ภาพจากศิลปินแสดงโลกในบรมยุคอาร์เคียน(Archean Eon)
มีช่วงเวลาหนึ่งในความเป็นมาของโลก
เมื่อราว 2.5 ถึง 4 พันล้านปีก่อน
ดาวเคราะห์ของเราเคยเป็นกระสอบทรายให้กับดาวเคราะห์น้อย ในช่วงเวลาดังกล่าว
โลกปะทะกับหินอวกาศก้อนใหญ่ๆ แทบทั้งสิ้น
เมื่อเทียบกับสภาพที่ค่อนข้างเงียบเหงาในปัจจุบัน
กิจกรรมนี้น่าจะส่งผลพอสมควรกับเคมีในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์ของเรา แต่ระดับและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลต่อระดับออกซิเจน ก็ยากที่จะระบุได้
ขณะนี้
การศึกษาอนุภาคขนาดจิ๋วที่เคยหลอมเหลวในเปลือกโลก
ได้เผยให้เห็นว่าการชนจากดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้เกิดขึ้นถี่กว่าที่เคยคิดกัน
ซึ่งอาจจะชะลอการเติมออกซิเจน(oxygenation) ให้กับชั้นบรรยากาศโลกให้ช้าไปอีก
อนุภาคเหล่านั้นเรียกว่าสเฟียรูลจากการชน(impact spherules) ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งพุ่งเข้าชนโลก
ได้สร้างความร้อนที่แผดเผารุนแรงจนเปลือกโลกหลอมเหลวและแตกเป็นละอองในอากาศ
เมื่อวัสดุสารเหล่านี้ตกกลับ, เย็นตัวและแข็งตัวขึ้น
มันจะก่อตัวเป็นชั้นของสเฟียรูลในเปลือกโลก
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
พบสเฟียรูลเหล่านี้มากขึ้นในการสำรวจและขุดเจาะแกนกลาง ซึ่งหมายความว่า
อัตราการชนของดาวเคราะห์น้อยอาจจะสูงกว่าที่เคยวิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ถึง 10
เท่า นี่น่าจะส่งผลอย่างมากต่อระดับออกซิเจนบนโลกมากกว่าที่แบบจำลองก่อนหน้านี้บอกไว้
Simone Marchi นักธรณีวิทยาดาวเคราะห์จากสถาบันวิจัยเซาธ์เวสต์
กล่าวว่า แบบจำลองการระดมชน
(bombardment) ปัจจุบันประเมินตัวเลขชั้นสเฟียรูลช่วงปลายบรมยุคอาร์เคียน(Archean
Eon) ต่ำกว่าความจริงไปมาก
บอกว่าอัตราการเข้าชนในช่วงเวลานั้นสูงกว่าที่เคยคิดไว้ถึง 10 เท่า
วิกฤติระดับออกซิเจน
และหินจากอวกาศที่เพิ่มเติมเข้ามาทั้งหมดก็ทำให้เคมีที่ส่งผลให้มีการดึงออกซิเจนออกจากชั้นบรรยากาศจำนวนมากมาย
ชั้นบรรยากาศโลกอุดมด้วยออกซิเจนได้อย่างไร, เมื่อใด และเพราะเหตุใดนั้น
มีความสำคัญอย่างลึกซึ้งต่อความเข้าใจความสามารถในการเอื้ออาศัยของดาวเคราะห์
สิ่งมีชีวิตหลายเซลส์(multicellular organism) เกือบทั้งหมดบนโลกไม่สามารถมีชีวิตโดยปราศจากออกซิเจนได้
ถ้าไม่มีออกซิเจน เราเองก็คงอยู่ไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้
ระดับออกซิเจนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายนักในช่วงเวลาที่เราเรียกว่า Great
Oxidation Event กระทั่งมีการอุบัติของแบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงิน(cyanobacteria)
ที่สังเคราะห์แสงเมื่อ 2.4 พันล้านปีก่อน
การวิเคราะห์ใหม่ของทีมเผยให้เห็นว่า การระดมชนจากดาวเคราะห์น้อยน่าจะเป็นหนึ่งในกลไกที่ป้องกันไม่ให้ระดับออกซิเจนสูงขึ้น
เมื่อหินอวกาศชนกับโลกก้อนแล้วก้อนเล่า
ไอระเหยจากการชนน่าจะกำจัดออกซิเจนที่มีจำนวนจำกัดในชั้นบรรยากาศยุคต้นออกไป
Laura Schaefer นักดาราศาสตร์และนักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
กล่าวว่า การระดมชนช่วงปลายบรมยุคอาร์เคียน โดยวัตถุที่มีขนาดเกิน 10 กิโลเมตรน่าจะสร้างก๊าซไวปฏิกิริยาได้มากพอที่จะกำจัดออกซิเจนที่มีระดับต่ำในชั้นบรรยากาศไปได้จนหมดสิ้น
รูปแบบนี้สอดคล้องกับหลักฐานของสิ่งที่เรียกว่า ออกซิเจนจาง
ซึ่งออกซิเจนในชั้นบรรยากาศลดลงอย่างฮวบฮาบแต่ค่อยๆ เพิ่มทีละน้อย
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 2.5 พันล้านปีก่อน
เราคิดว่าสภาพจางนี้ล่มสลายจากการชนซึ่งได้กำจัดออกซิเจนหมดไปจากชั้นบรรยากาศ
นี่สอดคล้องกับการชนขนาดใหญ่ที่บันทึกในชั้นสเฟียรูลที่ โตรกบี(Bee Gorge) และโตรกเดลส์(Dales Gorge) ในออสเตรเลีย
การวิเคราะห์ชั้นสเฟียรูลครั้งใหม่ของทีม
ยังท้าทายแบบจำลองการชนก่อนหน้านี้และเพิ่มความรุนแรงของการชนขึ้น
โดยพบว่าดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเกินกว่า 10 กิโลเมตรน่าจะเข้ามาชนกับโลกทุกๆ 15 ล้านปีโดยประมาณ นี่อาจจะฟังดูไม่ถี่อะไร
แต่ในทางธรณีวิทยาบอกได้เลยว่ามีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมาก
และถี่กว่าที่เคยคิดไว้ถึง 10 เท่า
ระดับออกซิเจนกับอัตราการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
แบบจำลองยังเผยว่าการชนเหล่านี้สร้างผลกระทบลดออกซิเจนสะสมด้วย
มีแต่เพียงเมื่อการระดมชนซาลงที่ระดับออกซิเจนจึงจะเริ่มเพิ่มขึ้น
เปลี่ยนแปลงเคมีบนพื้นผิวโลกและแปรสภาพดาวเคราะห์ให้กลายเป็นพิภพที่เอื้ออาศัยได้
ซึ่งขณะนี้นักวิจัยเชื่อแล้วว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ไอจากการชนเป็นสาเหตุให้ระดับออกซิเจนลดลงเป็นช่วงๆ
ที่กินเวลานานหลังจาก Great Oxidation Event Marchi กล่าว เมื่อเวลาผ่านไป
การชนจะเกิดถี่น้อยลงและเล็กเกินกว่าที่จะสามารถส่งผลต่อระดับออกซิเจนหลัง Great
Oxidation Event ได้
โลกก็อยู่ในเส้นทางที่จะกลายเป็นดาวเคราะห์แบบปัจจุบัน งานวิจัยนี้เผยแพร่ใน Nature
Geoscience
งานวิจัยอีกชิ้นยังบอกถึงความสำคัญของระดับออกซิเจนบนโลกต่ออัตราการสูญพันธุ์
ไม่นานหลังจากรุ่งอรุณแห่งสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน
หลายสิบล้านปีก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกในห้าครั้ง
ก็มีคลื่นซากศพจำนวนมากลอยมาเป็นสาย นักวิทยาศาสตร์ได้โต้เถียงมาอย่างน้อย 40
ปี การสูญพันธุ์ก็ชะลอช้าลง
การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้แสดงว่าระดับออกซิเจนที่เพิ่มสูงขึ้นอาจจะอธิบายว่าเพราะเหตุใด
อัตราการสูญพันธุ์ทั่วโลกจึงลดลงตลอดบรมยุคฟาเนอโรโซอิค(Phanerozoic Eon) ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 541 ล้านปีก่อน ผลสรุปซึ่งเผยแพร่ใน Proceedings
of the National Academy of Sciences วันที่
4 ตุลาคม
ชี้ไปถึงระดับออกซิเจนในชั้นบรรยากาศที่ 40% ของระดับปัจจุบันว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ถิ่นอาศัยในมหาสมุทรขยายกว้างออกไปและอัตราการสูญพันธุ์บนโลกก็ลดลงอย่างฮวบฮาบ
Erik Sperling ผู้เขียนอาวุโส
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยาศาสตร์ที่ สำนักโลก,
พลังงานและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด(Stanford Earth) กล่าวว่า
ในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสิ่งมีชีวิตสัตว์บนโลกมีการสูญพันธุ์แบบล้างผลาญเกิดขึ้นมาตลอดก่อนหน้านั้น
และจากนั้นก็ลดลงจนกระทั่งเหลือแค่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่(mass extinctions)
เท่านั้น และก็ไม่เคยมีคำอธิบายใดๆ
ว่าเพราะเหตุใดจึงมีการสูญพันธุ์แบบล้างผลาญเหล่านั้นในช่วงต้นเลย
การศึกษาใหม่ได้เผยว่าแม้อุณหภูมิโลกจะอุ่นขึ้น 5 องศา(ซึ่งก็ถือว่าสุดขั้วมากสำหรับภูมิอากาศปัจจุบัน
แต่เป็นเรื่องปกติของโลกในอดีตอันไกลโพ้น)
ก็เกินจะเพียงพอให้เกิดการสูญพันธุ์แบบล้างผลาญในช่วงต้นของบรมยุคฟาเนอโรโซอิค
งานวิจัยแสดงว่านี่ก็เพราะ ในโลกที่มีออกซิเจนต่ำ
สัตว์น้ำก็อยู่บนขอบเหวในความสามารถในการหายใจและรักษาอุณหภูมิร่างกายแล้ว
การค้นพบนี้มีนัยยะต่อความเขาใจชะตากรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเลบนโลกที่ร้อนขึ้นในทุกวันนี้
มหาสมุทรเสมือนจริง
ผู้เขียนใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์แสดงภูมิอากาศของโลก
เพื่อจำลองอุณหภูมิน้ำทะเลและปริมาณของออกซิเจนที่น่าจะละลายในมหาสมุทรเมื่อปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในชั้นบรรยากาศมีความปั่นป่วนตลอดบรมยุคฟาเนอโรโซอิคนี้
พวกเขาจับคู่แบบจำลองเสมือนจริงกับแบบจำลองคณิตศาสตร์ว่าด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างสรีรวิทยาสัตว์กับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น
จากนั้นก็ประเมินสัดส่วนของชนิดสัตว์ทะเลที่น่าจะสูญเสียไปกับทุกๆ 5 องศาเซลเซียสที่มหาสมุทรอุ่นขึ้น
ซึ่งก็คาดได้ว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศก็น่าจะเพิ่มตามไป 4 เท่าตัวด้วย
โลกที่ร้อนขึ้นเช่นนั้นเป็นแบบสุดขั้วแต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่พบได้ยากในความเป็นมาของโลก
ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้ผู้เขียนได้สำรวจประชากรมหาสมุทรเสมือนจริงกับสิ่งมีชีวิตของจริง
ซึ่งจะบอกได้ว่าใครจะอยู่รอดได้บ้าง
นี่เป็นแบบจำลองสามมิติเต็มตัวที่มีฟิสิกส์ของการไหลเวียนน้ำรอบๆ
ทวีปในลักษณะที่แตกต่างกัน และในชีวธรณีเคมีทั้งหมดด้วย Sperling กล่าว
นี่เป็นความก้าวหน้าในการคำนวณครั้งใหญ่ยักษ์
อันตรายคู่
ผลที่ได้สอดคล้องกับเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เป็นชุดที่เกิดในช่วง 50
ถึง 100 ล้านปีแรกของบรมยุคฟาเนอโรโซอิค
ว่าเป็นผลโดยตรงจากระดับออกซิเจนที่ต่ำและการตอบสนองด้านสรีรวิทยาต่อความร้อน Richard
Stockey ผู้เขียนนำ
นักศึกษาปริญญาเอกสแตนฟอร์ดสาขาธรณีวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า
เราไม่จำเป็นต้องกล่าวหาสิ่งอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพื่ออธิบายอัตราการสูญพันธุ์ที่สูงผิดปกติและการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นดาษดื่นมากในช่วงต้นของบันทึกฟอสซิลสัตว์
จุดประสงค์แท้จริงก็เพื่อดูว่าจะขาดแคลนออกซิเจนได้แค่ไหน จนส่งผลต่อความสามารถของสัตว์ที่จะทนกับความร้อน
นั้นเป็นเพราะเมื่อมหาสมุทรอุ่นขึ้น
องค์ประกอบออกซิเจนจะลดลงในขณะที่ความต้องการออกซิเจนของสัตว์กลับเพิ่งสูงขึ้น
นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับสิ่งมีชีวิตเลือดเย็นที่พึ่งพาสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อกำกับอุณหภูมิร่างกายและเมตาบอลิซึม
วิธีที่เราใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงออกซิเจนและการเปลี่ยนอุณหภูมิเป็นตัวแลกเปลี่ยนออกมา
และประเมินพวกมันในทีเดียว
เรากำลังทำกับฟอสซิลราวกับเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณที่ยังมีชีวิต
และคิดว่าพวกมันจะกินอาหาร,
มีชีวิตและหายใจอย่างไร ง่ายๆ คือ พวกมันจะผ่านแต่ละวันไปได้อย่างไร
นักวิจัยพบปัจจัยเพิ่มเติมหลายอย่างที่ส่งผลต่อสัดส่วนของสปีชีส์ที่ล้มตายในช่วงที่โลกอุ่นขึ้นตลอด
541 ล้านปีที่ผ่านไป
ซึ่งรวมถึงการเรียงตัวของทวีปบนโลก,
ประสิทธิภาพในการรีไซเคิลคาร์บอนระหว่างมหาสมุทรกับชั้นบรรยากาศ
และสถานะของภูมิอากาศในจุดที่โลกเริ่มอุ่นขึ้น อย่างไรก็ตาม
ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศเป็นตัวกำกับหลักต่อความยืดหยุ่นในการสูญพันธุ์
ผู้เขียนเขียนไว้
การเปลี่ยนแปลงออกซิเจนในชั้นบรรยากาศน่าจะมีความสำคัญมากกว่าปัจจัยอื่นๆ อย่างมาก
Stockey กล่าว
การศึกษานี้ยังตอกย้ำการค้นพบก่อนหน้านี้จากทีมของ Sperling ว่าออกซิเจนและอุณหภูมิข้างใต้นั้นเป็นกุญแจที่ไขว้กันไปมาในการเข้าใจการสูญพันธุ์และรูปแบบการรอดชีวิตในมหาสมุทรโบราณ
บันทึกทางธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยากำลังบอกเราครั้งแล้วครั้งเล่าว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรวมระหว่างออกซิเจนกับอุณหภูมิที่เป็นเพชรฆาตหลักสัตว์ทะเล
Sperling กล่าว
ในพื้นที่มหาสมุทรในทุกวันนี้บางส่วนก็มีระดับออกซิเจนที่ต่ำ
ซึ่งรวมถึงน้ำที่ลึกกว่าที่ระดับไหล่ทวีปนอกชายฝั่งคาลิฟอร์เนีย
ออกซิเจนที่ลดลงหรืออุณหภุมิที่เปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นหายนะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ก็เต็มขีดจำกัดความสามารถในการใช้ออกซิเจนแล้ว
Sperling กล่าวว่า
จะมีบางที่ที่มีศักยภาพอันตรายในระดับสาบสูญ
เมื่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยิ่งผลักดันการอุ่นขึ้นของมหาสมุทรและสภาพออกซิเจนลดลง
สำหรับช่วงร้อยล้านปีแรกของวิวัฒนาการสัตว์นั้น
มหาสมุทรเกือบทั้งหมดก็มีสภาพแบบนั้น
แหล่งข่าว sciencealert.com
: asteroids may have stolen the oxygen from Earth’s ancient atmosphere
phys.org : scientists find
oxygen levels explain ancient extinction slowdown
No comments:
Post a Comment