Thursday 21 January 2021

Messier 37

 

เอ็ม 37 กระจุกดาวเปิดอีกตัวในสารถีอีกตัวที่น่าสนใจ สว่างที่สุด มีดาวมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในกระจุกดาวสารถีทั้งสามตัวในแมสซายเออร์แคตตาลอค ถ้าดูด้วยกล้องดูดาว 8 นิ้วจะเห็นดาวราว 150 ดวง มีขนาดที่ในกล้องดูดาวเกือบเท่าพระจัทร์เต็มดวง

ภาพสเก็ทช์จากกล้องดูดาว 4” จะเห็นว่าเอ็ม 37 เป้นกระจุกดาวที่รูปร่างแปลกจากกระจุกดาวอื่นๆ มีแถบมืดพาดผ่านทั่วไป ทำให้ดูเหมือนภาพงานศิลปะของปิกัสโซ่มากกว่าดาวที่อยู่บนฟ้า

ผมเคยดูผ่านกล้องสะท้อนแสง 8” โครงสร้างกระจุกดาวก็ไม่ได้ต่างออกไป เพียงแต่มีดาวมากกว่า ดูง่ายกว่า น่าสนใจพอกัน เป็นอีกตัวที่แนะนำให้ลองมองหาและใช้เวลากับเค้าสักหน่อยจะมองเห็นดาวมากขึ้น

มเป็นอีกตัวที่ปรากฎในบันทึกดูดาวของ จีโอวานนี่ โฮเดียน่าที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1654 เป็นครั้งแรก ก่อนที่แมสซายเออร์จะพบอีกครั้งในปี 1764

นายพลเรือนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ W.H. Smyth บรรยายภาพของเอ็ม 37 ที่มองเห็นผ่านกล้องสะท้อนแสง 5.9 นิ้วได้งามยิ่ง "the whole field being strewed as it were with sparkling gold-dust." “ท้องทุ่งที่โปรยปรายด้วยผงทองเปล่งประกายระยิบระยับ” 

เอ็ม 37 ห่างออกไปจากเรา4500 ปีแสง ขนาดที่ปรากฎใกล้เคียงพระจันทร์เต็มดวงหรือ 24 อาร์คมินิต ใหญ่กว่าเอ็ม 38 เล็กน้อบ ขนาดจริง 20-25 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 500 ดวง ในจำนวนนี้มีราว 150 ดวงที่สว่างมัคนิจูด 12.5 มีดาวยักษ์แดงอย่างน้อย 12 ดวง ดาวสว่างที่สุดสี B9 ขาว-ฟ้า

การหาตำแหน่งด้วยกล้องสองตาไม่ยาก อันดับแรกมองหาห้าเหลี่ยมสารถี เอ็ม 37 จะอยู่กึ่งกลางระหว่างเบต้า (β) และเตต้า (θ) ออริเก ในกล้องสองตาจะเห็นเป็นฝ้าฟุ้งสีขาวครับ



คลิกภาพเพื่อขยาย


ข้อมูลพื้นฐาน 
Name: Messier 37 
Type: Open Cluster 
Visual Magnitude: 5.6 
Dimension: 14 arcmin 
Constellation: Auriga 
Distance: 4500 ly 

Coordinates: 
R.A. 5h 53m 32.4s 
Dec. +32° 33' 8.8”


No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...