ภาพจากศิลปินแสดงกระแสไหลออก(outflow) จากหลุมดำมวลมหาศาลที่ใจกลางกาแลคซีแห่งหนึ่ง นักดาราศาสตร์สามารถค้นหาหลุมดำยักษ์เหล่านี้ได้แม้แต่ในกาแลคซีแคระ โดยการมองหาการเปล่งคลื่นที่เกี่ยวข้องกับกระแสไหลออก
นักดาราศาสตร์ได้พบหลุมดำมวลมหาศาลที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ใจกลางของกาแลคซีแคระ
Markarian 462 มันมีมวลราว 2
แสนเท่ามวลดวงอาทิตย์
แน่นอนว่าอาจดูเยอะในสายตามนุษย์แต่กลับน้อยมากๆ
เมื่อเรานึกถึงหลุมดำมวลมหาศาลที่มักมีมวลระดับหลายล้านเท่า
ไม่ต้องเอ่ยถึงหลายพันล้านเท่ามวลดวงอาทิตย์
การค้นพบนี้นำเสนอในการประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันครั้งที่ 239 แบบเสมือนจริงที่ซอลต์เลคซิตี้
ความจริงที่ว่ามันมีขนาดเล็กมากน่าจะเปิดช่องทางสู่หลุมดำชนิดเดียวกันแต่เจริญจนใหญ่โตได้อย่างไร
และในบางกรณีก็เจริญอย่างรวดเร็วมาก หลุมดำมวลมหาศาล(supermassive black
holes) ที่มีมวลระดับพันล้านเท่าดวงอาทิตย์นั้นมีอยู่แล้วตั้งแต่ช่วงเวลาเพียง
1 พันล้านปีหลังจากบิ๊กแบง
และเราก็ไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
การสำรวจที่นำไปสู่การค้นพบใหม่นี้อาจจะขยายขอบเขตความเข้าใจนี้ได้
Jack Parker จากวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ ในนิวแฮมเชียร์
ซึ่งนำการศึกษา กล่าวในแถลงการณ์ว่า เราไม่สามารถสรุปได้อย่างแข็งขันจากเพียงตัวอย่างเดียว
แต่ผลสรุปนี้น่าจะกระตุ้นให้เกิดการสำรวจหาหลุมดำที่ซ่อนอยู่ในกาแลคซีแคระได้มากขึ้น
ทีมนักวิจัยมุ่งเป้าไปที่กาแลคซีแคระ 8
แห่งชุดหนึ่งซึ่งนักดาราศาสตร์สงสัยว่าน่าจะมีหลุมดำมวลมหาศาลที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในใจกลาง
ซึ่งมีพื้นฐานจากการสำรวจที่ทำในช่วงตาเห็นโดย Sloan Digital Sky Survey แต่ร่องรอยหลุมดำที่กำลังเจริญเติบโตจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงอื่นที่ไม่ใช่ช่วงตาเห็น
เหตุผลก็คือ หลุมดำเป็นตัวกินดุ เมื่อพวกมันกลืนกินมวลสารอย่างกระตือรือร้น
จะปล่อยอนุภาคและแสงพลังงานสูงออกมา และสามารถตรวจจับกระบวนการนี้ได้ด้วยเครื่องตรวจจับในช่วงรังสีเอกซ์
กล้องจันทราของนาซาได้รับมอบหมายภารกิจนี้
ในบรรดาแคระ 8 แห่งที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นหลุมดำที่กำลังเจริญเติบโตอยู่
พบหลักฐานที่แน่ชัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ Markarian 462(Mrk 462) และมันก็เป็นหลุมดำที่แปลกประหลาดด้วย หลุมดำใน Mrk
462 นั้นเป็นพวกที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา(หลุมดำ)
ปีศาจหรือพวกมวลมหาศาล Parker อธิบาย
หลุมดำอย่างนี้พบได้ยากมาก
กาแลคซีต้นสังกัด Mrk 462 มีดาวฤกษ์เพียงไม่กี่ร้อยล้านดวง
ในขณะที่ดูเหมือนจะมากแต่เมื่อเทียบกับกาแลคซีทางช้างเผือกซึ่งมีดาว
หลายแสนล้านดวง ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวจำแนกว่า Mrk 462 เป็นกาแลคซีแคระ ในกาแลคซีขนาดใหญ่กว่า
นักดาราศาสตร์อาจจะสามารถค้นหาหลุมดำได้โดยการสำรวจดาวที่เคลื่อนที่เร็วมากไปรอบๆ
ใจกลางกาแลคซี(สัญญาณของอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ) แต่กลับทำไม่ได้ในกาแลคซีขนาดเล็กเช่นนี้
ทีมจึงใช้จันทราตรวจสอบการเรืองรังสีเอกซ์จากก๊าซที่ถูกดึงเข้าสู่หลุมดำแทน
นี่จึงเป็นครั้งแรกที่สำรวจพบหลุมดำที่ถูกปกปิดโดยก๊าซและฝุ่นในกาแลคซีแคระ
Ryan Hickox ผู้นำทีมร่วม
จากดาร์ทเมาธ์ เช่นกัน กล่าวว่า เนื่องจากหลุมดำที่ฝังตัวอยู่นั้นตรวจจับได้ยากกว่าที่เผยตัวออกมา
การค้นพบตัวอย่างนี้จึงอาจจะหมายความว่ายังมีแคระอีกมากมายข้างนอกนั้นที่มีหลุมดำคล้ายๆ
กันอยู่
มีลำดับเหตุการณ์ทางทฤษฎีสองสามอย่างที่น่าจะอธิบายการก่อตัวและการเจริญที่รวดเร็วของปีศาจตัวเล็กเหล่านี้
โดยเมล็ดพันธุ์หลุมดำมวลมหาศาลเหล่านี้เกิดขึ้นจากดาวฤกษ์รุ่นแรก(Population
III stars) ซึ่งมีมวลสูงมากๆ
เมื่อพวกมันจบชีวิต ก็น่าจะทิ้งหลุมดำขนาดใหญ่
ที่ต่อมาจะควบรวมกับวัตถุมวลใกล้เคียงกัน เจริญกลายเป็นมวลมหาศาล
ความเป็นไปได้อีกทางก็คือ การยุบตัวลงโดยตรงของกลุ่มก๊าซขนาดมหึมา ก่อตัวหลุมดำขึ้นในทันทีจากการวุ่นวายภายหลังบิ๊กแบง หลุมดำบรรพกาล(primordial black holes) เหล่านี้น่าจะมีจำนวนมากและมีมวลสูงพอที่จะนำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มมวลมหาศาลได้(และยังอาจอธิบายที่มาของสสารมืดได้)
กล้องเวบบ์จะทดสอบลำดับเหตุการณ์ทั้งสองแบบได้
ในการประชุมเดียวกัน ทีมที่นำโดย Molina และ Amy Reine จากมหาวิทยาลัยมอนทานาสเตท
ได้นำเสนอหลักฐานการมีอยู่ของหลุมดำมวลมหาศาลในแคระ 81 แห่งที่กำลังก่อตัวดาว
การศึกษาก่อนหน้านี้พลาดหลุมดำเหล่านี้ไปเนื่องจากการเปล่งคลื่นช่วงตาเห็นที่กว้างของหลุมดำถูกการเรืองสว่างกว่าจากพื้นที่ก่อตัวดาวกลบไว้
เพื่อมองข้ามแสงจากดาวที่เพิ่งก่อตัวใหม่
นักดาราศาสตร์ได้มองหาเส้นเปล่งคลื่นสีแดงจากอะตอมเหล็กที่แตกตัวเป็นไอออนอย่างรุนแรง
ในข้อมูลสเปคตรัมกาแลคซีแคระหลายหมื่นแห่ง เมื่อแสงดาวไม่ได้ทรงพลังมากพอที่จะสร้างการแตกตัวเป็นไอออน(ionization)
อย่างรุนแรงสุดขั้วแบบนี้
แต่รังสีเอกซ์จากก๊าซร้อนที่หลุมดำเป่าออกมา จะสร้างเหล็กไอออนได้
กาแลคซีขนาดใหญ่อย่างทางช้างเผือกมักเป็นผลจากการควบรวม
แต่กาแลคซีแคระยังคงสภาพเดิมมาตั้งแต่ก่อตัวขึ้นเมื่อนานมาแล้ว ดังนั้นถ้าแคระมีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่
นี่ก็จะเป็นหน้าต่างสู่หลุมดำมวลมหาศาลในเอกภพยุคต้นด้วย
ภาพโมเสอิคแสดงกาแลคซีแคระที่เป็นส่วนหนึ่งในตัวอย่างของทีมมอนทานาสเตท
การสำรวจของทีมมอนทานาสเตท
จะเผยให้เห็นเฉพาะหลุมดำที่มีกิจกรรม
ดังนั้นจึงยังไม่ทราบเปอร์เซนต์โดยรวมของแคระที่มีหลุมดำมวลมหาศาล Molina กล่าวว่า สิ่งที่เราพบเป็นเพียงแต่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง
Hickox เองก็อธิบายว่า
สำหรับพื้นที่ขนาดเล็กในกาแลคซีแคระนั้น
ยากที่จะบีบอัดก๊าซจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นหลุมดำโดยตรง ดังนั้น
ถ้าเรายิ่งพบหลุมดำใหญ่ในแคระมากขึ้นเท่าใด
ก็เป็นไปได้มากขึ้นว่าหลุมดำจะเกิดขึ้นจากเมล็ดพันธุ์ ไม่ใช่การยุบตัวโดยตรง
โชคร้ายที่การสำรวจกาแลคซีแคระในเอกภพท้องถิ่นไม่ได้ตอบคำถามทั้งหมดเกี่ยวกับกำเนิดของหลุมดำมวลมหาศาล
แม้ว่าลำดับเหตุการณ์การสร้างหลุมดำมวลมหาศาลดูจะโน้มเอียงไปทางเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็กกว่า
แต่สิ่งที่เราต้องการจะเห็นจริงๆ ก็คือการก่อตัวของพวกมันในเอกภพยุคต้น
ซึ่งสุดท้าย กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์อาจจะบอกได้ในที่สุด
แหล่งข่าว iflscience.com
: not so massive supermassive black hole is among smallest ever found
space.com : “mini” monster
black hole discovered hiding in a dwarf galaxy
skyandtelescope.com :
dwarf galaxies shed light on black hole origins
No comments:
Post a Comment