ภาพวาดแสดงฝูงหลุมดำขนาดเล็กในดิสก์ก๊าซวงหนึ่งที่โคจรรอบหลุมดำยักษ์แห่งหนึ่ง
นักวิจัยได้ให้คำอธิบายที่สมเหตุสมผลเป็นครั้งแรกว่าเพราะเหตุใดหนึ่งในคู่หลุมดำมวลสูงที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบโดยคลื่นความโน้มถ่วง
ยังดูจะควบรวมในวงโคจรที่ไม่กลมด้วย คำตอบที่เสนอซึ่งเผยแพร่ใน Nature เกี่ยวข้องกับเรื่องวุ่นสามรอบภายในดิสก์ก๊าซขนาดยักษ์ที่ล้อมรอบหลุมดำมวลมหาศาลในกาแลคซีแห่งอื่น
หลุมดำเป็นหนึ่งในวัตถุที่น่าทึ่งที่สุดในเอกภพ
แต่ความรู้ของเราเกี่ยวกับพวกมันก็ยังคงจำกัด
โดยเฉพาอย่างยิ่งเมื่อพวกมันไม่เปล่งแสงใดๆ ออกมา
กระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อนนี้เองเมื่อ LIGO(Laser Interferometer
Gravitational-wave Observatory) ในปี 2015
ได้ทำการสำรวจครั้งบุกเบิกพบคลื่นความโน้มถ่วงจากการควบรวมของหลุมดำสองแห่ง
Johan Samsing ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากสถาบันนีล
บอห์ร มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ผู้เขียนนำรายงาน กล่าวว่า
แต่หลุมดำเหล่านี้ก่อตัวและควบรวมได้อย่างไรและที่ใดในเอกภพ แล้วมันเกิดขึ้นจากเมื่อดาวใกล้เคียงยุบตัวลงและทั้งคู่เปลี่ยนเป็นหลุมดำ,
หรือจากการผ่านเข้าใกล้กันในกระจุกดาว หรือเป็นสิ่งอื่น
นี่เป็นคำถามหลักบางส่วนในยุคใหม่แห่งดาราศาสตร์ฟิสิกส์คลื่นความโน้มถ่วง
เขาและเพื่อนร่วมงานอาจจะมีคำตอบบางส่วนให้กับปริศนาใหญ่เหล่านี้
ซึ่งน่าจะไขปัญหาส่วนหลังสุดของปริศนาที่นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์อับจนหนทางในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้
ปริศนานี้ย้อนกลับไปในปี 2019 เมื่อมีการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงที่ไม่คาดคิดจาก
LIGO และ Virgo
เข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เรียกว่า GW
190521 เกิดขึ้นจากการควบรวมของหลุมดำ
2 แห่งที่ไม่เพียงมีมวลสูงกว่าที่เคยคิดไว้ในทางกายภาพ
แต่ยังสร้างแสงออกมาด้วย ก็มีคำอธิบายที่เป็นไปได้สำหรับคุณลักษณะสำคัญทั้งสองนี้
แต่คลื่นความโน้มถ่วงยังเผยให้เห็นรายละเอียดที่สามในเหตุการณ์นี้ โดยบอกว่า
หลุมดำไม่ได้โคจรรอบกันและกันในวงโคจรที่กลมก่อนที่จะควบรวม
GW 190521 เป็นการค้นพบที่สร้างความประหลาดใจมากที่สุดเท่าที่เคยพบมา
มวลและการหมุนรอบตัวของหลุมดำก็น่าประหลาดใจมากแล้ว
แต่ที่ประหลาดใจยิ่งกว่าก็คือดูเหมือนพวกมันไม่ได้อยู่ในวงโคจรกลมที่นำไปสู่การควบรวม
Imre Bartos ผู้เขียนร่วม
ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา กล่าว
แล้วเพราะเหตุใด
วงโคจรที่ไม่กลมจึงเป็นสิ่งที่ผิดปกติและคาดไม่ถึง? Zoltan Haiman ผู้เขียนร่วม ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อธิบายว่า นั้นเป็นเพราะธรรมชาติพื้นฐานของคลื่นความโน้มถ่วงที่เปล่งออกมา
ซึ่งไม่เพียงทำให้หลุมดำคู่ขยับเข้าใกล้กันมากขึ้นจนสุดท้ายก็ควบรวมกัน
แต่ยังทำหน้าที่แต่งวงโคจรของพวกมันให้กลมด้วย การสำรวจทำให้หลายๆ
คนทั่วโลกรวมทั้ง Johan Samsing ฉงน
นี่ทำให้ผมเริ่มคิดเกี่ยวกับการควบรวมที่เป็นวงรี(eccentric) ว่าสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยความเป็นไปได้ที่สูงตามที่การสำรวจบอกไว้
คำตอบที่เป็นไปได้พบได้ในสภาพแวดล้อมที่ทารุณในใจกลางกาแลคซีที่มีหลุมดำยักษ์มวลหลายล้านเท่าดวงอาทิตย์
และล้อมรอบด้วยดิสก์ก๊าซแบนที่หมุนไปรอบๆ Bence Kocsis จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ผู้เขียนร่วม ชี้ว่า
ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ความเร็วและความหนาแน่นทั่วไปของหลุมดำก็สูงมากด้วยจนหลุมดำขนาดเล็กกระดอนไปรอบๆ
ราวกับอยู่ในเกมบิลเลียดยักษ์ และระบบคู่วงโคจรกลมในระยะห่างมากก็เกิดขึ้นไม่ได้
แต่เท่านี้ก็ยังไม่พอ
การศึกษาใหม่แสดงว่าดิสก์ก๊าซทำหน้าที่สำคัญในการจับหลุมดำขนาดเล็ก
ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะขยับเข้าใกล้ใจกลางมากขึ้นเรื่อยๆ
และยังเข้าใกล้กันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
นี่ไม่เพียงแต่บอกว่าพวกมันจะเจอกันและจับคู่กัน
แต่ยังบอกว่าคู่ลักษณะนี้อาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับหลุมดำแห่งที่สามด้วย
ซึ่งมักจะนำไปสู่การเต้นรำที่วุ่นวายโดยมีหลุมดำสามแห่งหมุนไปรอบๆ Hiromichi
Tagawa นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยโทโฮกุ
ผู้เขียนร่วม อธิบาย
อย่างไรก็ตาม
การศึกษาทั้งหมดก่อนหน้านี้กับการสำรวจ GW 190521 บ่งชี้ว่าการก่อตัวการควบรวมหลุมดำวงโคจรรีนั้นค่อนข้างยาก
นี่ทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า เพราะเหตุใดแหล่งคลื่นความโน้มถ่วง GW 190521 ที่ไม่ปกติ ก็ยังควบรวมในแบบวงโคจรรีได้ในที่สุด
ทุกๆ สิ่งที่ได้คำนวณออกมา
โดยรวมมีพื้นฐานมาจากความคิดที่ว่าปฏิสัมพันธ์ของหลุมดำกำลังเกิดขึ้นในแบบสามมิติ
ตามที่คาดไว้กับวัตถุฟากฟ้าส่วนใหญ่ Samsing กล่าวว่า แต่เมื่อเราเริ่มคิดว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าปฏิสัมพันธ์หลุมดำกลับเกิดขึ้นในดิสก์แบนๆ
แทน ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมสองมิติมากกว่า
ที่น่าประหลาดใจก็คือเราพบว่าภายใต้ข้อจำกัดนี้ ความน่าจะเป็นในการควบรวมแบบวงรีเพิ่มขึ้นได้มากถึง
100 เท่า
ซึ่งนำไปสู่อัตราส่วนที่การควบรวมทั้งหมดในดิสก์ดังกล่าว
ประมาณครึ่งหนึ่งอาจจะเป็นวงรี
และการค้นพบนี้ก็สอดคล้องอย่างดีเยี่ยมจนไม่น่าเชื่อกับการสำรวจในปี 2019
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลชี้ไปในทิศทางว่าคุณสมบัติที่น่าตกตะลึงของแหล่งนี้
จริงๆ แล้วก็ไม่ได้แปลกประหลาดอีกต่อไป ถ้ามันเกิดขึ้นในดิสก์ก๊าซแบนที่ล้อมรอบหลุมดำมวลมหาศาลในนิวเคลียสกาแลคซี
สิ่งที่อาจเป็นคำตอบนี้ยังตอบปัญหาด้านกลศาสตร์ที่มีมาถึงร้อยปีด้วย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 3 แหล่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่เก่าแก่ที่สุดในทางฟิสิกส์
ซึ่งทั้ง นิวตัน ก็ศึกษาอย่างเข้มข้น ซึ่งสิ่งนี้ดูเหมือนจะแสดงบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่หลุมดำจะควบรวมกันในสถานที่ที่สุดขั้วที่สุดบางส่วนในเอกภพของเรา
จึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างมาก Nathan W. Leigh ผู้เขียนร่วม
ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยกองเซปชั่น ชิลี กล่าว
ทฤษฎีดิสก์ก๊าซยังสอดคล้องกับคำอธิบายของนักวิจัยคนอื่นๆ กับคุณสมบัติที่น่าฉงนอีกสองประการของ
GW 190521 มวลที่สูงของหลุมดำ
สามารถไต่ไปถึงได้โดยการควบรวมที่เกิดขึ้นภายในดิสก์เป็นทอดๆ
ในขณะที่การเปล่งแสงก็น่าจะมีกำเนิดจากก๊าซในพื้นที่รอบข้าง
ขณะนี้เราได้แสดงว่ามีความแตกต่างอย่างมากมายในสัญญาณที่เปล่งจากหลุมดำที่ควบรวมในดิสก์แบนสองมิติ
เทียบกับการควบรวมอื่นๆ ที่พบในระบบดาวสามมิติ
ซึ่งบอกเราว่าขณะนี้เรามีเครื่องมือพิเศษที่จะสามารถใช้เพื่อเรียนรู้ว่าหลุมดำถูกสร้างและควบรวมในเอกภพได้อย่างไร
Samsing กล่าว
แต่การศึกษานี้ก็ยังเป็นเพียงการเริ่มต้น
ผู้คนได้ทำงานเพื่อเข้าใจโครงสร้างของดิสก์ก๊าซลักษณะนี้มาหลายปี
แต่ปัญหาก็ยังยากที่จะไข ผลสรุปของเรานั้นขึ้นอยู่กับว่าดิสก์แบนแค่ไหน
และหลุมดำเคลื่อนไปรอบๆ ดิสก์อย่างไร เวลาจะเป็นตัวบอกว่าเราจะต้องเรียนรู้ได้มากขึ้นเกี่ยวกับดิสก์เหล่านี้หรือไม่
เมื่อเรามีประชากรการควบรวมของหลุมดำมากขึ้น ซึ่งรวมถึงกรณีพิเศษที่คล้าย GW
190521 มากขึ้น
เพื่อให้เป็นไปได้ เราจะต้องต่อยอดจากการค้นพบนี้
และดูว่ามันจะนำเราไปส่วนใดในพื้นที่ใหม่ๆ นี้ Zoltan Haiman ผู้เขียนร่วม กล่าวสรุป
แหล่งข่าว phys.org
: black hole billiards in the centers of galaxies may explain black hole
mergers
iflscience.com : orbits
around supermassive black holes might be like a “giant
game of billiards”
No comments:
Post a Comment