การสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ในโครงการ GOODS North Survey ได้พบกาแลคซีแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมาที่ เรดชิพท์ 11
ในเดือนมีนาคม 2016
นักดาราศาสตร์ได้พบกาแลคซีแห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า
GN-z11 ว่าอยู่ห่างไกลมากกว่า(และจึงเก่าแก่มากกว่า)
กาแลคซีใดๆ ที่เคยพบมา
แสงจากกาแลคซีที่โตเต็มวัยแห่งนี้มีกำเนิดเมื่อเอกภพมีอายุเพียง 420 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบงเท่านั้น
เมื่อทางช้างเผือกของเราก็ยังคงอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างตัว
การสำรวจติดตามผลที่รายงานใน Nature
Astronomy ทีมนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์เคก
1 ได้ตรวจสอบระยะทางสู่กาแลคซีแห่งนี้ยืนยันระยะทางที่สุดขั้วของมัน
ซึ่งห่างไกลจนน่าจะอยู่ที่ขอบของเอกภพที่สังเกตการณ์ได้(observable
universe) เลย
ทีมหวังว่าการศึกษานี้จะช่วยเปิดมุมใหม่สู่ช่วงเวลาในความเป็นมาของเอกภพเมื่อเอกภพมีอายุเพียงไม่กี่ร้อยล้านปีเท่านั้น
Nobunari Kashikawa จากแผนกดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวว่า
จากการศึกษาก่อนหน้านี้ GN-z11 ดูเหมือนจะเป็นกาแลคซีที่ไกลที่สุดเท่าที่เราจะสามารถสำรวจได้
คือที่ 13.4 พันล้านปีแสง
แต่การตรวจสอบและชี้ชัดระยะทางดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายเลย Kashikawa และทีมตรวจสิบสิ่งที่เรียกว่า เรดชิพท์(redshift)
ของกาแลคซี
ซึ่งเป็นค่าที่บอกว่าแสงถูกยืดไปมากแค่ไหน คือยิ่งมีสีแดงมากขึ้น
มันก็ยิ่งเดินทางมาไกล
สัญญาณเคมีที่จำเพาะซึ่งเรียกว่า
เส้นเปล่งคลื่น จะแสดงร่องรอยที่โดดเด่นในแสงจากวัตถุไกลโพ้น
ด้วยการตรวจสอบว่าสัญญาณโดดเด่นเหล่านี้ยืดไปแค่ไหน
นักดาราศาสตร์ก็สามารถระบุได้ว่าแสงเดินทางมาไกลแค่ไหน
ก็จะบอกระยะทางสู่กาแลคซีเป้าหมาย เราพิจารณาแสงอุลตราไวโอเลตเป็นพิเศษ
ซึ่งเป็นสเปคตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราคาดว่าจะได้เห็นสัญญาณสารเคมีที่เกิดเรดชิพท์ Kashikawa
กล่าว
กล้องฮับเบิลตรวจพบสัญญาณนี้ในสเปคตรัม GN-z11 หลายรอบ อย่างไรก็ตาม
แม้แต่ด้วยฮับเบิลก็ไม่สามารถแสดงเส้นเปล่งคลื่นอุลตราไวโอเลตในระดับที่เราต้องการได้
ดังนั้น เราจึงต้องหันไปหาสเปคโตรกราฟภาคพื้นดินที่ทันสมัยกว่าชิ้นหนึ่งซึ่งเรียกว่า
MOSFIRE ที่ติดตั้งบนเคก
1 ในฮาวาย
MOSFIRE ได้จับเส้นเปล่งคลื่นจาก GN-z11 ในรายละเอียด
ซึ่งช่วยให้ทีมได้ประเมินระยะทางได้ดีขึ้นมาก
ซึ่งปรับปรุงความเที่ยงตรงของค่าเรดชิพท์(z value) เพิ่มขึ้นถึงร้อยเท่า
นอกจากจะทราบระยะทางที่แน่ชัดแล้ว ทีมยังพบบางสิ่งที่ไม่คาดคิดด้วยซึ่งรายงานในการศึกษาชิ้นที่สองเผยแพร่ในวารสารเดียวกัน
ตลอดช่วง 5 ชั่วโมงที่ทำการสำรวจด้วยเคก
นักดาราศาสตร์ได้สำรวจพบแสงอุลตราไวโอเลตจ้าที่พุ่งสูงขึ้นหลายร้อยเท่าเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
จาก GN-z11 Linhua Jiang ผู้นำการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป่ยจิง
ประเทศจีน กล่าวว่า
เราสังเกตว่าภาพหนึ่งในนั้นมีการปะทุที่สว่างในตำแหน่งเดียวกับกาแลคซีพอดี
มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจเนื่องจากวัตถุนี้สลัวอย่างมาก
หนทางเดียวที่เราจะได้มันก็คือเราเจอมันพอดี และอีกไม่กี่นาทีต่อมา มันก็หายไป
Jiang และเพื่อนร่วมงานบอกว่าแสงจ้ายูวีที่คาดไม่ถึงนี้อาจจะเป็นแสงเรืองไล่หลัง(afterglow)
ของการปะทุรังสีแกมมา(gamma-ray
burst; GRB) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อดาวที่มีมวลสูงมากๆ
ยุบตัวลง ก่อนหน้านี้ GRB ที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดย้อนกลับไปได้ที่
520 ล้านปีแสงหลังบิ๊กแบง
เหตุการณ์ที่อายุน้อยมากๆ จะอยู่นอกเหนือข่ายการล่า GRB ของดาวเทียมอย่างหอสังเกตการณ์สวิฟท์และกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีแกมมาเฟอร์มีของนาซา
ก็เป็นไปได้ที่แสงจ้านี้แท้จริงแล้วจะไม่ได้มีกำเนิดจาก GN-z11 เลย มันอาจจะมาจากบางสิ่งที่ผ่านระหว่างโลกกับกาแลคซีแห่งนี้ในเวลาเดียวกันนั้นโดยบังเอิญ
ทีมจึงหาตัวการที่เป็นไปได้ทั้งหมดทั้ง ดาวเทียม, ดาวเคราะห์น้อย, การลุกจ้าของดาว(stellar
flares) แม้แต่ GRB
ที่เกิดขึ้นในกาแลคซีที่ใกล้กว่า
ในที่สุด การคำนวณก็บอกว่าไม่น่าเป็นไปได้อย่างสูงที่แสงจ้าจะมีกำเนิดจากแห่งอื่นๆ
นอกเหนือจาก GN-z11
และสำหรับแหล่งการปะทุ
นักวิจัยสามารถกำจัดซุปเปอร์โนวาหรือเหตุการณ์การรบกวนด้วยแรงโน้มถ่วง(tidal
disruption event) จากหลุมดำทิ้งได้เลย
ซึ่งแสงจากเหตุการณ์เหล่านั้นจะอยู่นานหลายวัน
และสิ่งที่ทีมได้เห็นก็โผล่มาและหายไปในเวลาไม่ถึงสามนาที พูดอีกอย่างว่า
สเปคตรัม, ความสว่าง และระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์ชั่วคราวนี้
ทั้งหมดสอดคล้องกับการปะทุรังสีแกมมา
เนื่องจากการปะทุรังสีแกมมาน่าจะพบได้ยากมากๆ Jiang
กล่าวว่า
ความเป็นไปได้ที่จะตรวจจับการปะทุรังสีแกมมา(ในกาแลคซีแห่งหนึ่งๆ)
นั้นแทบจะเป็นศูนย์ ถ้าคุณสำรวจกาแลคซีหนึ่งเป็นเวลา 1 ล้านปี ก็อาจจะได้พบ GRB เพียงสองหรือสามเหตุการณ์เท่านั้น
นี่จึงเป็นเหตุผลที่น่าประหลาดใจอย่างมาก อย่างไรก็ตาม
ความสว่างและความยาวนานของเหตุการณ์ก็ชี้ไปที่การปะทุรังสีแกมมา
และมันอาจจะพบได้บ่อยกว่าจากยุคเวลาดังกล่าว เราอาจจะโชคดีมากๆ หรือไม่ก็
อัตราการปะทุรังสีแกมมา(ในยุคนั้น) สูงกว่าที่เราคาดไว้ Jiang กล่าว
(บน) ลูกศรชี้กาแลคซีที่ไกลโพ้นที่สุดในเอกภพ (ล่าง) เส้นเปล่งคลื่นจากคาร์บอนที่สำรวจพบในช่วงอินฟราเรด เมื่อมันออกจากกาแลคซี สัญญาณสเปคตรัมนี้เคยอยู่ในช่วงอุลตราไวโอเลตที่ 0.2 ไมครอน แต่เกิดเรดชิพท์และยืดออกไปมากกว่าสิบเท่าจนถึง 2.28 ไมครอน สเปคตรัมของ GN-z11 แสดงการเปล่งคลื่นจากคาร์บอนไอออน ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่ควรจะมีอยู่นอกจากว่าดาวฤกษ์รุ่นก่อนหน้านั้นได้หลอมมันขึ้นมาในแกนกลางแล้ว สเปคตรัมคาร์บอนจะปรากฏในช่วงความยาวคลื่นอุลตราไวโอเลต แต่มันจะถูกยืดจากเอกภพที่กำลังขยายตัว จนเคกสำรวจมันไว้ในช่วงอินฟราเรด
Peter Meszaros จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตท ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้
เห็นด้วยว่าสเปคตรัมที่เห็นเป็นสิ่งที่คาดไว้จาก GRB นี่อาจจะเป็นการค้นพบที่สำคัญมากๆ เขากล่าว
เมื่อคิดกันว่าการปะทุรังสีแกมมาเกิดขึ้นจากการยุบตัวจากดาวมวลสูงมาก และจากที่ GN-z11
นั้นปรากฏอยู่หลังจากบิ๊กแบงไม่นานนัก ก็คิดได้ว่า GRB จากยุคต้นเช่นนั้นน่าจะแสดงถึงการดับของหนึ่งในดาวรุ่นแรกสุดที่เรียกว่า
ประชากรกลุ่ม 3(Population III stars) Bing Zhang สมาชิกทีมจากมหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส กล่าวว่า
แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างแท้จริงก็คือ เราได้เห็นเส้นเปล่งคลื่นจากคาร์บอนที่รุนแรง
ซึ่งหมายความว่ามันเป็นดาวรุ่นที่สอง หมายเหตุ
ประชากรกลุ่มสามซึ่งเป็นดาวรุ่นแรกสุดที่ก่อตัวในเอกภพ ควรจะประกอบด้วย
ไฮโดรเจนและฮีเลียมเกือบทั้งหมด ธาตุที่หนักกว่าอย่าง คาร์บอน
จะถูกหลอมขึ้นภายในแกนกลางของดาวและกระจายออกเมื่อดาวระเบิด
โชคร้ายที่การสำรวจในช่วงอุลตราไวโอเลตเพียงลำพัง
ไม่เพียงพอที่จะจำแนกว่าแสงจ้านั้นเป็นการปะทุรังสีแกมมาอย่างแน่นอนหรือไม่
โอกาสที่กล้องโทรทรรศน์อื่นๆ
จะมองไปที่ส่วนเดียวกันบนท้องฟ้าในเวลาเดียวกันนั้นก็มีน้อยมากๆ
การค้นพบนี้ซึ่งนอกเหนือจากที่ผลักดันขีดจำกัดความสามารถในการตรวจจับ ยืนยันอายุของ GN-z11
และให้หลักฐานประชากรกลุ่มสองในช่วงเวลาเพียง 4 ร้อยล้านปีหลังจากบิ๊กแบง
การค้นพบนี้ยังแง้มให้เห็นอนาคตที่น่าตื่นเต้นด้วย
เมื่อเครื่องมือรุ่นต่อไปอย่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์
น่าจะตรวจสอบวัตถุเรดชิพท์สูงยิ่งขึ้นได้ หรือบางทีอาจจะสามารถพบประชากรดาวกลุ่ม 3 แต่กว่าจะถึงเวลานั้น
ความทะเยอทะยานเพื่อตรวจสอบยุคอรุณรุ่งแห่งเอกภพก็ยังคงต้องเก็บงำได้
แหล่งข่าว phys.org
: the farthest galaxy in the universe
skyandtelescope.com :
astronomers find most distant gamma-ray burst yet
newscientist.com : we may
have seen a huge explosion on the oldest galaxy in the universe
No comments:
Post a Comment