แบบจำลองเสมือนจริงคอมพิวเตอร์อันใหม่ได้แสดงว่า
พลูโตนั้นโชคดีที่อยู่ในวงโคจรเช่นนี้
ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวงโคจรอันวุ่นวายที่อาจจะทำลายพิภพแห่งหัวใจแห่งนี้ได้
อดีตดาวเคราะห์ดวงที่เก้าซึ่งปัจจุบันกลายเป็นดาวเคราะห์แคระ
มีวงโคจรที่ไม่ปกติซึ่งรีมากและเอียง 17 องศาเมื่อเทียบกับวงโคจรของดาวเคราะห์อื่นๆ
ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่นาน 248 ปีของพลูโต
จะมี 20 ปีที่พลูโตขยับเข้ามาภายในวงโคจรของเนปจูน
แต่พวกมันไม่เคยชนกันอันเป็นผลจากคุณสมบัติวงโคจรพลูโต 2 ประการคือ azimuthal libration และ latitude libration
การแกว่งอะซิมุธ
อธิบายว่า เมื่อใดก็ตาม ที่พลูโตข้ามวงโคจรเนปจูนเข้าไป
มันจะอยู่ห่างจากเนปจูนอย่างน้อย 90 องศาเสมอ
ในขณะเดียวกัน การแกว่งแนวสูง
เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อพลูโตเข้าใกล้เนปจูนหรือดาวเคราะห์ยักษ์อื่นๆ มากที่สุด
มันจะอยู่สูงเหนือระนาบระบบสุริยะเสมอ เมื่อรวมกัน
ปัจจัยทั้งสองเหล่านี้รักษาให้พลูโตพ้นจากความยุ่งยาก หมายเหตุ azimuthal
libration เรียกอีกอย่างว่า
v ZLK oscillation ซึ่งย่อมาจาก von
Zeipel, Lidov และ Kozai
ซึ่งศึกษาปรากฏการณ์ประหลาดนี้อันเป็นส่วนหนึ่งของ
three-body problem
ขณะนี้ Renu Malhotra นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ที่ห้องทดลองดวงจันทร์และดาวเคราะห์
มหาวิทยาลัยอริโซนา และ Takashi Ito จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น
ได้พัฒนาความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดพลูโตจึงอยู่รอดในวงโคจรที่พิเศษนี้ได้
ให้มากขึ้น ในแบบจำลองเสมือนจริงคอมพิวเตอร์ พวกเขาพบว่าเนปจูนมีอิทธิพลสูงสุดต่อ azimuthal
libration ซึ่งเป็นผลจากกำทอน
3:2 ของดาวเคราะห์ทั้งสอง
ซึ่งกำกับว่าในทุกๆ 3 รอบที่เนปจูนโคจรไปรอบดวงอาทิตย์
พลูโตจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 2 รอบพอดี
อย่างไรก็ตาม แบบจำลองบอกว่าเนปจูนไม่ได้มีอิทธิพลมากที่สุดในแง่การ altitude
libration
วงโคจรของพลูโตเอียง 17 องศาเมื่อเทียบกับระนาบระบบสุริยะ และมีความรี จนทำให้บางช่วงของวงโคจร พลูโตอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเนปจูน
เมื่อรวมแรงโน้มถ่วงจากยูเรนัสเข้าไปด้วย
ทุกอย่างจะเริ่มแย่ลง ยูเรนัสทำหน้าที่ทำลายสมดุลทั้ง azimuthal และ latitude ถ้าวงโคจรพลูโตเป็นผลที่ตามมาจากผลจากดาวเคราะห์เพียงสองดวงนี้
มันก็น่าจะไม่เสถียรภายในเวลาเพียงหลายสิบถึงหลายร้อยล้านปีเท่านั้น
เป็นผลให้พลูโต ถ้าไม่ชนกับเนปจูน
หรือถูกดีดออกจากระบบสุริยะไปโดยสิ้นเชิง(มีโอกาสมากกว่า)
แต่เป็นเพราะดาวพฤหัสฯ และตามมาด้วยดาวเสาร์
ที่มาช่วยพลูโตไว้ แม้ว่าจะอยู่ไกลจากพลูโตมากกว่าเนปจูนและยูเรนัส
แต่แรงโน้มถ่วงของพวกมันก็รุนแรงมากจนเอาชนะได้ ลำพังแต่ดาวพฤหัสฯ
ก็มีอิทธิพลแรงโน้มถ่วงเพียงพอที่จะรักษาวงโคจรพลูโตให้เสถียรไปได้อย่างน้อย 5
พันล้านปี(ช่วงเวลาที่แบบจำลองเสมือนจริงเดินเครื่องไป)
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ก็คือ
เขตเสถียรภาพของพลูโตนี้แคบแค่ไหน และดาวเคราะห์แคระก็เสียบเข้าไปได้อย่างไร
ต้องขอบคุณการเรียงตัวโดยบังเอิญของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา
การค้นพบยังส่งผลต่อวัตถุที่มีวงโคจรคล้ายๆ กับพลูโตด้วย ซึ่งก็อยู่ในกำทอน 3:2
กับเนปจูน
เนื่องจากวงโคจรของประชากรวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากมายในแถบไคเปอร์(Kuiper
Belt) ที่อยู่เลยเนปจูนออกไป
ยังเก็บรักษาความทรงจำว่าพวกมันถูกผลักไปทั่วจากการอพยพของดาวเคราะห์ยักษ์ในช่วงต้นของระบบสุริยะ
อย่างไร พวกมันจึงให้หน้าต่างอันเป็นอัตลักษณ์สู่ความเป็นมาของระบบสุริยะ
ด้วยการศึกษาต่อๆ ไป Malhotra เชื่อว่านักดาราศาสตร์จะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับประวัติการอพยพของดาวเคราะห์ยักษ์
และบอกได้ว่าสุดท้ายพวกมันมาอยู่ในวงโคจรปัจจุบันที่เป็นได้อย่างไร
มันอาจจะนำไปสู่การค้นพบกลไกพลวัตที่จะอธิบายกำเนิดวงโคจรของพลูโตและวัตถุอื่นๆ
ที่มีความเอียงสูง
วงโคจรของพวกมันอาจจะซ่อนหลักฐานการมีอยู่ของดาวเคราะห์ที่สาบสูญซึ่งถูกผลักออกจากระบบสุริยะเมื่อหลายพันล้านปีก่อน
Malhotra และ Ito
กล่าว ผลสรุปเผยแพร่ใน Proceedings
of the National Academy of Sciences วันที่
31 มีนาคม
แหล่งข่าว space.com
: how Pluto walks a tightrope between a stable and chaotic orbit
sciencealert.com :
researchers think they’ve cracked the secret behind Pluto’s weirdly unstable
orbit
No comments:
Post a Comment