ซุปเปอร์โนวาจากดาวดวงแรกๆ ในเอกภพน่าจะส่งธาตุหนักให้กับดาวรุ่นต่อๆ มาที่ก่อตัว
นักดาราศาสตร์ได้รายงานการค้นพบดาวฤกษ์ที่ขาดแคลนโลหะอย่างมากดวงใหม่อันเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ
S-PLUS(Southern Photometric Local Universe Survey) ดาวที่เพิ่งค้นพบใหม่ซึ่งมีชื่อย่างเป็นทางการว่า
SPLUS J210428.01-004934.2(เรียกสั้นๆ
ว่า SPLUS J2104-0049) ดูจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำที่สุดเท่าที่เคยพบมาในบรรดาดาวที่ขาดแคลนโลหะอย่างมาก
การค้นพบเผยแพร่เป็นรายงานใน Astrophysical Journal Letters และเผยแพร่ในเวบก่อนตีพิมพ์ arXiv
ดาวที่ขาดแคลนโลหะอย่างมาก(ultra-metal-poor
star; UMP) มีระดับของเหล็ก[Fe/H]
ต่ำกว่า -4 นั้นหาได้ยากมากๆ จึงพบวัตถุลักษณะนี้เพียง 34
ดวงจนถึงตอนนี้
นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจในการขยายบัญชีรายชื่อดาวขาดแคลนโลหะที่มีเพียงสั้นๆ นี้
เมื่อวัตถุเหล่านี้มีศักยภาพที่จะพัฒนาความรู้ของเราเกี่ยวกับวิวัฒนาการเคมีของเอกภพ
เชื่อกันว่าวิวัฒนาการในช่วงต้นของเอกภพขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดาวรุ่นแรกสุดที่ไม่มีโลหะเจือปนอยู่เลย
นั้นเป็นเพราะก่อนที่ดาวจะถือกำเนิดขึ้น
เอกภพยังเป็นซุปของไฮโดรเจนและฮีเลียมเกือบทั้งหมด ยังไม่มีธาตุหนักใดๆ เลย
เมื่อดาวดวงแรกๆ ก่อตัวขึ้น ก็จะมีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมด้วยเช่นกัน
ปฏิกิริยาฟิวชั่นในแกนกลางของดาวจะหลอมธาตุหนักขึ้นออกมา เริ่มต้นด้วย
ไฮโดรเจนหลอมเป็นฮีเลียม จากนั้นฮีเลียมก็กลายเป็นคาร์บอน และหลอมต่อไปเรื่อยๆ
จนได้เหล็กออกมา
ขึ้นอยู่กับมวลของดาวฤกษ์นั้น(ดาวที่มีขนาดเล็กที่สุดจะมีพลังงานไม่พอที่จะหลอมฮีเลียมให้กลายเป็นคาร์บอน)
แม้แต่ดาวที่มีมวลสูงที่สุดก็ไม่ได้มีพลังงานมากพอที่จะหลอมเหล็ก
และเมื่อแกนกลางเป็นเหล็กล้วนๆ ดาวก็ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา
การระเบิดครั้งใหญ่โตเหล่านั้นได้กระจายวัสดุสารที่หลอมขึ้นภายในดาวทั้งหมดออกสู่อวกาศใกล้ๆ นอกจากนี้ การระเบิดยังทรงพลังอย่างมากจนพวกมันสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นชุด ซึ่งจะยิ่งสร้างธาตุที่หนักขึ้นไปอีกเช่น ทองคำ, เงิน, ธอเรียม และยูเรเนียม ต่อมาเมื่อดาวฤกษ์ทารกก่อตัวขึ้นจากเมฆที่เจือปนด้วยวัสดุสารเหล่านี้ก็จะมีโลหะมากกว่าดาวรุ่นก่อนหน้า
ขณะนี้ นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่นำโดย Vinicius
M. Placco จาก NOIRLab(National
Optical-Infrared Astronomy Research Laboratory) ได้รายงานการเพิ่มดาวในบัญชี
UMPs ดาวฤกษ์ SPLUS
J2104-0049 ถูกจำแนกโดยการตรวจสอบปริมาณแสง(photometry)
S-PLUS ช่วงแคบ
และยืนยันโดยการตรวจสอบสเปคตรัมความละเอียดปานกลางและสูง เราได้รายงานการค้นพบ SPLUS J210428.01-004934.2 ดาวที่ขาดแคลนโลหะอย่างมาก(UMP)
ดวงแรกที่ถูกพบโดยการวัดปริมาณแสงช่วงแคบจากการเผยแพร่ข้อมูลครั้งที่
1 ของ S-PLUS
ในพื้นที่ SDSS stripe 82 การติดตามผลด้วยการตรวจสอบสเปคตรัมความละเอียดปานกลางและสูง(ด้วยเจมิไนใต้
และมาเจลลัน-เคลย์
ตามลำดับ) ได้ยืนยันประสิทธิผลของการสำรวจหาดาวที่มีความเป็นโลหะ(metallicity)
ต่ำ
โดยใช้การตรวจสอบปริมาณแสงช่วงแคบ S-PLUS นักวิจัยเขียนไว้ในรายงาน
SPLUS J2104-0049 เป็นดาวยักษ์แดงอยู่ห่างออกไปราว 16000 ปีแสงจากโลก และมีมวลที่ประมาณ 0.8 เท่ามวลดวงอาทิตย์ ดาวมีความเป็นโลหะที่ระดับ -4.03
และอุณหภูมิยังผล(effective
temperature; อุณหภูมิที่คำนวณได้จากพลังงานการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมดจากวัตถุดำ)
ประเมินได้ที่ 5000 เคลวิน การสำรวจได้พบว่า SPLUS
J2104-0049 แม้จะไม่ได้มีความเป็นโลหะต่ำที่สุดเท่าที่เคยพบ(ผู้ยึดครองสถิติคือ
SMSS J0313-6708) แต่มันก็มีระดับคาร์บอนที่ราว
4.34 นี่เป็นระดับคาร์บอนที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยพบในดาว
UMP และเปิดช่องทางใหม่ๆ
สู่กำเนิดของดาวนี้ ซึ่งบอกว่า SPLUS J2104-0049 อาจจะเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่สอง
นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่ามันอาจจะก่อตัวขึ้นในเมฆก๊าซก้อนหนึ่งที่ปนเปื้อนด้วยผลผลิตจากวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ต้นกำเนิดที่มีมวลประมาณ
30 เท่าดวงอาทิตย์
เป็นซุปเปอร์โนวาของประชากรดาวกลุ่ม 3(Population III Stars) ซึ่งมีการระเบิดด้วยพลังงานรุนแรงถึง 10^51
erg
นักวิจัยบอกว่ายังต้องสำรวจ
SPLUS J2104-0049
ต่อไปเพื่อยืนยันกำเนิดที่สันนิษฐานไว้และธรรมชาติของดาวเอง พวกเขาเสริมว่าการค้นพบจะพิสูจน์ว่าการสำรวจอย่าง
SPLUS น่าจะสร้างการค้นพบดาวที่ขาดแคลนโลหะอย่างมากเพิ่มเติมอีก
การค้นพบนี้เปิดความเป็นไปได้ในการค้นหาดาว UMP เพิ่มเติม
โดยตรงได้จากการสำรวจตรวจสอบปริมาณแสงช่วงแคบ
ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลในการขุดคุ้ยขุมวัตถุที่แปลกประหลาดเช่นนี้ในกาแลคซีของเรา
ผู้เขียนรายงานสรุปไว้
แหล่งข่าว phys.org
: researchers detect a new ultra-metal-poor star
sciencealert.com :
astronomers discover what could be one of the oldest stars in the known
universe
No comments:
Post a Comment