ภาพจากศิลปินแสดงระบบพหุดาวเคราะห์(multi-planetary system) ซึ่งมีดาวเคราะห์หลายดวงโคจรรอบดาวฤกษ์เดียวกัน
อัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์แบบใหม่ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่ไม่เคยทราบมาก่อนมากกว่า
300 ดวงในข้อมูลที่รวบรวมโดยกล้องโทรทรรศน์ล่าดาวเคราะห์นอกระบบที่ปลดประจำการแล้ว
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์(Kepler) ซึ่งเป็นนักล่าดาวเคราะห์นอกระบบปฏิบัติการแรกของนาซา
ได้สำรวจดาวฤกษ์หลายแสนดวงในความพยายามเพื่อหาพิภพที่อาจจะเอื้ออาศัยได้นอกระบบสุริยะของเรา
บัญชีรายชื่อดาวเคราะห์จากข้อมูลของเคปเลอร์ยังคงสร้างการค้นพบใหม่ๆ
แม้ว่ากล้องจะใช้การไม่ได้แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญมนุษย์วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสัญญาณของดาวเคราะห์นอกระบบซึ่งเป็นกระบวนการที่กินเวลา
แต่ขณะนี้อัลกอริทึมใหม่ที่เรียกว่า ExoMiner สามารถจำแลงกระบวนการและกลั่นกรองบัญชีว่าที่ดาวเคราะห์นอกระบบได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า
กล้องเคปเลอร์ซึ่งหยุดทำงานในเดือนพฤศจิกายน
2018 หาดาวฤกษ์ที่มีความสว่างลดลงเป็นการชั่วคราว
ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากมีดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์จากมุมมองของเคปเลอร์
แต่การหรี่แสงเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าทั้หงมดจะเกิดขึ้นจากดาวเคราะห์นอกระบบ
และนักวิทยาศาสตร์จะต้องมีกระบวนการเพื่อแยกแยะสัญญาณบวกลวง
ออกจากสัญญาณ(ดาวเคราะห์) จริง
ExoMiner ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกว่า โครงข่ายประสาทเทียม(neural
network) เป็นอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์(Artificial
Intelligence; AI) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของมัน
โดยเดินเครื่องที่ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ไพลอาดีส
(Pleiades) ของนาซา เมื่อป้อนข้อมูลให้มากพอ
และเคปเลอร์ก็ผลิตข้อมูลจำนวนมากมาย กล่าวคือ ในเวลาไม่ถึงสิบปีที่ทำงาน
กล้องได้พบว่าที่ดาวเคราะห์หลายพันดวง ซึ่งในจำนวนนี้มีเกือบ 3000 ดวงที่ยืนยันแล้ว
ก็เป็นสัดส่วนที่มากในจำนวนการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่ยืนยันแล้ว 4575 ดวง(รายงานถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน)
สำหรับว่าที่ดาวเคราะห์นอกระบบแต่ละดวง
นักวิทยาศาสตร์ที่ตรวจสอบข้อมูลเคปเลอร์น่าจะพิจารณาที่กราฟแสง(light
curve) และคำนวณว่า
ดาวเคราะห์ปิดบังดาวฤกษ์ได้มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งก็ยังต้องวิเคราะห์ว่าสิ่งที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านดิสก์ของดาวฤกษ์ใช้เวลานานแค่ไหนด้วย
ในบางกรณี
การเปลี่ยนแปลงความสว่างที่สำรวจพบไม่น่าจะอธิบายได้ด้วยดาวเคราะห์ที่โคจร
อัลกอริทึม
ExoMiner จะทำแบบเดียวกันนี้แต่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งได้ช่วยให้นักวิจัยเพิ่มจำนวนดาวเคราะห์นอกระบบเข้าสู่บัญชีรายชื่อดาวเคราะห์ของเคปเลอร์อีก
301 ดวงในคราวเดียว
เมื่อ ExoMiner บอกว่าบางสิ่งที่ว่าเป็นดาวเคราะห์
ก็แน่ใจได้ว่ามันเป็นดาวเคราะห์จริงๆ Hamed Valizadegan ผู้นำโครงการ ExoMiner และผู้จัดการโครงการการเรียนรู้ของเครื่อง(คอมพิวเตอร์)
ที่สมาคมวิจัยอวกาศในมหาวิทยาลัย(USRA)
ที่ศูนย์วิจัยเอมส์ ของนาซา กล่าวในแถลงการณ์
ExoMiner มีความเที่ยงตรงสูง
และในบางครั้งก็ยังน่าเชื่อถือมากกว่าทั้งเครื่องจักรกลจำแนกดาวเคราะห์ที่มีอยู่และผู้เชี่ยวชาญมนุษย์
ซึ่งอาจมีการลำเอียงจากมนุษย์ ขณะนี้เมื่อ ExoMiner ได้พิสูจน์ความสามารถของมัน
นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังจะใช้มันเพื่อช่วยกลั่นกรองข้อมูลจากปฏิบัติการสำรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบอื่นๆ
ที่มีอยู่และจะมาถึง เช่น ปฏิบัติการ TESS(Transiting Exoplanet Survey
Satellite) ของนาซาซึ่งกำลังดำเนินงานอยู่
หรือ ปฏิบัติการ PLATO(Planetary Transit and Oscillation of Stars) ขององค์กรอวกาศยุโรปซึ่งมีกำหนดส่งในปี 2026
เป็นที่น่าเสียใจที่ดาวเคราะห์นอกระบบกลุ่มใหม่ที่เพิ่งยืนยันนี้
ไม่มีดวงใดเลยที่จะมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อพวกมันทั้งหมดอยู่นอกเขตเอื้ออาศัยได้(habitable
zone) ของดาวฤกษ์แม่
รายงานเผยแพร่ใน Astrophysical Journal
นอกจากทีมที่นำโดย Valizadegan แล้ว ยังมีทีมยูซีแอลเอโดย Jon Zink ได้พัฒนาซอฟท์แวร์อัลกอริทึม
โดยทีมได้ป้อนข้อมูลทั้งสิ้น 500 เทร่าไบต์จากปฏิบัติการภาคต่อ(K2)
ของเคปเลอร์ ซึ่งครอบคลุมภาพมากกว่า 8
ร้อยล้านภาพเข้าสู่ซอฟท์แวร์ในโครงการ
Scaling K2
ผลที่ได้เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ 381 ดวงที่เคยถูกจำแนกแล้ว
และว่าที่ดาวเคราะห์ใหม่เอี่ยมอีก 366 ดวง
และระบบดาวเคราะห์หลายดวง(multiplanetary system) อีก 57 แห่ง
ในการค้นพบใหม่เป็นระบบที่น่าทึ่งแห่งหนึ่งซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์คล้ายดาวเสาร์
2 ดวง
ซึ่งโคจรใกล้ดาวฤกษ์ของพวกมันอย่างใกล้เคียง และยังอยู่ใกล้กันจนเกิดกำทอน(resonance)
ด้วย
นักวิทยาศาสตร์มองหากรณีที่ไม่ปกติเช่นนี้
เพื่อช่วยให้เข้าใจปัจจัยความเป็นไปได้ของระบบดาวเคราะห์ รายงานทีม Zink เผยแพร่ใน Astronomical Journal
แหล่งข่าว space.com
: AI discovers over 300 unknown exoplanets in Kepler telescope data
sciencealert.com : over
350 exoplanets have been found, bringing us close to an incredible milestone
iflscience.com :
astronomers find 366 new possible exoplanets
No comments:
Post a Comment