นักบินอวกาศอพอลโล 17 Harrison Schmitt เก็บตัวอย่างจากดวงจันทร์ในระหว่างปฏิบัติการภารกิจเดือนธันวาคม 1972 ชุดของเขาก็เปื้อนดินฝุ่นดวงจันทร์ด้วย image credit: NASA
ในช่วงต้นๆ ของยุคอวกาศ
นักบินอวกาศอพอลโลมีส่วนร่วมในการวางแผนระยะยาว เมื่อนำตัวอย่างวัสดุสารดินฝุ่นบนพื้นผิวดวงจันทร์ที่เรียกว่า
รีโกไลธ์(regolith) กลับมาที่โลก ซึ่งจะถูกศึกษาด้วยเครื่องมือที่ละเอียดอ่อนและเก็บรักษาไว้ในงานวิจัยในอนาคตที่ไม่เคยจินตนาการถึง
และในอีกห้าสิบปีต่อมา ในช่วงอรุณรุ่งแห่งยุคอาร์เทมิส(Artemis) และนักบินอวกาศที่จะกลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง
มีการใช้ตัวอย่างรีโกไลธ์จากอพอลโล่ 3 ตัวอย่างเพื่อปลูกพืช
เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยประสบความสำเร็จในการปลูกพืชชนิดที่ทนทานและถูกศึกษาเป็นอย่างดี
เธลเครส(thale cress; Arabidopsis thaliana) ในรีโกไลธ์ดวงจันทร์ที่ขาดแคลนสารอาหาร
งานวิจัยนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อเป้าหมายการสำรวจโดยมนุษย์ในระยะยาวของนาซา
เมื่อเราต้องใช้ทรัพยากรที่พบบนดวงจันทร์และดาวอังคารเพื่อสร้างแหล่งอาหารสำหรับนักบินอวกาศในอนาคตได้อยู่อาศัยและทำงานในอวกาศห้วงลึก
Bill Nelson ผู้บริหารนาซา
กล่าว งานวิจัยการเจริญพืชพื้นฐานนี้ยังเป็นตัวอย่างสำคัญว่านาซากำลังทำอะไรเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเกษตร
ซึ่งอาจจะช่วยเราให้เข้าใจว่าพืชพันธุ์อาจจะเอาชนะสภาวะที่แล้งแค้นในพื้นที่ที่ขาดแคลนอาหารบนโลกได้อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา
ได้ทำการค้นพบครั้งประวัติศาสตร์
ซึ่งใช้ความพยายามหลายสิบปีในการสร้างซึ่งทั้งช่วยเหลือการสำรวจอวกาศและเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
Robert Ferl ศาสตราจารย์ที่แผนกวิทยาศาสตร์พืชสวน
มหาวิทยาลัยฟลอริดา เกนส์วิลล์ และผู้เขียนรายงานที่เผยแพร่ในวารสาร Communications
Biology วันที่ 12
พฤษภาคม กล่าวว่า ตอนนี้ในอีก 50
ปีต่อมา
ก็เป็นการเสร็จสิ้นการทดลองที่เริ่มต้นมาตั้งแต่แล๊ปอพอลโล
ตอนแรกเราตั้งคำถามว่าพืชจะสามารถเจริญในรีโกไลธ์ได้หรือไม่ และอย่างที่สอง
แล้ววันหนึ่งมันจะช่วยมนุษยชาติให้อยู่ในยาวนานบนดวงจันทร์ ได้อย่างไร
Rob Ferl(ซ้าย)
และ Anna-Lisa Paul จ้องแผ่นที่มีดินดวงจันทร์ส่วนหนึ่ง
กับดินชุดควบคุมอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอยู่ใต้แสงแอลอีดี ในเวลานั้น
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าเมล็ดพันธุ์จะเจริญในดินดวงจันทร์หรือไม่
ปริมาณรีโกไลธ์ดวงจันทร์ที่นำกลับมาโลกนั้นมีค่อนข้างน้อย
Ferl และเพื่อนร่วมงานที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา
ใช้ความพยายามสามครั้งตลอด 11 ปี
และสุดท้ายก็ได้ขอยืมรีโกไลธ์ดวงจันทร์มา 12 กรัม
คำตอบสำหรับคำถามแรกก็คือใช่
พืชสามารถเจริญได้ในรีโกไลธ์ดวงจันทร์
มันไม่ได้เจริญงอกงามเหมือนกับพืชเจริญในดินบนโลก
หรือแม้กระทั่งเท่ากับการเจริญในดินดวงจันทร์จำลองที่ทำมาจากเถ้าภูเขาไฟ
แต่พวกมันก็เจริญเติบโตจริงๆ
และด้วยการศึกษาว่าพืชตอบสนองในตัวอย่างดินดวงจันทร์อย่างไร
ทีมก็หวังว่าจะเดินทางไปถึงคำตอบของคำถามที่สองได้เช่นกัน โดยการแผ้วถางหนทางให้กับนักบินอวกาศในอนาคต
เพื่อที่วันหนึ่งข้างหน้าจะสามารถปลูกพืชที่อุดมด้วยสารอาหารมากกว่านี้บนดวงจันทร์
และมีชีวิตรอดในห้วงอวกาศได้
เพื่อที่จะสำรวจให้ไกลขึ้นและเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่
เราต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีบนดวงจันทร์
เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องขนทั้งหมดไปกับเราด้วย Jacob Bleacher หัวหน้านักวิทยาศาสตร์สำรวจที่สนับสนุนโครงการอาร์ทีมิสของนาซา
ที่สำนักงานใหญ่นาซา ในวอชิงตัน กล่าว
เขาชี้ว่านี่ยังเป็นเหตุผลที่นาซากำลังส่งปฏิบัติการหุ่นยนต์ไปที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์
ซึ่งเชื่อว่าอาจจะมีน้ำที่นักบินอวกาศในอนาคตจะสามารถใช้ได้ ยิ่งกว่านั้น
การปลูกพืชก็เป็นสิ่งที่เราจะศึกษาเมื่อเราเดินทาง ดังนั้น
การศึกษาเหล่านี้บนพื้นโลกจะปูเส้นทางเพื่อขยายงานวิจัยจากมนุษย์บนดวงจันทร์คนถัดไป
Arabidopsis thaliana ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่พบบนทวีปยูเรเชียและอาฟริกานั้นเป็นญาติกับผักกาดเขียวปลี(mustard
green) และพืชตระกูลกะหล่ำ(cruciferous
vegetables) อย่าง
บรอคโคลี, กะหล่ำดอก และกะหล่ำดาว(Brussels sprouts) มันยังมีบทบาทสำคัญสำหรับนักวิทยาศาสตร์
อันเนื่องมาจากขนาดที่เล็กและโตง่าย จึงเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ถูกศึกษามากที่สุดบนโลก
ใช้เป็นตัวอย่างสิ่งมีชีวิตสำหรับงานวิจัยในทุกแขนงของพฤกษศาสตร์ ด้วยเหตุนี้
นักวิทยาศาสตร์จึงทราบดีว่าจีนส์ของมันมีสภาพอย่างไร,
มันมีพฤติกรรมอย่างไรในสถานการณ์ต่างๆ แม้แต่กระทั่งมันเจริญเติบโตในอวกาศอย่างไร
เพื่อที่จะปลูกเธลเครส
ทีมใช้ตัวอย่างที่รวบรวมจากปฏิบัติการอพอลโล 11, 12 และ 17 โดยใช้รีโกไลธ์เพียงหนึ่งกรัมต่อพืช
1 ต้น
ทีมเติมน้ำและจากนั้นก็เพาะเมล็ดพันธุ์ในตัวอย่าง จากนั้น ทีมก็เอาถาดไว้ในกล่องในห้องปลอดเชื้อ
แล้วเติมสารอาหารให้ทุกวัน หลังจากนั้นสองวัน พวกมันก็เริ่มงอก Anna-Lisa
Paul ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์พืชสวนที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา
และเป็นผู้เขียนคนแรกในรายงาน กล่าว ทุกอย่างงอก ฉันบอกไม่ได้เลยว่าทึ่งแค่ไหน
พืชทุกต้น ไม่ว่าจะอยู่ในตัวอย่างจากดวงจันทร์ หรือในชุดควบคุม
ดูเหมือนกันหมดจนกระทั่งวันที่หก
อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่หก ก็ชัดเจนว่าพืชไม่ได้เจริญงอกงามเหมือนกับพืชกลุ่มควบคุมที่ปลูกในดินภูเขาไฟ
และพืชก็เจริญแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าตัวอย่างที่ใช้ปลูกเป็นอะไร
พืชจะเจริญช้ากว่าและมีรากสั้นๆ นอกจากนี้ บางส่วนก็มีใบเหลือง(stunted
leaves)
และสังเกตเห็นรงควัตถุสีแดง เธลเครสที่ปลูกในรีโกไลธ์เกือบทั้งหมดมีลักษณะแกร็น
Anna-Lisa Paul พยายามใช้ปิเปตให้ความชุ่มชื้นกับดินดวงจันทร์
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าดินผลักน้ำ(hydrophobic) ทำให้น้ำเกาะเป็นหยดบนพื้นผิว จึงต้องคนดินกับน้ำ
เพื่อทำให้สภาพการผลักน้ำ และให้ดินชุ่มชื้นโดยทั่วถึง
เมื่อดินชุ่มแล้วก็จะใช้การเคลื่อนที่ของของเหลวในท่อขนาดเล็กจิ๋ว(capillary
action) เพื่อให้น้ำเพื่อปลูกพืชต่อไป
หลังจากผ่านไป 20 วันก่อนที่เธลเครสจะเริ่มออกดอก ทีมก็ตัดมัน
แล้วบด และศึกษาอาร์เอ็นเอ ในระบบทางชีววิทยา มีการถอดรหัสจีนส์ในหลายขั้นตอน
อย่างแรก จีนส์หรือดีเอ็นเอ จะถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอ จากนั้น
อาร์เอ็นเอก็จะถูกแปลออกมาเป็นลำดับของโปรตีน
โปรตีนเหล่านี้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางชีววิทยามากมายในสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่
การลำดับอาร์เอ็นเอเผยให้เห็นรูปแบบของจีนส์ที่แสดงออก
ซึ่งแสดงว่าพืชอยู่ในสภาพเครียด
และปฏิสัมพันธ์ในแบบที่นักวิจัยเคยเห็นเธลเครสเจริญในสภาพแวดล้อมที่ทารุณอื่นๆ
เช่น เมื่อดินมีเกลือหรือโลหะหนักมากเกินไป
นอกจากนี้
เธลเครสยังแสดงออกแตกต่างไปขึ้นอยู่กับว่าตัวอย่างที่ใช้
ซึ่งแต่ละตัวอย่างเก็บจากพื้นที่ที่ต่างกันบนดวงจันทร์
เธลเครสที่ปลูกในตัวอย่างจากอพอลโล 11 ไม่ได้เจริญดีเหมือนกับอีกสองชุด
กระทั่งมีหลุมหนึ่งที่ตายในที่สุด แต่อย่างไรซะ เธลเครสก็ยังโตได้
นักวิจัยคิดว่ายิ่งดินดวงจันทร์ต้องอาบรังสีในอวกาศและลมสุริยะบนดวงจันทร์นานแค่ไหน
พืชก็ยิ่งโตไม่ดีขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างของอพอลโล 11 ซึ่งเก็บจากพื้นผิวของ Sea of
Transquility ซึ่งมีความเก่าแก่กว่าหลายพันล้านปี
พืชก็ยิ่งเจริญไม่ดีที่สุด
รีโกไลธ์ดวงจันทร์นั้นเต็มไปด้วยชิ้นส่วนแก้วขนาดจิ๋วจากการชนของอุกกาบาตจิ๋ว(micrometeorite)
ที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกพื้นที่ลงจอดของอพอลโล
และยังเปื้อนบนชุดอวกาศของนักบินที่ออกไปย่ำดวงจันทร์ด้วย
ต้น Arabidopsis
หกวันหลังจากที่เพาะเมล็ด
สี่หลุมแรกทางซ้ายเป็นต้นที่เจริญในดินดวงจันทร์จำลอง JSC-1A อีกสามหลุมทางขวาเป็นต้นที่โตในดินดวงจันทร์ที่รวบรวมในปฏิบัติการอพอลโล
11, 12 และ 17
งานวิจัยนี้จึงเปิดประตูบานใหม่ไม่เพียงแต่สู่อนาคตที่วันหนึ่งจะปลูกพืชในที่อาศัยบนดวงจันทร์
แต่ยังมีคำถามเพิ่มเติมอีกมากมายตามมา
ความเข้าใจว่าจีนส์ในพืชอันใดที่ต้องปรับเพื่อให้เจริญในรีโกไลธ์จะช่วยเราให้เข้าใจธรรมชาติที่เคร่งเครียดของดินดวงจันทร์ได้หรือไม่?
วัสดุสารจากพื้นที่ต่างกันบนดวงจันทร์จะเหมาะแก่การปลูกพืชมากกว่าพื้นที่อื่นจริงหรือไม่?
แล้วการศึกษารีโกไลธ์ดวงจันทร์ช่วยเราให้เข้าใจเกี่ยวกับรีโกไลธ์ดาวอังคารได้หรือไม่
จะอาจจะช่วยปลูกพืชในวัสดุสารเหล่านั้นได้ดีหรือ
คำถามทั้งหมดเหล่านี้ที่ทีมหวังจะศึกษาต่อไป เพื่อที่จะสนับสนุนนักบินอวกาศในอนาคตที่จะเดินทางไปดวงจันทร์
ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีพืชพันธุ์อยู่รอบๆ เรา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเดินทางไปยังเป้าหมายใหม่ๆ ในอวกาศ
แต่พวกมันยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญและช่วยในการสำรวจของมนุษยชาติในอนาคต Sharmila
Bhattacharya นักวิทยาศาสตร์โครงการ
ที่แผนกวิทยาศาสตร์ทางชีววิทยาและกายภาพ(BPS) ของนาซา กล่าว
พืชพันธุ์เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเป็นนักสำรวจได้
ความจริงที่ว่าไม่ว่าตรงไหนพืชก็โตหมายความว่าเรามีจุดเริ่มต้นที่ดี
และขณะนี้คำถามก็คือเราจะปรับแต่งให้เหมาะสมอย่างไร
งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ANGSA(Apollo
Next Generation Sample Analysis) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะศึกษาตัวอย่างที่อพอลโลนำกลับมาโลก
เพื่อเตรียมให้กับปฏิบัติการอาร์ทีมิสที่จะไปขั้วใต้ดวงจันทร์
แหล่งข่าว scitechdaily.com
: for the first time ever, scientists grow plants in lunar soil
phys.org : scientists
grow plants in lunar dirt, next stop moon
sciencealert.com : for
the first time, scientists have grown plants in Moon dirt. It didn’t go
great
No comments:
Post a Comment