ภาพจากศิลปินแสดงระบบดาวคู่ที่เกิดไมโครโนวาขึ้น ดิสก์สีฟ้าหมุนวนไปรอบๆ ดาวแคระขาวที่ใจกลางภาพ ประกอบขึ้นด้วยวัสดุสารซึ่งเป็นไฮโดรเจนเกือบทั้งหมดที่ขโมยออกจากดาวข้างเคียงของมัน ดาวแคระขาวใช้สนามแม่เหล็กที่รุนแรงของมันไขดึงไฮโดรเจนเข้าสู่ขั้วแม่เหล็กจากใจกลางดิสก์ เมื่อวัสดุสารตกลงบนพื้นผิวที่ร้อนจัดของดาวแคระขาวจะเกิดการระเบิดไมโครโนวา
ทีมนักดาราศาสตร์ด้วยความช่วยเหลือจากกล้องโทรทรรศน์ใหญ่มาก(VLT) ได้สำรวจพบการระเบิดของดาวชนิดใหม่ที่เรียกว่า ไมโครโนวา(micronova) การปะทุเหล่านั้นเกิดขึ้นบนพื้นผิวของดาวชนิดที่จำเพาะ และแต่ละครั้งสามารถเผาวัสดุสารดาวเทียบเท่ากับ 3.5 พันล้านเท่าปิรามิดใหญ่แห่งกีซา(Great Pyramid of Giza) ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ไมโครโนวาเป็นเหตุการณ์การระเบิดที่ทรงพลังสุดขั้ว
แต่ก็มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับระดับในทางดาราศาสตร์
พวกมันมีความรุนแรงน้อยกว่าการระเบิดดาวที่เรียกว่า โนวา(novae) ซึ่งนักดาราศาสตร์รู้จักมาหลายศตวรรษแล้ว
การระเบิดทั้งสองชนิดเกิดขึ้นบนดาวแคระขาว(white dwarf) ซึ่งเป็นดาวที่ตายแล้วที่มีมวลพอๆ กับดวงอาทิตย์
แต่มีขนาดเล็กพอๆ กับโลก
ดาวแคระขาวในระบบดาวคู่สามารถดึงมวลสาร(ซึ่งเป็นไฮโดรเจนเกือบทั้งหมด)
จากดาวข้างเคียงของมันได้ถ้าอยู่ใกล้กันมากพอ เมื่อก๊าซนี้ตกลงบนพื้นผิวที่ร้อนจัดของดาวแคระขาว
มันจะเหนี่ยวนำให้อะตอมไฮโดรเจนหลอมกลายเป็นฮีเลียมอย่างรุนแรง ในโนวาการระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นทั่วพื้นผิวดาว
Nathalie Degenaar ผู้เขียนร่วม
นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ส อธิบาย
การระเบิดนิวเคลียร์เหล่านี้ทำให้ทั่วพื้นผิวดาวแคระขาวสว่างเจิดจ้านานหลายสัปดาห์
ไมโครโนวาก็เป็นการระเบิดคล้ายๆ
กันแต่มีขนาดเล็กกว่าและจบเร็วกว่า ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
โดยจะเกิดขึ้นบนดาวแคระขาวที่มีสนามแม่เหล็กรุนแรง
ซึ่งไขวัสดุสารเข้าสู่ขั้วแม่เหล็กของดาว Paul Groot นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรัดบาวด์
เนเธอร์แลนด์ส ผู้เขียนร่วม กล่าวว่า
เป็นครั้งแรกที่ขณะนี้เราได้เห็นการหลอมไฮโดรเจนก็เกิดขึ้นในระดับเฉพาะถิ่นด้วย
เชื้อเพลิงไฮโดรเจนอาจถูกกักไว้ที่ฐานของขั้วแม่เหล็กบนดาวแคระขาวบางดวง
ดังนั้นการหลอมฟิวชั่นจึงเกิดขึ้นเฉพาะที่ขั้วแม่เหล็กเหล่านี้
นี่ชักนำให้เกิดระเบิดฟิวชั่นลูกย่อมๆ
ขึ้นซึ่งจะมีความแรงประมาณหนึ่งในหนึ่งล้านของการระเบิดโนวาปกติ จึงมีชื่อว่า
ไมโครโนวา Groot กล่าวต่อ
แม้ว่าไมโคร อาจจะบอกว่าเหตุการณ์เหล่านี้มีขนาดเล็ก แต่ก็อย่าเข้าใจผิด
แค่การปะทุไมโครโนวาเหตุการณ์เดียว ก็เผาไหม้มวลขนาด 20 ล้านล้านล้านกิโลกรัม หรือประมาณ 3.5 พันล้านเท่าปิรามิดใหญ่แห่งกีซา
ไมโครโนวาเหล่านี้ท้าทายความเข้าใจของนักดาราศาสตร์ที่มีต่อการระเบิดจากดาว
และอาจจะพบได้มากกว่าที่เคยคิดไว้ Scaringi อธิบายว่า มันเหมือนจะบอกว่าเอกภพนั้นมีพลวัตมากแค่ไหน
เหตุการณ์เหล่านี้จริงๆ แล้วอาจจะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างทั่วไป
แต่เนื่องจากพวกมันเกิดขึ้นเร็วมากๆ จึงยากที่จะจับได้คาหนังคาเขา
ในตอนแรก
ทีมมองไม่เห็นไมโครโนวาเหล่านี้เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม TESS(Transiting
Exoplanet Survey Satellite) ของนาซา Denegaar
กล่าวว่า
เมื่อตรวจสอบข้อมูลทางดาราศาสตร์ที่รวบรวมได้โดย TESS เราก็พบบางสิ่งที่ไม่ปกติ
เป็นการลุกจ้าสว่างในช่วงตาเห็นที่คงอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
เมื่อสืบสวนต่อไป เราก็พบสัญญาณคล้ายๆ กันอีกมากมาย ทีมสำรวจไมโครโนวา 3 เหตุการณ์ด้วย TESS สองเหตุการณ์มาจากดาวแคระขาวที่พบแล้ว
แต่เหตุการณ์ที่สามต้องการการสำรวจจากเครื่องมือ X-shooter บน VLT เพื่อยืนยันสถานะความเป็นดาวแคระขาว
ด้วยความช่วยเหลือจาก VLT เราได้พบว่าการลุกจ้าในช่วงตาเห็นทั้งหมดเหล่านี้ถูกสร้างโดยดาวแคระขาว
Degenaar กล่าว
การสำรวจเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการแปลผลผลสรุปของเรา
และเพื่อการค้นพบไมโครโนวา Scaringi กล่าวเสริม
การค้นพบไมโครโนวาได้เพิ่มเข้าไปในหมวดหมู่ของการระเบิดดาว
ขณะนี้ทีมต้องการจะจับเหตุการณ์เหล่านี้ให้ได้มากขึ้น
ต้องการการสำรวจที่มีขนาดใหญ่และการตรวจสอบติดตามผลที่รวดเร็ว
การตอบสนองอย่างรวดเร็วจากกล้องโทรทรรศน์อย่าง VLT หรือ กล้องโทรทรรศน์เทคโนโลจีใหม่
และชุดเครื่องมือที่มีอยู่
จะช่วยให้เราได้เผยรายละเอียดที่มากขึ้นว่าไมโครโนวาเหล่านี้เป็นอะไร Scaringi
สรุป งานวิจัยเผยแพร่ใน Monthly
Notices of the Royal Astronomical Society
แหล่งข่าว eso.org
: astronomers discover micronovae, a new kind of stellar explosion
space.com : pow!
Scientists spot new “micronova” stellar explosion
No comments:
Post a Comment