เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาฟ้าเปิด พระจันทร์อายุ 9 วันหลังเดือนมืด ผมใช้กล้องดูดาวสำรวจไล่ตามแนวรอยต่อของเงามืดและแสงสว่างบนดวงจันทร์
เจอหลุมเล็กๆหลุมนึงดูน่าสนใจ ด้านในหลุมมีเงาของแสงแดดส่องสลับกับเงามืด แสดงว่าขอบของหลุมจะต้องมีช่องว่างแสงถึงลอดมาได้ ในแผนที่ดวงจันทร์บอกชื่อหลุมคือ Kiesภาพซ้ายหลังจากเดือนมืด 9 วัน ภาพขวาหลังจากเดือนมืด 10 วัน คียส์พายเป็นเนินเขาเล็กๆตรงลูกศรชี้ ภาพโดยผู้เขียน |
ค้นไปค้นมาเครเตอร์ที่รูปร่างเหมือนแว่นขยายอันนี้ ไฮไลท์กลับเป็น เนินเขาเล็กๆที่กว่างราว 10 กิโลเมตร สูงแค่ 100 เมตร ทางทิศตะวันตกของหลุมคียส์ที่เรียกกันว่า Kies Pi
Kies Pi เป็นเหมือนกับภูเขาไฟแบบโล่บนโลก ภูเขาไฟแบบโล่คือภูเขาไฟที่ไม่มีการประทุระเบิด แต่มีลาวาไหลออกมาทำให้เกิดเป็นเนินเขาเล็กๆเตี้ยๆ ในบ้านเราก็มีหลายที่อย่างเช่น ภูเขาไฟกระโดงที่บุรีรัมย์
แต่คืนนี้ Kies Pi ยังอยู่ในเงามืด ผมต้องรออีกหนึ่งคืน การดูดวงจันทร์ทำให้รู้จักการรอคอย
ในคืนต่อมาผมใช้กล้องดูดาว 8” ทางยาวโฟกัส 2400มม ที่กำลังขยายปานกลางก็มองเห็นภูเขาไฟหรือที่เรียกว่า Lunar Domes แม้ว่าจะดูยากสักนิด เพราะเป็นเนินเตี้ยๆ ที่ไม่ค่อยเงามาสร้างมิติ ที่ไม่อยากเชื่อก็คือเห็นจุดดำๆที่เป็นปากปล่องภูเขาไฟตรงกลางรางๆ
นอกจาก Kies Pi แล้วยังมี Lunar Dome แบบนี้ให้เก็บไอเท็มอีกหลายตัวเหมือนกันลองดูตามบทความ
A little guide to Lunar Domes โดย Bob King จากเวบไซท์ skyandtelescope.org
Domes แต่ละตัวก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจต่างกันและต้องดูกันหลายคืน
หากคุณมีกล้องดูดาวและกำลังเบื่อว่าไม่รู้จะดูอะไรดี ผมแนะนำว่าลองล่าไอเท็ม Lunar Dome แบบผมก็ได้ จะทำให้การดูดาวมีเป้าหมาย ได้พบอะไรใหม่ๆ แล้วก็สนุกขึ้นด้วย
ลองดูครับ
No comments:
Post a Comment