Thursday 31 December 2020

Double Cluster

สวัสดีปีใหม่ 2021 ครับ

ผมไม่แน่ใจว่าคนที่ติดตามทั้งเพจและกลุ่มมีความสนใจเรื่องดูดาวกันระกับไหน เพราะการดูดาวเป็นกิจกรรมที่กว้างมากขึ้นกับความสนใจ ในส่วน Visual Astronomy ที่ผมทำอยู่ ปีนี้จะแนะนำออบเจคสำหรับการดูด้วยกล้องสองตาให้มากขึ้น หวังว่าจะสนใจกันนะ

กล้องสองตาหรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ไบนอค” เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดูดาวตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงมืออาชีพ ห้ภาพกว้าง แสกนท้องฟ้าได้เร็ว การใช้กล้องสองตาดูดาวจะทำให้เข้าใจคอนเซ็ปท์และความสนุกของการดูดาว หากสนใจจริงจังก็ค่อยหากล้องดูดาวมาภายหลัง

ดังนั้นใครที่อยากได้กล้องดูดาวตัวแรก ลองหันมามองไบนอคดู ใช้ได้กว้างขวาง ราคาไม่แพง ดูดาวได้สนุก บนท้องฟ้ามีหลายออบเจคที่ดูด้วยกล้องสองตาสวยกว่ากล้องดูดาว แถมบางทีคุณอาจจะมีไบนอคอยู่แล้วก็ได้...

Double Cluster

กระจุกดาวเปิดหรือ Open Star Cluster เป็นกลุ่มของดาวที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ มีอายุน้อย (ในแบบของนักดาราศาสตร์นะ) เราจะเห็นชัดเจนว่าเกาะกันเป็นปมเป็นกลุ่ม หากคิดไม่ออกลองนึกถึงกระเป๋าหนังปลากระเบน มีหลายตัวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าอย่างกระจุกดาวลูกไก่ที่น่าจะรู้จักกันดีแลัว

สำหรับ Double Cluster หรือกระจุกดาวคู่เพอร์เซอุสถ้าอยู่ไกลจากเมืองมากพอก็จะมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นฝ้าฟุ้งที่ชวนให้สงสัยว่าคืออะไร


ภาพจาก Stellarium คลิกภาพเพื่อขยาย

วิธีการหาตำแหน่งไม่ได้ยาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ อันดับแรกเรามองรู้จักกลุ่มดาวแคสสิโอเปียหรือกลุ่มดาวค้างคาวเสียก่อน ดาวสว่าง 5 ดวงที่เรียงเป็นรูปตัวอักษร “M” อยู๋ทางทิศเหนือ มองหาง่ายและเป็นกลุ่มดาวสำคัญที่ช่วยนำทางไปหาดาวเหนือได้ ต้นเดือนมกราคมแบบนี้ ยังมองเห็นตั้งแต่หัวค่ำทางทิศเหนือ

เริ่มจากดูตาเปล่า มองหารูปร่างของกลุ่มดาวให้ชัดเจน ลองลากเส้นสมมติจากดาว “แกมม่า” ไปที่ “เดลต้า” แล้วลากเส้นเลยออกไปอีกสามเท่า กระจุกดาวคู่จะอยู่ตรงนั้น

หากมองไม่เห็นให้ใช้ไบนอคแทนการดูด้วยตาเปล่าโดยใช้วิธีเดียวกัน จะมองเห็น Double Cluster ได้ไม่ยากแม้อยู่ในเมือง


ภาพจำลอง Perseus Double Cluster เมื่อดูผ่านกล้องสองตา
Cr: Stellarium



ลองฝึกดูนะครับ จะได้เซนส์เรื่องของ การสังเกต แพทเทิร์นของดาว ทิศ ระยะทาง ขนาดของภาพ สำหรับการนำไปใช้ในการดูดาวด้วยกล้องดูดาวหรือแม้กระทั่งการถ่ายรูปต่อไป

ใครอยากรู้จัก Double Cluster มากขึ้นตามลิงค์ไปได้ครับ

https://tsg2018.blogspot.com/2019/12/ngc869-ngc884-perseus-double-cluster.html

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...