความสว่างของวัตถุที่หมุนรอบตัวเหล่านี้เปลี่ยนแปลงตามเวลาอย่างไร
ก็เป็นไปได้ที่จะสร้างแผนที่ชั้นบรรยากาศหยาบๆ ขึ้นมาได้
เป็นเทคนิคที่ในอนาคตซึ่งอาจจะถูกใช้เพื่อทำแผนที่ดาวเคราะห์ที่คล้ายโลกในระบบสุริยะแห่งอื่น
ซึ่งจริงๆ แล้วยากที่จะเห็นได้
ผลสรุปของนักวิจัยได้แสดงว่าการไหลเวียนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
กับดาวแคระน้ำตาลมีความคล้ายคลึงกันมาก ด้วยเหตุนี้
แคระน้ำตาลจึงสามารถทำแผนที่เป็นดาวเคราะห์ยักษ์นอกระบบในแบบที่มีมวลสูงขึ้นเพื่อศึกษาในอนาคตได้
การศึกษาของเราจะให้แม่แบบเพื่อการศึกษาวัตถุที่คล้ายๆ กันในอนาคตว่า
จะทำการสำรวจหรือกระทั่งทำแผนที่
ชั้นบรรยากาศดาวแคระน้ำตาลและดาวเคราะห์ยักษ์นอกระบบได้อย่างไร
โดยปราศจากการใช้กล้องที่ทรงพลังมากที่จะเห็นพวกมันในรายละเอียดได้ Apai กล่าว
ทีมยังหวังที่จะทำการศึกษาเมฆ, ระบบพายุและแถบการไหลเวียนที่ปรากฏบนดาวแคระน้ำตาลและดาวเคราะห์นอกระบบเพื่อให้ความเข้าใจชั้นบรรยากาศนอกระบบสุริยะเกิดในเชิงลึกขึ้น
แหล่งข่าว spaceref.com
: winds and jet streams found on the closest brown dwarf
No comments:
Post a Comment