บันทึกอ้างอิงแสงห้าสีบนท้องฟ้าเหนือ อาจจะเป็นพยานอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดของแสงเหนือเมื่อเกือบ 3000 ปีก่อน ให้แง่มุมสู่ช่วงเวลาที่มีกิจกรรมสุริยะสูงสุด(solar maximum) ก่อนจะเกิด กิจกรรมสุริยะต่ำสุดครั้งใหญ่(great minimum) เมื่อกิจกรรมสุริยะหยุดลงเป็นเวลาเกือบ 90 ปี image credit: Volodimir Zozulinskyi/Shutterstock.com
เหตุการณ์บนสรวงสวรรค์เหตุการณ์หนึ่งที่เอกสารจีนโบราณได้พูดถึง
อาจจะเป็นการอ้างอิงถึงออโรรา(aurora) ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
การศึกษาล่าสุดโดย Marinus Anthony van der Sluijs นักวิจัยอิสระที่คานาดา และ Hisashi
Hayakawa จากมหาวิทยาลัยนาโงยา
บอกว่า บันทึกจีนนั้นเก่ากว่าบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดก่อนหน้านี้ราวสามร้อยปี
การค้นพบเผยแพร่ในวารสาร Advances in Space Research
บันทึกรายปีไม้ไผ่(The Bamboo Annals; จู๋ซูจี่เหนียน) เป็นพงศาวดารประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ตำนานยุคแรกสุดจนถึงช่วงเวลาที่เขียนขึ้น
ในช่วงสี่ร้อยปีก่อนคริสตกาล นอกเหนือจากมีเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แล้ว
ยังมีการสำรวจท้องฟ้าที่ปรากฏเป็นครั้งคราวแบบไม่ปกติในบันทึกด้วย
แม้ว่าปราชญ์จะรู้จักพงศาวดารนี้มานาน แต่การตรวจสอบข้อความโบราณครั้งใหม่
บางครั้งก็ให้แง่มุมที่น่าประหลาดใจ
ในกรณีนี้ ผู้เขียนได้ตรวจสอบการเอ่ยถึง
“แสงห้าสี” ที่เห็นบนท้องฟ้าส่วนเหนือในค่ำคืนหนึ่งใกล้ช่วงสิ้นสุดรัชกาลของจ้าวอ๋องแห่งราชวงศ์โจว
ในขณะที่ไม่ทราบปีที่แน่ชัด แต่ผู้เขียนได้ตรวจเทียบปฏิทินจีนโบราณได้ว่า 977
ปีและ 957 ปีก่อนคริสตกาลน่าจะเป็นสองปีที่เป็นไปได้มากที่สุด
ขึ้นอยู่กับว่าจะนับสิ้นรัชกาลของจ้าวอ๋อง อย่างไร
พวกเขาพบบันทึก”แสงห้าสี”
สอดคล้องกับพายุแม่เหล็กขนาดใหญ่ลูกหนึ่ง
เมื่อออโรราในละติจูดกลางมีความสว่างมากพอ มันจะแสดงสีสันหลากหลายตระการตา
นักวิจัยบอกถึงตัวอย่าง “แสงห้าสี”
หลายครั้งในบันทึกประวัติศาสตร์ที่ย้อนเวลาไปไม่นาน เป็นที่ทราบกันว่าในช่วงกลางศตวรรษที่
10 ก่อนคริสตกาล ขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกเอียงไปทางด้านยูเรเชียน(Eurasian;
มหาทวีปที่รวมทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน)
เข้าใกล้ภาคกลางของจีนมากกว่าที่เป็นในปัจจุบันประมาณ
15 องศา ดังนั้น
ผู้สังเกตการณ์ในจีนตอนกลางจึงน่าจะสังเกตเห็นวงไข่ออโรรา(auroral oval) ได้ในช่วงเวลาที่มีความปั่นป่วนทางแม่เหล็กครั้งใหญ่ๆ
การศึกษาประเมินว่าวงไข่ออโรราที่ขยับมาใกล้ศูนย์สูตรมากขึ้น ก็น่าจะอยู่ที่ละติจูดแม่เหล็ก
40 องศาหรือน้อยกว่านั้น
เราสามารถระบุตำแหน่งที่สำรวจที่ราวๆ เห่าจิง(N34°14′, E108°46;
พื้นที่หนึ่งในสองแห่งที่เป็นราชธานีของราชวงศ์โจว)
แม้ว่าในช่วงเวลาเกือบหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล
ขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกจะใกล้จีนมากกว่าในปัจจุบัน แต่จีนภาคกลางก็ยังไกลจากขั้วในช่วงเวลานั้นเกือบ
40 องศา
มีแต่เพียงการปะทุที่รุนแรงจากดวงอาทิตย์ที่จะสร้างแสงเหนือที่สว่างพอที่จะเห็นได้ไกลจากขั้ว(แม่เหล็ก)
ขนาดนั้น พวกเขาเขียนไว้
นี่น่าจะเป็นบันทึกชุดข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับออโรราเท่าที่เคยพบในที่ใดๆ
บนโลก การค้นพบเกิดขึ้นเพียงสองปีหลังจากผู้ยึดครองสถิติก่อนหน้านี้
เป็นบันทึกมากมายของว่าที่ออโรราที่บรรยายไว้บนแผ่นดินเหนียวสลักอักษรรูปลิ่ม(cuneiform
tablets) โดยนักดาราศาสตร์ชาวอัสซีเรียในช่วง
679 ถึง 655
ปีก่อนคริสตกาล นักวิทยาศาสตร์บางคนยังรวม
วิสัยทัศน์ของเอซซีคีล(Ezekiel’s vision) ซึ่งขณะนี้ตรวจสอบอายุได้ราว
594 ถึง 593
ปีก่อนคริสตกาลซึ่งมีการมองเห็นออโรราในพื้นที่ตะวันออกกลาง
แต่ก็ยังกังขาในความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังมีบันทึกชุดข้อมูลว่าที่ออโรราโบราณพบในบันทึกประจำวันทางดาราศาสตร์(astronomical
diary) 567 ปีก่อนคริสตกาล
ของกษัตริย์ชาวบาบิโลน เนบูคัดเนซซาร์ที่ 2(Nebuchadnezzar II)
เพราะเหตุใดจึงต้องใช้เวลานานมากๆ
ที่นักวิทยาศาสตร์จะตระหนักว่าแสงห้าสีในบันทึกนี้คือออโรรา เหตุผลหนึ่งก็คือ
บันทึกประจำปีไม้ไผ่มีประวัติที่คลุมเครือ
บันทึกดั่งเดิมสูญหายไปและถูกพบอีกครั้งในช่วงสามร้อยปีก่อนคริสตกาล
และก็สูญหายอีกครั้งในช่วงราชวงศ์ซ่ง ในศตวรรษที่ 16 มีบันทึกข้อความแก้ไขปรากฏออกไปว่าวัตถุบนท้องฟ้าไม่ใช่แสงห้าสี(five-color
light) แต่เป็นดาวหาง(fuzzy
star) ขณะนี้
การศึกษาใหม่บอกว่าการอ้างอิงแสงห้าสีน่าจะถูกต้องกว่า
ซึ่งเหมือนกับที่ผู้เขียนคนอื่นๆ
ได้บรรยายออโรราสว่างเมื่อมันมาถึงละติจูดที่ปกติพบแสงเหนือได้ยาก
มันน่าสนใจในตัวมันเองที่มีการอธิบายถึงแสงเหนือย้อนเวลากลับไปได้ไกล
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ลักษณะนี้ยังมีคุณค่าด้วยเหตุผลอื่นด้วย
มันช่วยนักวิทยาศาสตร์ให้ทำแบบจำลองความแปรผันสภาวะอวกาศ(space weather) และกิจกรรมสุริยะในระยะยาวในระดับหลายทศวรรษหรือกระทั่งหลักพันปีได้
การเข้าใจความปั่นป่วนเหล่านั้นจะส่งผลช่วยให้มีการเตรียมตัวสำหรับการปะทุสุริยะที่มีความรุนแรงมากในอนาคต
และการรบกวนเทคโนโลจีสาธารณูปโภคที่อาจเกิดขึ้นได้
พายุสุริยะมีปฏิสัมพันธ์กับชั้นบรรยากาศโลกสร้างไอโซโทปกัมมันตรังสีที่เป็นลักษณะเฉพาะ
การศึกษาไอโซโทปในชั้นตะกอนบ่งบอกถึงช่วงกิจกรรมสุริยะที่เงียบกริบที่ราว 810
ถึง 720 ก่อนคริสตกาล(เรียกว่า Homeric Grand Minimum) คล้ายกับ Maunder Minimum ในช่วงศตวรรษที่ 17
ถ้าบันทึกนี้ถูกต้อง จะเป็นการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์เพียงเหตุการณ์เดียวที่เกี่ยวกับสภาวะอวกาศก่อนช่วง
Hom
eric Minimum ซึ่งน่าจะถูกเรียกว่า
Neo-Assysian Grand Minimum เนื่องจากงานของโฮเมอร์ที่เป็นที่ถกเถียงทั้งช่วงเวลาและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ปัจจุบัน
สถานที่เดียวในประเทศจีนที่จะสามารถมองเห็นแสงเหนือได้ก็คือที่ โม่เฮอ
ซึ่งมีชื่อเล่นว่า เมืองอาร์กติกของจีน ติดชายแดนรัสเซีย
มันอยู่เหนือขึ้นไปมากจนเป็นสถานที่เดียวในจีนที่คุณจะได้พบทั้งแสงเหนือและปรากฏการณ์พระอาทิตย์กลางคืนขึ้นอยู่กับช่วงเดือนของปี
ภาพออโรราเหนือหมู่บ้านโม่เหอ ซึ่งเป็นพื้นที่ตอนเหนือสุดของมณฑลเฮ่ยหลงเจียง จีน credit: vulcanpost.com
แหล่งข่าว phys.org
: earliest record of a candicate aurora found in Chinese annals
No comments:
Post a Comment