ภาพพานอรามาแสดงพื้นที่ลงจอดของฉางเอ่อ
5
จากตัวอย่างดวงจันทร์ที่เก็บได้ใหม่ 45 ปีหลังจากปฏิบัติการลูนาของอดีตสหภาพโซเวียตในปี 1976
“ทะเล”
ขนาดใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์อาจจะมีคลื่นลมเยอะกว่าชื่อที่ตั้งให้กับมัน
ในเดือนธันวาคม 2020 ยานฉางเอ่อ 5(Chang’e 5) ของจีนได้รวบรวมดินและหินราว 1.7 กิโลกรัมจากพื้นที่สีมืดและค่อนข้างราบเรียบแห่งหนึ่งที่เรียกว่า
มหาสมุทรแห่งพายุ(Oceanus Procellarum) ที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า
10% บนดวงจันทร์
การวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวอย่างนี้ได้ให้หินภูเขาไฟชนิดใหม่ที่น่าจะเผยถึงความซับซ้อนเกี่ยวกับกิจกรรมภูเขาไฟดวงจันทร์ที่มีมากกว่าที่เคยคิด
งานวิจัยคุณลักษณะของตัวอย่างดวงจันทร์นำเสนอใน National Science Review วันที่ 14 ตุลาคม 2021
Li Chunlai ผู้เขียนคนแรก
นักวิจัยที่หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติของสำนักวิทยาศาสตร์จีน(NAOC) กล่าวว่า
การประเมินตัวอย่างจากดวงจันทร์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์งานแรกนี้
มีพื้นฐานจากภาพจากดาวเทียมในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และมันได้แบ่งดวงจันทร์ออกเป็น 2 พื้นที่ คือ มาเรีย(maria) ที่ราบเรียบซึ่งเป็นทะเลบะซอลต์ และที่ราบสูง(highlands)
ที่ปุปะด้วยหลุมอุกกาบาต
ซึ่งทั้งสองพื้นที่ก็มีหลุมที่มีขนาดหลากหลายมาก
ตัวอย่างเป็นกุญแจสู่การส่งเสริมงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของเราจากการสำรวจระยะไกลสู่การตรวจสอบในห้องทดลอง
การศึกษาพื้นผิวดวงจันทร์ก่อนหน้านี้
ได้บ่งชี้ว่ามาเรียอาจจะเต็มไปด้วยหินบะซอลต์ที่ก่อตัวขึ้นจากลาวาที่เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่หลุมอุกกาบาตเกิดขึ้นจากการชน
ตัวอย่างดวงจันทร์ที่ส่งกลับมาจากปฏิบัติการอพอลโล 6 ‘koและลูนาอีก 3 งานเมื่อศตวรรษที่แล้ว
ได้ขยายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับประวัติและวิวัฒนาการดวงจันทร์ได้พอสมควร Li
กล่าว
โดยบ่งชี้ว่าดวงจันทร์เย็นตัวลงและภูเขาไฟก็หยุดปะทุเมื่อราว 3 พันล้านปีก่อน อย่างไรก็ตาม
การเก็บตัวอย่างมุ่งเป้าไปที่พื้นที่ที่ไม่ได้เป็นรายละเอียดพื้นผิวดวงจันทร์ที่แผ่กว้างมากที่สุด
พื้นที่เก็บตัวอย่างที่จำกัดเหล่านั้นจึงจำกัดความเข้าใจใหม่ๆ
เกี่ยวกับดวงจันทร์ไปด้วย
ตัวอย่างดวงจันทร์จากปฏิบัติการฉางเอ่อ
5 ของจีน
นักวิจัยถ่ายภาพตัวอย่างจากฉางเอ่อ 5
ทั้งสิ้น 316,800 ภาพ และจำแนกอนุภาคได้เกือบ 3 ล้านอนุภาคซึ่งมีขนาดตั้งแต่ไม่ถึง 10 ไมครอน จนถึง 500 ไมครอน อนุภาคเกือบทั้งหมดในดินดวงจันทร์
มีขนาดราว 50 ไมครอน(ควมกว้างของเส้นผมมนุษย์)
ในทางเคมีแล้ว อนุภาคเหล่านั้นเกือบทั้งหมดปราศจากหลักฐานจากเศษซากการชน
ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกมันมีกำเนิดบนดวงจันทร์เอง พวกมันมีคุณลักษณะทั่วไปของบะซอลต์
แต่มีความแตกต่างจากบะซอลต์บนโลกที่อุดมด้วยมักนีเซียมและอุดมด้วยเหล็ก
บะซอลต์ดวงจันทร์นั้นมีมักนีเซียมที่ต่ำ แต่มีระดับสนิมเหล็ก(iron oxide) ที่สูง
นี่น่าจะเป็นบะซอลต์ชนิดใหม่ Li เขียนไว้ ในขณะที่นี่หมายความว่าหลักเกณฑ์บนโลกไม่สามารถใช้เพื่อประเมินบนดวงจันทร์ได้
มันน่าจะเป็นบะซอลต์ดวงจันทร์ที่มีการแบ่งชั้นหิน
ซึ่งนำไปสู่การเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกิจกรรมภูเขาไฟดวงจันทร์
ข้อมูลองค์ประกอบได้บอกว่าตัวอย่างจากฉางเอ่อ 5 น่าจะเป็นบะซอลต์ดวงจันทร์ชนิดใหม่
ที่แตกต่างจากปฏิบัติการอพอลโลและลูนา ก่อนหน้านี้ มีอายุราว 2 พันล้านปีและเกิดจากภูเขาไฟ นี่หมายความว่า
จะต้องมีลาวาไหลนองทั่วพื้นที่ที่ฉางเอ่อ 5 จอด ล่าช้ากว่าที่เคยคิดไว้ 1 พันล้านปี
Li ยังเสริมว่าการมีอยู่ของบะซอลต์ที่มีกำเนิดบนดวงจันทร์
เมื่อรวมกับการสำรวจพื้นที่เก็บตัวอย่าง
ได้บ่งชี้ว่าบะซอลต์ดังกล่าวปรากฏขึ้นหลังจากการชนที่มีอายุที่จำเพาะ
ซึ่งน่าจะเผยให้เห็ฯหลักฐานกิจกรรมภูเขาไฟเมื่อเร็วๆ นี้
และยังอาจต้องการทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับกิจกรรมภูเขาไฟ
เพื่อจัดการกับองค์ประกอบและอายุที่แตกต่างกันของตัวอย่างเหล่านั้น การศึกษานี้มุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบตัวอย่างจากดวงจันทร์ของฉางเอ่อ
5 ในเบื้องต้น
เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อๆ ไป Li กล่าว
ตัวอย่างเหล่านี้จะเปิดหน้าต่างใหม่สู่การศึกษาวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์
เราได้พบแล้วว่าดวงจันทร์นั้นกว้างขวางและไม่เป็นเนื้อเดียวกันมากกว่าที่เราเคยคิดไว้
ดังนั้นจึงต้องการปฏิบัติการเพื่อรวบรวมตัวอย่างเพิ่มขึ้น
ยิ่งกว่านั้น มีการศึกษาใกล้เคียงกันอีก 2
ชิ้นที่แสดงว่าตัวอย่างดวงจันทร์ใหม่นี้มีน้ำและธาตุกัมมันตรังสีในระดับที่ต่ำอย่างน่าประหลาดใจ
น้ำลดจุดหลอมเหลวของหิน และธาตุกัมมันตรังสีโพทัสเซียม, ยูเรเนียม
และธอเรียมได้ให้ความร้อนในการหลอมเหลวแมกมา
ซึ่งปริมาณที่ต่ำมากทำให้การปะทุภูเขาไฟเกิดได้ง่ายขึ้น
ในขณะที่ตัวอย่างจากอพอลโลและลูนามีองค์ประกอบทั้งสองที่สูงกว่า
โดยรวมแล้ว รายงานใหม่เหล่านี้กลายเป็นปัญหา
Qing-Zhu Yin นักธรณีเคมีที่มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย
เดวิส ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเหล่านี้กล่าวกับวารสาร Science ว่าการศึกษาเหล่านี้ได้สร้างคำถามว่าวัตถุที่มีขนาดเล็กพอๆ
กับดวงจันทร์ของเรา น่าจะค้ำจุนการปะทุภูเขาไฟในช่วงบั้นปลายชีวิตได้อย่างไร
เหตุผลที่การค้นพบเหล่านี้สร้างปัญหาก็คือ
ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศหรือสนามแม่เหล็กเพื่อรักษาความร้อนที่ต้องการเพื่อให้มีกิจกรรมภูเขาไฟ
แต่มีแนวคิดสองสามอย่างว่าจะดักความร้อนไว้ได้ยาวนานได้อย่างไร
อันแรกก็คือ
ดินดวงจันทร์อาจจะหนาพอที่จะเก็บความร้อนไว้ได้นานกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดถึง 1
พันล้านปี อีกข้อก็คือ
ดวงจันทร์อาจจะร้อนขึ้นจากแรงบีบฉีกของโลก
เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ยืดและคลายภายในของดวงจันทร์เมื่อมันโคจรไปรอบๆ
คำอธิบายที่เป็นไปได้ข้อสามก็คือ
การชนจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางขนาดใหญ่ดวงหนึ่ง ซึ่งในบางกรณีก็ทำให้เกิดการปะทุภูเขาไฟได้
การเก็บกู้แคปซูลตัวอย่างดวงจันทร์จากฉางเอ่อ 5 ที่ตกลงในมองโกเลีย
ฉางเอ่อ 5 ถูกส่งสู่ดวงจันทร์ในเดือนพฤศจิกายน
มันร่อนลงจอดใกล้กับภูเขาไฟที่ตายแล้วแห่งหนึ่งใน “มหาสมุทรแห่งพายุ”
ซึ่งปูด้วยหินภูเขาไฟสีดำที่เรียกว่าบะซอลต์ แลนเดอร์ได้รวบรวมตัวอย่าง
ทั้งจากพื้นผิวและจากที่ลึกลงไปในเปลือกดวงจันทร์ราว 1.8 เมตร จากนั้น ฉางเอ่อ 5 ก็เก็บตัวอย่างไว้ในแคปซูลและส่งกลับมาที่โลก
แคปซูลตกลงที่มองโกเลียในเดือนธันวาคม
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมอีกมากจากตัวอย่างในอนาคตอย่างหินของฉางเอ่อ
5 ปฏิบัติการดวงจันทร์ลำดับถัดไปของจีนคือ
ฉางเอ่อ 6 ตั้งเป้าที่จะส่งไปที่ด้านไกลของดวงจันทร์ในปี
2024 และส่งตัวอย่างกลับมาเพิ่มขึ้น
ถ้าดวงจันทร์เป็นวัตถุขนาดเท่าทวีป
ตัวอย่างจากอพอลโลกับลูกนาก็น่าจะเหมือนการเก็บตัวอย่างจากเพียงรัฐเดียว
แล้วจินตนาการว่าเรารู้ถึงทั้งทวีป นักวิจัยกล่าว
แหล่งข่าว spaceref.com
: China’s Chang’e 5 lunar samples reveals new information about the Moon
sciencealert.com :
first Moon rocks brought to Earth in 45 years hint at mysterious volcanic
eruptions
No comments:
Post a Comment