ภาพจากศิลปินแสดง Proxima d ดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่พบรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด Proxima Centauri ด้วยมวลขั้นต่ำหนึ่งในสี่ของโลก มันน่าจะเป็นหิน
ทีมนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ใหญ่มาก(VLT)
ของหอสังเกตการณ์ทางใต้ของยุโรป(ESO)
ในชิลี
ได้พบหลักฐานดาวเคราะห์อีกดวงที่โคจรรอบพรอกซิมา เซนทอไร(Proxima Centauri)
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรามากที่สุด
ว่าที่ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดวงที่สามที่พบในระบบแห่งนี้
และเป็นดวงที่เบาที่สุดเท่าที่เคยพบรอบดาวฤกษ์นี้ ด้วยมวลเพียงหนึ่งในสี่ของโลก
ดาวเคราะห์นี้จึงเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่เบาที่สุดเท่าที่เคยพบด้วย
Joao Faria นักวิจัยที่สถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์อวกาศ(IA)
มหาวิทยาลัยปอร์ตู ในปอร์ตุเกส
และผู้เขียนนำการศึกษาซึ่งเผยแพร่ออนไลน์วันที่ 10 กุมภาพันธ์ใน Astronomy &
Astrophysics กล่าวว่า
การค้นพบนี้แสดงว่าดาวเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด ดูเหมือนจะแออัดไปด้วยพิภพใหม่ๆ
ที่น่าสนใจ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำการศึกษาและค้นพบต่อๆ ไปในอนาคต พรอกซิมา
เซนทอไร เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด อยู่ห่างออกไปเพียง 4.2
ปีแสงเท่านั้น
ดาวเคราะห์ที่เพิ่งพบใหม่ มีชื่อว่า Proxima
d โคจรรอบ พรอกซิมา เซนทอไร
ที่ระยะทางประมาณ 4 ล้านกิโลเมตร
ไม่ถึงหนึ่งในสิบระยะทางโคจรของดาวพุธรอบดวงอาทิตย์
มันโคจรอยู่ระหว่างดาวฤกษ์กับเขตเอื้ออาศัยได้(habitable zone) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งๆ
ที่จะมีน้ำของเหลวอยู่บนพื้นผิวดาวเคราะห์ได้ และใช้เวลาเพียง 5 วันเพื่อโคจรครบรอบดาวฤกษ์ พรอกซิมา เซนทอไร
เป็นที่ทราบกันแล้วว่ารอบดาวฤกษ์นี้
มีดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ Proxima
b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลใกล้เคียงกับโลก
และโคจรรอบดาวฤกษ์ทุกๆ 11 วัน
ในเขตเอื้ออาศัยได้ และว่าที่ดาวเคราะห์ Proxima c มวลอย่างน้อย 6 เท่าโลกซึ่งอยู่ในวงโคจร 5 ปีรอบดาวฤกษ์แม่
Proxima b ถูกพบในปี 2016 โดยใช้เครื่องมือ HARPS บนกล้องโทรทรรศน์ขนาด 3.6 เมตรของ ESO การค้นพบได้รับการยืนยันในปี 2020 เมื่อนักวิทยาศาสตร์สำรวจระบบพรอกซิมา เซน ด้วย ESPRESSO
เครื่องมือใหม่บน VLT ซึ่งมีความแม่นยำสูงกว่า และการสำรวจติดตามผลจาก VLT
เมื่อเร็วๆ
นี้ที่นักดาราศาสตร์ได้พบร่องรอยแรกแสดงสัญญาณวัตถุที่มีวงโคจร 5 วัน เนื่องจากสัญญาณนี้อ่อนมากๆ
ทีมจึงต้องทำการสำรวจติดตามผลด้วย ESPRESSO เพื่อยืนยันว่าเกิดขึ้นเนื่องจากดาวเคราะห์จริงๆ
และไม่ได้เป็นผลจากความแปรผันในตัวดาวฤกษ์เอง
หลังจากทำการสำรวจใหม่ๆ
เราก็สามารถยืนยันว่าสัญญาณนี้เป็นว่าที่ดาวเคราะห์ดวงใหม่ Faria กล่าว
ผมตื่นเต้นจากความท้าทายที่ตรวจจับสัญญาณขนาดเล็กอย่างนี้ได้ และเมื่อทำได้
ก็ได้พบดาวเคราะห์นอกระบบอีกดวงที่อยู่ใกล้โลกอย่างมาก Faria และเพื่อนร่วมงานบอกว่า Proxima d น่าจะร้อนเกินกว่าจะมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวได้
ถ้าดาวเคราะห์มีจริง
ด้วยมวลเพียงหนึ่งในสี่มวลโลก Proxima
d เป็นดาวเคราะห์ที่เบาที่สุดเท่าที่เคยตรวจสอบโดยใช้เทคนิคความเร็วแนวสายตา(radial
velocity) แซงดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งที่เพิ่งพบในระบบดาวเคราะห์
L98-59 เทคนิคนี้เก็บเกี่ยวการส่าย(wobble)
เล็กจิ๋วในการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ในวงโคจร
ผลจากแรงโน้มถ่วงของ Proxima d นั้นน้อยมากๆ
จนมันเป็นสาเหตุให้ พรอกซิมา เซนทอไร ขยับขึ้นหน้าและถอยหลังราว 40 เซนติเมตรต่อวินาที(1.44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อเทียบกับ 51
Pegasi b ดาวเคราะห์ชนิดพฤหัสร้อน(hot
Jupiter) ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ครบรอบทุก
4 วัน
ทำให้ดาวฤกษ์แม่เกิดการส่ายได้ถึง 70 เมตรต่อวินาที
ความสำเร็จนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด Pedro
Figueira นักวิทยาศาสตร์เครื่องมือ
ESPRESSO ที่ ESO
ในชิลี กล่าว
มันได้แสดงว่าเทคนิคความเร็วแนวสายตานั้นมีศักยภาพในการเผยตัวตนประชากรดาวเคราะห์เบาอย่างดาวเคราะห์ของเราเอง
ซึ่งคาดกันว่าจะพบได้มากที่สุดในกาแลคซีทางช้างเผือก
และอาจจะมีชีวิตแบบที่เรารู้จักอาศัยอยู่ Faria กล่าวเสริมว่า
ผลสรุปนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ESPRESSO นั้นมีความสามารถจะสร้างความประหลาดใจให้แก่เราว่ามันจะพบอะไรในอนาคต
ESPRESSO ใช้แสงที่มาจากกล้องโทรทรรศน์หน่วยทั้งสี่ของ VLT
ซึ่งแต่ละตัวมีขนาด 8.2 เมตร เพื่อแยกออกเป็นสเปคตรัม
ผลที่ได้จะมีความละเอียดที่สูงมาก
ซึ่งนอกเหนือจากจะตรวจจับการขยับในเส้นสเปคตรัมเมื่อดาวฤกษ์ส่ายเข้าและออกจากโลก
สเปคโตรกราฟยังตรวจจับเส้นเปล่งคลื่นซึ่งบ่งชี้ถึงกิจกรรมของดาวฤกษ์
ในช่วงเวลาที่มีสัญญาณจากว่าที่ดาวเคราะห์ ก็ไม่มีข้อบ่งชี้ถึงกิจกรรมใดๆ บนดาวฤกษ์นี้
เนื่องจากมันเป็นวัตถุที่สำคัญ(ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุด)
Guilem Anglada-Escude จากสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศ
สเปน ซึ่งนำทีมค้นพบ Proxima b แต่ผมอยากให้ดูว่าการมีดาวเคราะห์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่อัศจรรย์
แต่การค้นพบที่สวยงาม
เนื่องจากเราไม่ทราบมุมที่มันกำลังโคจรรอบพรอกซิมา เซน ทีมของ Faria
จึงได้แค่ประเมิน “มวลขั้นต่ำสุด”
ของดาวเคราะห์ ที่อย่างน้อยหนึ่งในสี่มวลโลกหรือราวสองเท่ามวลดาวอังคาร
ในขณะที่พรอกซิมา เซน ก็ไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์
มันเป็นดาวฤกษ์แคระแดงสลัวที่สว่างเพียง 0.2% ของดวงอาทิตย์
ดังนั้นดาวเคราะห์ใหม่จึงไม่ได้ร้อนเกรียมเหมือนกับดาวพุธ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะสันนิษฐานว่ามันเป็นก้อนหินสูญญากาศ
ซึ่งไม่มีชั้นบรรยากาศเพื่อเก็บกักความร้อน มันก็น่าจะมีอุณหภูมิสมดุลที่ 365
เคลวิน หรือ 92 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงกับจุดเดือดของน้ำ
แล้วสำหรับ Proxima c ล่ะ
ซึ่งยังเป็นว่าที่ดาวเคราะห์แม้ว่าจะถูกพบเป็นดวงที่สอง
ก็เพราะมันอยู่ห่างจากพรอกซิมา เซน ออกมา และใช้เวลา 5 ปีกว่าเพื่อโคจรครบรอบ ข้อมูลจาก ESPRESSO
ที่รวบรวมได้ครอบคลุมเพียงครึ่งทางโคจร
ดังนั้นจึงไม่สามารถเห็นสัญญาณพิภพห่างไกลออกมานี้ได้ แต่ ESPRESSO ก็ยังคงสำรวจดาวฤกษ์เพื่อนบ้านใกล้ที่สุดของเราต่อไป
แหล่งข่าว eso.org
: new planet detected around star closest to the Sun
space.com : possible 3rd
planet spotted around Proxima Centauri, the Sun’s nearest neighbor star
skyandtelescope.com : new
planet discovered around Proxima Centauri, star nearest the Sun
No comments:
Post a Comment