ภาพชุดแสดงว่าจะแยกแยะนิวเคลียสของดาวหาง C/2014 UN271(Bernardinelli-Bernstein) ออกจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซ(coma) ขนาดมหึมารอบนิวเคลียสได้อย่างไร ทางซ้ายเป็นภาพดาวหางที่ถ่ายโดยกล้องมุมกว้าง 3 ของฮับเบิลในวันที่ 8 มกราคม 2022 ภาพกลางเป็นแบบจำลองโคมาให้สอดคล้องกับลักษณะความสว่างพื้นผิวจากภาพทางซ้าย นี่ช่วยให้ลบผลจากโคมาออกได้ จะเผยให้เห็นแสงเรืองเป็นจุดที่มาจากนิวเคลียส เมื่อรวมกับข้อมูลวิทยุ นักดาราศาสตร์ก็ตรวจสอบขนาดของนิวเคลียสได้อย่างแม่นยำ ซึ่งไม่ได้เรื่องยากสำหรับวัตถุที่อยู่ห่างออกไป 3.2 พันล้านกิโลเมตร แม้ว่าประเมินว่านิวเคลียสมีความกว้างถึง 130 กิโลเมตร แต่ก็ยังห่างไกลเกินไปที่กล้องฮับเบิลจะถ่ายภาพได้ ขนาดของนิวเคลียสจึงมาจากความสามารถในการสะท้อนแสงที่ฮับเบิลได้ตรวจสอบ นิวเคลียสมืดพอๆ กับถ่านไม้ พื้นที่นิวเคลียสประเมินจากการสำรวจวิทยุ
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ตรวจสอบขนาดของนิวเคลียสดาวหางน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยเห็นมา
เส้นผ่าศูนย์กลางที่ประเมินได้อยู่ที่ราว 130 กิโลเมตร
นิวเคลียสดาวหางนี้มีขนาดใหญ่กว่าที่พบในดาวหางทั่วไปราว 50 เท่า มวลโดยประมาณอยู่ที่ 5 ร้อยล้านล้านตัน
หรือหนักกว่ามวลดาวหางทั่วไปที่พบใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ราวๆ 1 แสนเท่า
ดาวหางดวงมหึมาC/2014
UN271(Bernardinelli-Bernstein) กำลังมุ่งหน้าเข้ามาจากขอบระบบสุริยะด้วยความเร็ว
35200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ไม่ต้องเป็นห่วงเมื่อมันจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ไม่สั้นไปกว่า 1.6 พันล้านกิโลเมตร
ซึ่งไกลกว่าระยะทางวงโคจรดาวเสาร์เล็กน้อย และจะเกิดขึ้นในราวปี 2031
ผู้ยึดครองสถิติก่อนหน้านี้เป็นดาวหาง C/2002
VQ94 ซึ่งมีนิวเคลียสที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว
96 กิโลเมตร
มันถูกพบในปี 2002 โดยโครงการ LINEAR(Lincoln
Near-Earth Asteroid Research) David Jewitt ศาสตราจารย์ด้าวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส(UCLA)
และผู้เขียนร่วมการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ใน
Astrophysical Journal Letters กล่าวว่า
พูดได้ว่าดาวหางนี้เป็นเพียงยอดภูเขานำแข็งสำหรับดาวหางอีกหลายพันดวงซึ่งสลัวเกินกว่าจะเห็นได้ในส่วนที่ไกลออกไปในระบบสุริยะ
บ่อยครั้งที่เราสงสัยว่าดาวหางนี้มีขนาดใหญ่
เพราะมันสว่างมากจากระยะทางที่ห่างไกลมาก ขณะนี้เรายืนยันว่าเป็นเช่นนั้นจริง
ดาวหาง C/2014 UN271 ถูกพบโดยนักดาราศาสตร์ Pedro Bernardinelli
และ Gary Bernstein ในภาพในคลังจากการสำรวจพลังงานมืด(Dark
Energy Survey) ที่หอสังเกตการณ์เซร์โรโทโลโล
อินเตอร์อเมริกัน ในชิลี มันถูกสำรวจพบโดยบังเอิญในเดือนพฤศจิกายน 2010 เมื่อมันยังอยู่ห่างจากดวงอิทตย์ถึง 4.8 พันล้านกิโลเมตร ใกล้เคียงกับระยะทางเฉลี่ยวงโคจรเนปจูน
นับแต่นั้นมา มันก็ถูกศึกษาอย่างเข้มข้นโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศและภาคพื้นดิน
Man-To Hui ผู้เขียนนำการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลจี
มาเก๊า กล่าวว่า มันเป็นวัตถุที่น่าพิศวง
จากที่มันเริ่มมีกิจกรรมตั้งแต่เมื่อยังอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์อย่างมาก
เราเดาว่าดาวหางจะต้องมีขนาดใหญ่ แต่เราต้องการข้อมูลที่ดีที่สุดเพื่อยืนยัน
ดังนั้นทีมของเขาจึงใช้ฮับเบิลถ่ายภาพดาวหาง 5 ภาพในวันที่ 8 มกราคม 2022
ความท้าทายในการตรวจสอบดาวหางนี้ก็คือการแยกแยะนิวเคลียสแข็งออกจากเปลือกฝุ่นขนาดมหึมาที่ล้อมรอบนิวเคลียสไว้
ดาวหางยังอยู่ห่างไกลเกินกว่าฮับเบิลจะมองเห็นนิวเคลียสได้
แต่ข้อมูลฮับเบิลได้แสดงแสงที่สว่างเจิดจ้าที่ตำแหน่งของนิวเคลียสแทน Hui และทีมจึงต้องทำแบบจำลองคอมพิวเตอร์ชั้นบรรยากาศ(coma)
ฝุ่นรอบๆ
และปรับแต่งให้เข้ากับภาพฮับเบิล จากนั้นก็ลบแสงจ้าของโคมาออก
เหลือไว้แต่นิวเคลียส ซึ่งยืนยันว่า C/2014 UN271 เป็นดาวหางคาบยาว(long-period comet) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
Hui และทีมยังเปรียบเทียบความสว่างของนิวเคลียสกับการสำรวจคลื่นวิทยุก่อนหน้านี้ซึ่งทำโดย
ALMA(Atacama Large Millimeter/submillimeter Array) ในชิลี
การรวมข้อมูลได้ช่วยระบุเส้นผ่าศูนย์กลางและความสามารถในการสะท้อนแสงของนิวเคลียส
การตรวจสอบใหม่โดยฮับเบิลใกล้เคียงกับการประเมินขนาดก่อนหน้านี้โดย ALMA แต่บอกถึงพื้นผิวนิวเคลียสที่มืดกว่าที่เคยคิดไว้
มันมีขนาดใหญ่และดำมืดกว่าถ่านหิน Jewitt กล่าว
ดาวหางได้วิ่งเข้าหาดวงอาทิตย์มากว่า 1
ล้านปีแล้ว
มันมาจากแหล่งดาวหางนับล้านล้านดวงที่เรียกว่า เมฆออร์ต(Oort Cloud) คิดกันว่ากลุ่มเมฆน้ำแข็งนี้มีขอบด้านในที่ระยะทาง
2000 ถึง 5000
เท่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์(AU)
ส่วนขอบนอกอาจจะแผ่ออกไปอย่างน้อยหนึ่งในสี่
ระยะทางสู่ระบบอัลฟา เซนทอไร(Alpha Centauri) ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
แท้จริงแล้วดาวหางจากเมฆออร์ตไม่ได้ก่อตัวขึ้นห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก
แต่กลับถูกเหวี่ยงออกจากระบบเมื่อหลายพันล้านปีก่อน
โดยสงครามพินบอลแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์วงนอกขนาดใหญ่ เมื่อวงโคจรของดาวพฤหัสฯ
และดาวเสาร์ ขยับปรับเปลี่ยน
ดาวหางที่อยู่ห่างไกลจะเดินทางย้อนกลับมาหาดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์
ถ้าวงโคจรของพวกมันถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงจากดาวฤกษ์ที่ผ่านเข้ามาใกล้
เหมือนการเขย่าแอปเปิ้ลให้หล่นจากต้น
ดาวหางบีบี มีวงโคจรรีเรียวยาวที่นาน 3
ล้านปี
นำมันออกไปไกลจากดวงอาทิตย์ที่ราว 0.5 ปีแสง
ขณะนี้ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่ถึง 3.2 พันล้านกิโลเมตร
วิ่งเข้ามาเกือบตั้งฉากกับระนาบของระบบสุริยะ ที่ระยะทางดังกล่าว อุณหภูมิสูงเพียง
-211 องศาเซลเซียส
แต่ก็อบอุ่นมากพอที่คาร์บอนมอนอกไซด์จะระเหิด(sublimate) ออกจากพื้นผิวสร้างโคมาฝุ่นขึ้นมา
ดาวหางดวงนี้ได้ให้เงื่อนงำอันมีค่าสู่การกระจายขนาดของดาวหางในเมฆออร์ต
และยังรวมถึงมวลรวมของมัน การประเมินมวลของเมฆออร์ต มีตัวเลขที่หลากหลายอย่างมาก
ซึ่งอาจสูงถึง 20 เท่ามวลโลก
เมฆซึ่งถูกเสนอในทางทฤษฎีในปี 1950 โดย Jan
Oort นักดาราศาสตร์ดัตช์
ยังคงเป็นเพียงทฤษฎีเนื่องจากดาวหางที่มีจำนวนมากมายในเมฆนั้นสลัวเกินไปและอยู่ห่างเกินกว่าจะสำรวจได้โดยตรง
น่าขำที่โครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะล้วนแต่มองไม่เห็นทั้งสิ้น
ประเมินว่ายานวอยยาจเจอร์(Voyager) แฝดของนาซาจะยังไปไม่ถึงขอบในของเมฆออร์ตจนอีก
300 ปีข้างหน้า
และอาจต้องใช้เวลาถึง 3 หมื่นปีเพื่อผ่านทะลุเมฆออร์ตไป
แต่หลักฐานแวดล้อมมาจากดาวหางที่วิ่งเข้ามาซึ่งสามารถย้อนรอยกลับไปถึงแหล่งที่มาได้
ดาวหางจากแหล่งนี้วิ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ในทิศทางที่แตกต่างกัน
ซึ่งหมายความว่าเมฆจะต้องมีรูปร่างทรงกลม(spherical)
ดาวหางเหล่านี้เป็นตัวอย่างองค์ประกอบในระบบสุริยะช่วงต้นที่ถูกแช่แข็งเก็บรักษาไว้หลายพันล้านปี
การมีอยู่จริงของเมฆออร์ตได้รับการสนับสนุนจากแบบจำลองทฤษฎีการก่อตัวและวิวัฒนาการระบบสุริยะ
หลักฐานจากการสำรวจที่มีมากขึ้นซึ่งสามารถรวบรวมได้จากการสำรวจท้องฟ้าห้วงลึกพร้อมกับการสำรวจหลายช่วงความยาวคลื่น
จะช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจบทบาทของเมฆออร์ตต่อวิวัฒนาการะบบสุริยะได้ดีขึ้น
แหล่งข่าว hubblesite.org
: Hubble confirms largest comet nucleus ever seen
space.com : “megacomet” Bernardinelli-Bernstein is largest
ever seen, Hubble telescope confirms
sciencealert.com : NASA
just confirmed the largest comet ever detected, and it’s truly gargantuan
No comments:
Post a Comment