ภาพจากศิลปินแสดงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ถูกฉีกยืดออกจนเป็นสปาเกตตี(spaghettified) โดยหลุมดำมวลปานกลางแห่งหนึ่ง
ในส่วนที่อยู่กันอย่างแออัดที่สุดในเอกภพ
หลุมดำอาจจะกำลังฉีกดาวนับพันดวงและใช้ซากที่เหลือเพื่อสั่งสมความใหญ่โตของพวกมัน การค้นพบซึ่งนำโดยหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราของนาซา
น่าจะช่วยตอบคำถามหลักเกี่ยวกับหลุมดำชนิดที่พบได้ยากนี้
ในขณะที่นักดาราศาสตร์เคยได้พบตัวอย่างหลุมดำที่กำลังฉีกดาวออกหลายกรณี
แต่ก็พบหลักฐานการทำลายในโครงสร้างขนาดใหญ่เช่นนั้นได้น้อย การทำลายลักษณะนี้น่าจะช่วยอธิบายว่าหลุมดำขนาดกลางนั้นถูกสร้างขึ้นผ่านการเจริญแบบกู่ไม่กลับจากหลุมดำขนาดเล็กกว่าอย่างมาก
ได้อย่างไร
นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาหลุมดำสองชนิดที่แตกต่างกันในรายละเอียด
แบบที่มีขนาดเล็กเป็นหลุมดำมวลดวงดาว(stellar-mass black holes) ซึ่งโดยปกติมีมวล 5 ถึง 30 เท่ามวลดวงอาทิตย์
และที่อีกด้านของตาชั่งเป็นหลุมดำมวลมหาศาล(supermassive black holes) ซึ่งอาศัยในใจกลางกาแลคซีขนาดใหญ่เกือบทุกแห่ง
โดยมีมวลหลายล้านจนถึงหลายพันล้านเท่าดวงอาทิตย์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ก็ปรากฏหลักฐานหลุมดำชนิดที่อยู่ตรงกลางที่เรียกว่า หลุมดำมวลปานกลาง(intermediate-mass
black holes)
การศึกษาล่าสุดซึ่งทำโดยใช้ข้อมูลกระจุกดาวหนาแน่นในใจกลางกาแลคซีที่แตกต่างกัน
108 แห่งจากกล้องจันทรา
พบสัญญาณรังสีเอกซ์รุนแรงจากกระจุกที่เรียกว่ากระจุกดาวนิวเคลียร์(nuclear
star cluster) 29 แห่งซึ่งเป็นกระจุกที่แออัดอย่างมากที่ใจกลางกาแลคซีขนาดเล็กและขนาดกลางหลายแห่ง
การศึกษาได้ให้หลักฐานว่าหลุมดำขนาดกลางน่าจะก่อตัวขึ้นที่ใด
และพวกมันเจริญเติบโตอย่างไร Vivienne Baldassare จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตท ในพูลแมน วอชิงตัน
ซึ่งนำการศึกษานี้ กล่าวว่า
เมื่อดาวอยู่ใกล้ชิดกันอย่างมากอย่างที่เป็นที่กระจุกดาวที่หนาแน่นสูงสุดขั้วเหล่านั้น
มันก็จะกลายเป็นพื้นที่ฟูมฟักสำหรับหลุมดำมวลปานกลาง
และมันก็ดูเหมือนว่ายิ่งกระจุกมีความหนาแน่นสูงเท่าใด
ก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะมีหลุมดำที่กำลังเจริญอยู่
งานทางทฤษฎีโดยทีมได้บอกว่าถ้าความหนาแน่นของดาวในกระจุกแห่งหนึ่ง(จำนวนดาวที่แออัดอยู่ในพื้นที่จำกัดใดๆ)
นั้นอยู่เหนือระดับวิกฤติ
หลุมดำมวลดวงดาวที่ใจกลางของกระจุกแห่งนี้ก็จะมีการเจริญที่รวดเร็วเมื่อมันดึง,
ฉีกทึ้ง และกลืนดาวจำนวนมากในละแวกใกล้ๆ
ในบรรดากระจุกในการศึกษาใหม่ของจันทรา
กระจุกที่มีความหนาแน่นเหนือระดับวิกฤติมีโอกาสมากเป็นสองเท่าที่จะมีหลุมดำที่เจริญเติบโต
เมื่อเทียบกับกระจุกที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าค่าวิกฤติ
ค่าวิกฤตินี้ขึ้นอยู่กับว่าดาวในกระจุกกำลังเคลื่อนที่เร็วแค่ไหน งานวิจัยนี้จึงเป็นหลักฐานจากการสำรวจครั้งแรกที่สนับสนุนทฤษฎีว่าหลุมดำมวลปานกลางสามารถก่อตัวในกระจุกดาวนิวเคลียร์ได้
นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่น่าตะลึงที่สุดที่เราได้เห็นจากธรรมชาติที่ไม่รู้จักอิ่มของหลุมดำ
เนื่องจากมีดาวหลายพันหรือหลายหมื่นดวงที่อาจถูกกลืนในการเจริญของพวกมัน Nicholas
C. Stone ผู้เขียนร่วมจากมหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเยรูซาเล็ม
กล่าว การเจริญแบบกู่ไม่กลับจะเริ่มช้าลงก็เมื่อดาวที่ป้อนเข้ามาเริ่มขาดแคลน
หนทางอื่นๆ
ที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าจะสร้างหลุมดำขนาดใหญ่ในใจกลางกาแลคซีได้
ยังรวมถึงการยุบตัวของเมฆก๊าซและฝุ่นก้อนมหึมา หรือการยุบตัวของดาวฤกษ์ที่อวบอ้วนมากๆ
เป็นหลุมดำขนาดกลางโดยตรง
แนวคิดทั้งสองนี้ต้องการสภาวะที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าจะมีแค่ในเอกภพยุคต้นเพียงไม่กี่ร้อยล้านปีแรกหลังจากบิ๊กแบงเท่านั้น
แต่กระบวนการที่การศึกษาจันทราล่าสุดได้บอกไว้สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดๆ
ก็ได้ในเอกภพ
ซึ่งบอกว่าหลุมดำมวลปานกลางสามารถก่อตัวขึ้นหลังจากบิ๊กแบงหลายพันล้านปี
กระทั่งถึงปัจจุบันนี้
การเจริญของหลุมดำในกระจุกดาวที่หนาแน่นสูงยังอาจจะอธิบายการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง(gravitational
waves) จากหลุมดำบางส่วนที่มีมวลระหว่าง
50 ถึง 100
เท่ามวลดวงอาทิตย์โดย LIGO(Laser
Interferometer Gravitational-wave Observatory) แบบจำลองการยุบตัวดาวมวลสูงเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ไม่สามารถทำนายการมีอยู่ของหลุมดำขนาดดังกล่าวนั้นได้
งานของเราไม่ได้พิสูจน์ว่าการเจริญของหลุมดำแบบกู่ไม่กลับเกิดขึ้นในกระจุกดาว
Adi Foord ผู้เขียนร่วมจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ในพาโล อัลโต คาลิฟอร์เนีย กล่าว
แต่ด้วยการสำรวจรังสีเอกซ์เพิ่มเติมและการทำแบบจำลองทางทฤษฎีเพิ่มขึ้นมา
เราก็น่าจะมีหลักฐานสนับสนุนที่แข็งแรงมากขึ้น รายงานอธิบายผลสรุปเผยแพร่ใน Astrophysical
Journal ฉบับวันที่ 20
เมษายน
แหล่งข่าว phys.org
: black holes raze thousands of stars to fuel growth
phys.org : astronomers
identify likely location of medium-sized black holes
No comments:
Post a Comment