นักดาราศาสตร์ได้พบวัตถุกระพริบแสงปริศนาในกาแลคซีทางช้างเผือกของเรา
ซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาทางโลกสามครั้งต่อชั่วโมง
วัตถุประหลาดที่ทรงพลังดวงนี้ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 4000 ปีแสงจากดวงอาทิตย์ ไม่เหมือนกับโครงสร้างใดๆ
ที่เคยสำรวจพบมา
วัตถุปริศนาซึ่งมีชื่อสั้นๆ ว่า GLEAM
ปรากฏขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วนในการสำรวจทางช้างเผือกในช่วงคลื่นวิทยุเมื่อเร็วๆ
นี้ นักวิจัยบอกว่า GLEAM สว่างขึ้นรวดเร็วในช่วงเวลาราว
60 วินาที
และกลายเป็นหนึ่งในวัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าเป็นเวลาสั้นๆ
จากนั้นก็หายไปสู่ความมืดอีกครั้งในทันที และในอีก 20 นาทีต่อมา มันก็ปรากฏขึ้นอีก
สว่างเพิ่มขึ้นจนถึงความสว่างสูงสุดและมืดลงในอีก 1 นาทีต่อมา
วัตถุลักษณะเช่นนี้
ซึ่งปรากฏตัวและหายตัวไปต่อหน้าต่อตา(กล้องโทรทรรศน์) รู้จักในชื่อว่า transient
โดยปกติ
วัตถุชั่วคราวเหล่านี้อาจจะเป็นดาวที่ตายแล้ว, ซุปเปอร์โนวา
หรือเป็นซากดาวประหลาดที่หมุนรอบตัวเร็วมาก ที่เรียกว่า ดาวนิวตรอน อย่างไรก็ตาม
ไม่มีคำอธิบายมาตรฐานข้างต้นอันใดเลยที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของ GLEAM เป็นไปได้ว่า GLEAM เป็นหลักฐานของวัตถุฟากฟ้าชนิดใหม่เอี่ยมที่ไม่เคยแม้แต่มีคำทำนายถึงมาก่อนจนถึงบัดนี้
วัตถุนี้ปรากฏขึ้นมาแล้วก็หายไปในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในระหว่างการสำรวจของเรา
ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงโดยสิ้นเชิง Natasha Hurley-Walker ผู้เขียนนำการศึกษา
นักดาราศาสตร์วิทยุที่มหาวิทยาลัยเคอร์ติน ในเบนท์ลีย์ ออสเตรเลีย
กล่าวในแถลงการณ์ มันโผล่มาหลอกนักดาราศาสตร์เลย
เนื่องจากไม่มีใครคิดว่าจะมีวัตถุอย่างนี้อยู่
ทรานเซียนส์มักจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่โผล่มาและหายไปอย่างช้าๆ(slow
transients) เป็นเวลาหลายวัน
จากนั้นก็หายไปในเวลาไม่กี่เดือน นี่รวมถึงซุปเปอร์โนวาซึ่งเป็นการระเบิดที่สว่างจ้าเมื่อดาวที่ตายลงได้สาดชั้นบรรยากาศส่วนนอกออกมาในการระเบิดที่รุนแรง
จากนั้นก็ค่อยๆ มืดลงเมื่อซากที่เหลือมีอุณหภูมิเย็นลงเรื่อยๆ และยังมีกลุ่ม fast
transients ซึ่งโผล่มาและหายไปในเวลาเพียงเสี้ยววินาที
ซึ่งรวมถึงวัตถุอย่างพัลซาร์(pulsars) ซึ่งเป็นดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเร็วมากในขณะที่เปล่งคลื่นวิทยุสว่างออกมาซึ่งสร้างโดยสนามแม่เหล็กของดาว
ผู้เขียนในการศึกษาใหม่กำลังมองหาเหตุการณ์ชั่วคราวลักษณะเหล่านั้นโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเครือข่ายพื้นที่กว้างเมอร์ชิสัน(MWA)
ในพื้นที่ห่างไกลของออสเตรเลีย เมื่อพวกเขาได้พบ
GLEAM การเปิด-ปิดเกิดขึ้นเร็วกว่าเกินกว่าจะเป็นซุปเปอร์โนวา
และช้าเกินกว่าจะเป็นพัลซาร์ รูปแบบการสว่างขึ้นนาน 1 นาทีของ GLEAM ได้ท้าทายคำอธิบายทั้งปวง
การวิเคราะห์วัตถุนี้ได้แสดงว่ามันสว่างอย่างไม่น่าเชื่อแต่ก็มีความเล็กกว่าดวงอาทิตย์
การเปล่งคลื่นวิทยุของมันยังมีโพลาไรซ์(polarized; คลื่นแสงสั่นในระนาบเดียว) อย่างรุนแรง
ซึ่งบอกว่าถูกสร้างขึ้นโดยสนามแม่เหล็กที่ทรงพลังอย่างสุดขั้ว
คุณลักษณะเหล่านี้สอดคล้องกับวัตถุทางทฤษฎีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า
ดาวแม่เหล็กคาบยาวมาก(ultra-long period magnetar) ซึ่งเป็นดาวนิวตรอนที่มีความเป็นแม่เหล็กสูง
ซึ่งหมุนรอบตัวช้ามากๆ ในขณะที่มีการทำนายการมีอยู่
แต่ก็ไม่เคยสำรวจพบวัตถุชนิดที่หายากนี้ได้มาก่อน Hurley-Walker กล่าวว่า ไม่มีใครคิดว่าจะได้พบวัตถุแบบนี้โดยตรง
เนื่องจากเราไม่คาดคิดว่าพวกมันจะสว่างมาก บางที การเปลี่ยนพลังงานแม่เหล็กให้กลายเป็นคลื่นวิทยุของมัน
เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เราเคยได้เห็นมา
แต่ก็ยังอาจมีคำอธิบายอื่นสำหรับ GLEAM
อยู่เช่นกัน นักวิจัยกล่าวเสริม
มันอาจจะเป็นดาวแคระขาว(white dwarf; เถ้าถ่านของดาวซึ่งมีมวลไม่สูงพอที่จะยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอน)
ชนิดที่พบได้ยาก ซึ่งนานมากๆ
จึงจะเปล่งคลื่นวิทยุออกมาจากการดึงวัสดุสารจากดาวข้างเคียงในระบบคู่
ดาวลักษณะนี้อาจจะสร้างจังหวะอย่างที่พบใน GLEAM ได้ ถ้ามันหมุนรอบตัวด้วยความเร็วที่เหมาะสม
ทีมกล่าว
ยังคงต้องการการศึกษาในช่วงความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ
เพื่อไขปริศนานี้ ขณะนี้ที่เมื่อตรวจจับ GLEAM แล้ว นักวิจัยก็ได้ขุดการสำรวจในคลังจาก MWA
เพื่อดูว่ายังมีวัตถุคล้ายๆ
กันปรากฏอีกหรือไม่ การศึกษาเผยแพร่ในวารสาร Nature วันที่ 26 มกราคม
แหล่งข่าว space.com
: astronomers detect powerful cosmic object unlike anything they’ve seen
before
sciencedaily.com :
mysterious object unlike anything astronomers have seen before
No comments:
Post a Comment