ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติซึ่งรวมถึงนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย(ANU)
ได้เผยบัญชีคลื่นความโน้มถ่วงในจำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยพบ
การค้นพบจะช่วยไขปริศนาที่ซับซ้อนที่สุดบางส่วนของเอกภพ ซึ่งรวมถึงวัตถุดิบของสสาร
และการทำงานของอวกาศและเวลา
การศึกษาของทีมจากทั่วโลกนี้เผยแพร่ใน arXiv
เป็นการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงใหม่
35 เหตุการณ์ที่เกิดจากการควบรวมของหลุมดำคู่
หรือดาวนิวตรอนชนกับหลุมดำ โดยใช้หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง LIGO(Laser
Interferometer Gravitational-wave Observatory), Virgo
และ KAGRA(Kamioka
Gravitational Wave Detector) นี่ทำให้จำนวนรวมการตรวจจับเพิ่มเป็น
90 เหตุการณ์
จากการเดินเครื่องการสำรวจสามช่วงตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2020
บัญชีรายชื่อรวมการชนที่เกิดจากช่วงครึ่งหลังของการเดินเครื่องสำรวจครั้งที่สาม(O3b)
ระหว่างพฤศจิกายน 2019 ถึงมีนาคม 2020 ซึ่งการเดินเครื่องครั้งนี้รวม Virgo ในอิตาลี และ LIGO อีกสองแห่งในสหรัฐฯ และโครงการ KAGRA ของญี่ปุ่นก็มาร่วมงานในช่วงสองสัปดาห์สุดท้าย
เครื่องตรวจจับทั้งสี่ใช้เลเซอร์ที่สะท้อนออกจากกระจกเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระยะทางเพียงน้อยนิด
เมื่อห้วงกาลอวกาศหดและยืดออกเมื่อมีคลื่นความโน้มถ่วงเดินทางผ่านมา
เมื่อเริ่ม O3 กลุ่มความร่วมมือ LVK ได้สร้างการแจ้งเตือนสาธารณะเมื่อเกิดเหตุการณ์คลื่นความโน้มถ่วงขึ้น
เพื่อให้เกิดการตอบสนองจากนักดาราศาสตร์อย่างรวดเร็ว ที่จะมองหาแสงเรืองใดๆ
จากดาวนิวตรอนหรือหลุมดำที่ควบรวม หลุมดำคู่โดยปกติจะไม่มีแสงออกมา
ยกเว้นแต่ว่าพวกมันล้อมรอบด้วยก๊าซ O3b เตือนออกมา
39 ครั้งซึ่งไม่มีครั้งใดที่มีแสงเลย
การตรวจจับใหม่มาจากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ในอวกาศ
ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นไกลออกไปหลายพันล้านปีแสง ส่งระลอกผ่านห้วงกาลอวกาศมา
รวมถึงการควบรวมของหลุมดำ 32 คู่
และการชนที่น่าจะเป็นดาวนิวตรอนกับหลุมดำอีก 2 คู่ และอีก 1 เหตุการณ์ที่ยังไม่ทราบชนิดของวัตถุที่เกี่ยวข้อง
บัญชีรายชื่อใหม่เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 1.5
เหตุการณ์ต่อสัปดาห์ที่พบในการเดินเครื่องครั้งที่แล้ว
เป็นเฉลี่ย 1.7 เหตุการณ์ต่อสัปดาห์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเป็นหนึ่งในแกนหลักในทีมที่ทำการสำรวจและพัฒนาเทคโนโลจีที่ละเอียดอ่อนเพื่อตามล่าคลื่นความโน้มถ่วงที่ล่องลอยข้ามเอกภพอันไกลโพ้นมา
Susan Scott ศาสตราภิชานจากศูนย์เพื่อดาราศาสตร์ฟิสิกส์ความโน้มถ่วง
มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวถึงการค้นพบล่าสุดเหมือนกับเป็น สึนามิ
และเป็น ย่างก้าวที่สำคัญสู่ภารกิจเพื่อไขความลับวิวัฒนาการเอกภพ
การค้นพบเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มเป็นสิบเท่าของคลื่นความโน้มถ่วงเมื่อ LIGO และ Virgo เริ่มต้นสำรวจ เธอกล่าว เราได้พบ 35 เหตุการณ์ นี่มากมาย เมื่อเทียบกับที่พบ 3
เหตุการณ์ในช่วงการเดินเครื่องสำรวจครั้งแรกที่ยาวสี่เดือนในปี
2015-16
นี่สิถึงเป็นยุคสมัยใหม่สำหรับการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง
และจำนวนการค้นพบที่เพิ่มมากขึ้นก็กำลังเผยให้เห็นถึงข้อมูลมากมายเกี่ยวกับชีวิตและความตายของดาวทั่วเอกภพ
เมื่อพิจารณามวลและการหมุนรอบตัวของหลุมดำในระบบคู่เหล่านี้
ก็บ่งชี้ว่าระบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
บัญชีรายชื่อใหม่ที่เรียกว่า GWTC-3 มีหลายเหตุการณ์ที่น่าจดจำ
เหตุการณ์หนึ่งเป็นการชนที่เกี่ยวข้องกับดาวนิวตรอนที่เบาที่สุดเท่าที่เคยพบผ่านวิธีใดๆ
อยู่ที่ 1.2 มวลดวงอาทิตย์(กับหลุมดำที่
33 เท่าดวงอาทิตย์) และอีกหนึ่งเหตุการณ์
(GW200210_092254)
ที่ยังไม่ทราบชนิดวัตถุแน่ชัดนั้นเชื่อว่าเกิดจากหลุมดำมวล
24 เท่าดวงอาทิตย์
กับหลุมดำที่เบามากที่ราว 2.8 เท่าดวงอาทิตย์
แต่ในขณะที่นักวิจัยเชื่อว่าเป็นหลุมดำเบา จะสอดคล้องกับคุณสมบัติสัญญาณมากกว่า
แต่ก็ยังตัดตัวเลือกดาวนิวตรอนหนักมากไม่ได้
ในบัญชีนี้ยังมีเหตุการณ์การชนจากหลุมดำที่อวบอ้วนมาก(GW200220_061928)
ด้วยมวล 87 และ 61 เท่าดวงอาทิตย์(มวลหลุมดำที่ได้ 141 เท่าดวงอาทิตย์)
อยู่ในช่องว่างมวลหลุมดำที่ยากจะหาคำอธิบาย(ทางทฤษฎี) การชนอีกเหตุการณ์ได้สร้างหลุมดำที่
104 เท่ามวลดวงอาทิตย์
ซึ่งหลุมดำระดับร้อยเท่าขึ้นไป จะถูกจัดเป็นหลุมดำมวลปานกลาง(intermediate-mass
black holes) เป็นช่วงมวลระหว่าง
100 ถึงราว 1
ล้านเท่าดวงอาทิตย์
ซึ่งพบหลุมดำเพียงไม่มาก
บัญชียังมีหลุมดำที่หมุนรอบตัวเหมือนลูกข่างในทิศทางเดียวกันเมื่อพวกมันหมุนไปรอบๆ
กันและกัน
เป็นการเรียงตัวที่น่าจะเกิดขึ้นถ้าดาวที่ตายเป็นหลุมดำจับคู่กันมาตั้งแต่เกิด
แต่ก็ยังมีอีกอย่างน้อย 1 คู่ที่หลุมดำหมุนกลับหัวกลับหางกัน
เมื่อเทียบกับวงโคจร
มันยังสร้างคำถามที่น่าสนใจมากบางอย่างเช่น
ระบบพวกนี้เดิมก่อตัวจากดาวฤกษ์สองดวงที่ผ่านวัฎจักรชีวิตไปด้วยกันและต่อมาก็กลายเป็นหลุมดำด้วยกันหรือไม่
หรือเป็นหลุมดำสองแห่งที่พุ่งเข้าหากันในสภาพแวดล้อมที่มีพลวัตหนาแน่นมากเช่นในใจกลางกาแลคซี
นอกจากจะเผยแพร่บัญชีรายชื่อแล้ว
กลุ่มความร่วมมือ LVK ยังเผยแพร่รายงานอีก
3 ฉบับ
ซึ่งฉบับหนึ่งเป็นการวิเคราะห์ประชากรความยาว 60 หน้า การศึกษาลักษณะนี้เป็นเชิงสถิติ
ไม่ใช่เหตุการณ์เดี่ยวๆ นักวิจัยใช้เหตุการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุด 76 เหตุการณ์ในบัญชีรายชื่อ เพื่อมองดูว่าโดยรวมแล้ว
พวกมันกำลังบอกอะไรเลย การศึกษาเชิงประชากรได้เผยเรื่องน่าสนใจหลายอย่าง
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง
90 เหตุการณ์
ซึ่งเกิดขึ้นจากการควบรวมของหลุมดำหรือไม่ก็ ดาวนิวตรอน หรือเป็นทั้งคู่ จุดต่างๆ
ระบุมวลของวัตถุที่ควบรวม และมวลของวัตถุที่สร้างขึ้นมา
จุดสีชมพูและเหลืองเป็นการตรวจจับจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
อย่างแรก จำนวนของวัตถุที่มีมวลสูงกว่า 2
เท่าดวงอาทิตย์
มีจำนวนที่ลดลงอย่างชัดเจน
นักดาราศาสตร์ได้คำนวณไว้ว่าไม่น่าจะได้เห็นวัตถุที่มีมวลระหว่าง 3 ถึง 5 เท่าดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางกายภาพว่า
ดาวนิวตรอนจะมีขนาดใหญ่ได้แค่ไหนเช่นเดียวกับการสำรวจจากระบบคู่ในกาแลคซีของเรา
แต่ข้อมูลคลื่นความโน้มถ่วงไม่ได้แสดงขีดจำกัดขั้นสูงในช่องว่างนี้
ข้อมูลบ่งชี้ว่าดาวนิวตรอนไม่สามารถมีมวลเกิน 2.3 เท่าดวงอาทิตย์ ดังนั้นบางทีหลุมดำอาจจะมีขนาดเล็กกว่าที่เราเคยคิดไว้ว่ามันเป็น
ซึ่งผลสรุปก่อนหน้านี้ก็สนับสนุนแนวคิดนี้
ประการที่สอง หลุมดำทุกๆ
แห่งไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้เท่าเทียมกัน
ถ้าคุณมองไปที่หลุมดำใหญ่ในแต่ละคู่ที่ควบรวม
หลุมดำหลักจะกระจุกอยู่ในช่วงมวลที่แตกต่างกัน 3 ช่วงคือ 10, 17(โดยประมาณ) และที่ 35 เท่าดวงอาทิตย์ พวกมวล 10 เท่าดวงอาทิตย์มีคำอธิบายว่าไม่น่าจะเกิดจากการจับคู่ในภายหลัง
ดังนั้นระบบคู่จะต้องเป็นซากของดาวที่ก่อตัวและตายลงในแบบที่เป็นฝาแฝดแท้
แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดหลุมดำบางส่วนจึงมักจะมีมวลที่ 17 หรือ 35 เท่า
ประการที่สาม
ก็ยังไม่มีหลักฐานสำหรับช่องว่างมวลระดับสูง(upper mass gap) ผลนี้ต่างหากที่ผู้คนให้ความสนใจ
นักดาราศาสตร์ทำนายมานานแล้วว่าน่าจะมีสภาพขาดแคลนหลุมดำที่มีมวลระหว่าง 50
ถึง 120 เท่าดวงอาทิตย์
เนื่องจากดาวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างหลุมดำที่ใหญ่ขนาดนี้ ก็จะใหญ่มากพอที่จะฉีกตัวมันเองเมื่อตายลง(ในซุปเปอร์โนวาที่เรียกว่า
คู่ไร้เสถียรภาพ; pair-instability supernova) โดยไม่เหลือซาก(หลุมดำ) ทิ้งไว้
หลุมดำขนาดเกินปกติจากการเดินเครื่องสำรวจก่อนหน้านี้
กลับทำให้นักดาราศาสตร์ต้องงงงัน แต่แม้ว่าข้อมูลล่าสุดจะแสดงจำนวนหลุมดำเหนือ 45
เท่าดวงอาทิตย์ ที่ลดลง
แต่ก็ยังไม่ใช่บทสรุป และเราก็ยังไม่เห็นหลุมดำใดๆ ที่มีมวลเหนือระดับ 120 เท่าดวงอาทิตย์
จึงยังไม่พบขอบเขตขั้นสูงของช่องว่างสูงนี้จริงๆ
การคำนวณบอกว่าถ้าจะมีช่องว่างอยู่ มันจะเริ่มที่เหนือ 74 เท่าดวงอาทิตย์ สูงกว่าที่เคยคิดไว้
บางที
หลุมดำที่ใหญ่อย่างไม่คาดคิดอาจจะไม่ได้มาจากดาวฤกษ์ปกติ
แต่พวกมันเป็นหลุมดำรุ่นที่สองที่เกิดจากการควบรวมก่อนหน้านั้น
หรืออาจจะอ้วนขึ้นต้องขอบคุณก๊าซที่พวกมันกลืนเข้าไป
ลำดับเหตุการณ์ที่แตกต่างเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุให้หลุมดำหมุนรอบตัวในแบบที่แน่นอน
แต่โดยรวมแล้ว การตรวจสอบการหมุนรอบตัวก็ไม่ได้สนับสนุนทฤษฎีอย่างหนึ่งอย่างใดเลย
LVK จะกลับมาเดินเครื่องการสำรวจครั้งที่
4 ในช่วงปลายปี 2022
ซึ่งการอัพเกรดอาจจะเพิ่มจำนวนการตรวจจับขึ้นไปอีก
3 เท่า
เราอาจจะได้เห็นการเตือนถึง 5 ครั้งต่อสัปดาห์
Scott ซึ่งยังเป็นหัวหน้าที่ OzGrav(ARC Center
of Excellence for Gravitational Wave Discovery) กล่าวว่าการพัฒนาความไวเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงอย่างต่อเนื่อง
ได้ช่วยผลักดันการค้นพบที่เพิ่มขึ้นนี้
เทคโนโลจีใหม่กำลังช่วยให้เราได้สำรวจคลื่นความโน้มถ่วงได้มากกว่าที่เคยเป็นมา
เธอกล่าว เราก็ยังได้ตรวจพื้นที่ช่องว่างมวลหลุมดำสองช่วง
และทำการทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้มากขึ้น
สิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ
อีกอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาความไวของเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงอย่างคงที่นี้
ก็คือ นี่ก็จะช่วยนำไปสู่แหล่งคลื่นความโน้มถ่วงใหม่ๆ โดยสิ้นเชิง
ซึ่งบางส่วนอาจจะไม่เคยคาดฝันมาก่อน
เพิ่งจนตอนนี้ที่เราเพิ่งซาบซึ้งกับความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ของหลุมดำและดาวนิวตรอน
Christopher Berry อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์
สกอตแลนด์ ซึ่งมีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ กล่าวในแถลงการณ์
ผลสรุปล่าสุดของเราได้พิสูจน์แล้วว่าพวกมันมีหลายขนาดและการจับคู่
เราได้ไขปริศนาที่มีมานานบางส่วนพร้อมๆ กับที่พบปริศนาใหม่ๆ ด้วย ด้วยการใช้การสำรวจเหล่านี้
เรากำลังเข้าใจการไขปริศนาว่าดาวซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเอกภพนั้นพัฒนาอย่างไร
แหล่งข่าว phys.org
: scientists detect a “tsunami” of gravitational waves
skyandtelescope.com : third
gravitational-wave catalog released
sciencealert.com :
astronomers detect a “tsunami” of gravitational waves. Here’s where
they’re coming from
space.com : gravitational
wave treasure trove shows black holes, neutron stars colliding
iflscience.com : whopping
35 new black hole collisions spotted, including one merger mystery
No comments:
Post a Comment