ภาพจากศิลปินแสดงฝูงดาวหางในระบบดาวแห่งหนึ่ง
ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา
นักดาราศาสตร์ต้องทึ่งกับดาวฤกษ์ เบตา พิคทอริส
เนื่องจากมันช่วยให้พวกเขาได้สำรวจระบบดาวเคราะห์อายุน้อยที่ยังอยู่ในกระบวนการก่อตัว
มันประกอบด้วยดาวเคราะห์อายุน้อยอย่างน้อย 2 ดวง เช่นเดียวกับดาวหาง ซึ่งถูกตรวจพบโดยเนิ่นๆ
ตั้งแต่ปี 1987 เป็นดาวหางกลุ่มแรกๆ
ที่เคยพบโคจรรอบดาวฤกษ์อื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์
ขณะนี้ ทีมวิจัยนานาชาติได้พบดาวหางนอกระบบ(exocomets)
อีก 30 ดวง และตรวจสอบขนาดนิวเคลียสดาวหาง
ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 จนถึง 14
กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำโดย Alain
Lecavelier des Etangs นักวิจัย CNRS
ที่สถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งปารีส(CNRS/Sorbonne
Universite)
นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถประเมินการกระจายขนาดของดาวหางได้
คือสัดส่วนระหว่างดาวหางขนาดเล็กต่อขนาดใหญ่
นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ตรวจสอบการกระจายขนาดนอกระบบสุริยะของเรา และมันก็คล้ายกับดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อย่างน่าประหลาดใจ
มันได้แสดงว่า ดาวหางของเบตา พิคทอริส(Beta Pictoris) นั้นถูกสร้างจากการชนและแตกหักหลายเหตุการณ์
เหมือนกับดาวหางในระบบของเรา
งานวิจัยนี้เปิดช่องทางใหม่ให้กับกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวหางในระบบดาวเคราะห์
เมื่อน้ำส่วนหนึ่งบนโลกก็อาจจะมีกำเนิดในดาวหาง
นักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางเข้าใจผลกระทบของดาวหางต่อคุณลักษณะของดาวเคราะห์
การค้นพบเผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports วันที่ 28 เมษายน และเป็นผลจากการสำรวจ 156 วันโดยใช้ TESS
(Transiting Exoplanet Survey Satellite) การสำรวจที่จะตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยกล้องฮับเบิลและกล้องเวบบ์
น่าจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้พบดาวหางเพิ่มเติมในอนาคต
แหล่งข่าว sciencedaily.com
: discovery of 30 exocomets in a young planetary system
scitechdaily.com : 30
exocomets discovered in a young planetary system
No comments:
Post a Comment