ภาพจากศิลปินแสดงดาวเทียมสวิฟท์ของนาซาตรวจจับรังสีเอกซ์ได้จากการปะทุรังสีแกมมาเหตุการณ์หนึ่ง
นักดาราศาสตร์ที่ใช้เครือข่ายพิเศษในนามิเบียได้บันทึกแสงเรืองไล่หลัง(afterglow)
จากการปะทุรังสีแกมมาที่ทรงพลังที่สุดและยาวนานที่สุด
จากการปะทุรังสีแกมมาที่สว่างที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง
ในวันที่ 29 สิงหาคม 2019 การปะทุรังสีแกมมาแบบยาว(long gamma-ray
burst) เหตุการณ์หนึ่งซึ่งถูกสร้างจากไอพ่นวัสดุสารที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง
ได้ปล่อยออกจากการยุบตัวของดาวฤกษ์มวลสูงดวงหนึ่ง เหตุการณ์นี้ซึ่งเรียกว่า GRB
190829 A ถูกพบโดยดาวเทียมเฟอร์มีและสวิฟท์ในทิศทางของกลุ่มดาวแม่น้ำ(Eridanus) ซึ่งติดตามผลในเวลาไม่นานโดย HESS(High
Energy Stereoscopic System) ทันทีที่เริ่มเห็นแสงเรืองไล่หลัง
การตอบสนองที่เร็วและความจริงที่ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นค่อนข้างใกล้(1
พันล้านปีแสง)
ก็ให้แง่มุมที่ไม่น่าเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ แสงเรืองไล่หลังเกิดขึ้นนาน
3 วันหลังจากการปะทุรังสีแกมมาเริ่มต้น
ซึ่งเครือข่ายสำรวจแสงเรืองเป็นเวลารวม 13 ชั่วโมง
และก็บันทึกรังสีแกมมาได้ในระดับถึง 1 ล้านล้านเท่าของแสงช่วงตาเห็น(ระดับพลังงาน
3.3 เทร่าอิเลคตรอนโวลท์)
ตามที่รายงานใน Science วันที่ 3
มิถุนายน การสำรวจได้เผยให้เห็นว่าการเปล่งคลื่นในแสงเรืองไล่หลังตั้งแต่
รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา สลัวลงพ้องกัน บอกใบ้ว่ากระบวนการสร้างเป็นกระบวนการร่วม
Andrew Taylor ผู้เขียนร่วม จาก DESY(Deutsches
Elektronen-Synchrotron) กล่าวในแถลงการณ์ว่า
เรากำลังนั่งอยู่แนวหน้าเมื่อการปะทุรังสีแกมมานี้เกิดขึ้น
เรายังสำรวจพบแสงเรืองไล่หลังไปอีกหลายวัน และมีพลังงานถึงระดับรังสีแกมมา Sylvia
Zhu จาก DESY เช่นกัน กล่าวเสริมว่า
การสำรวจของเราเผยให้เห็นความคล้ายคลึงอย่างน่าฉงนระหว่างการเปล่งคลื่นในช่วงรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาพลังงานสูงมาก
จากแสงเรืองไล่หลังของการปะทุ
นี่เป็นการสำรวจที่น่าตื่นเต้นเป็นพิเศษเนื่องจากทฤษฎีนำได้บอกว่ารังสีเอกซ์และรังสีแกมมาถูกสร้างขึ้นโดยกลไกที่แตกต่างกัน
2 อัน
แต่แนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กล้องโทรทรรศน์ได้เห็นที่นี่ Dmitry
Khangulyan ผู้เขียนร่วมจากมหาวิทยาลัยริคเคียวในกรุงโตเกียว
บอกว่า มันออกจะคาดไม่ถึงที่ได้สำรวจพบคุณลักษณะทางสเปคตรัมและด้านเวลาในช่วงพลังงานรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาพลังงานสูง
นั้นคล้ายคลึงกันอย่างมาก
ถ้าการเปล่งคลื่นในช่วงพลังงานทั้งสองเหล่านี้มีกำเนิดที่แตกต่างกัน นี่สร้างความท้าทายให้กับกำเนิดรังสีแกมมาพลังงานสูงมาก
จากซิงโครตรอนที่เกิดปรากฏการณ์คอมป์ตันด้วยตัวมันเอง(self-Compton)
Edna Ruiz-Velasco
นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อฟิสิกส์นิวเคลียร์ในไฮเดลแบร์ก
ผู้เขียนร่วม กล่าวในแถลงการณ์ฉบับเดียวกันว่า
สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับการปะทุรังสีแกมมานี้ก็คือ มันเกิดขึ้นในละแวกหลังบ้านของเรา
ที่ซึ่งโฟตอนพลังงานสูงมากไม่ถูกดูดกลืนในการชน(ของโฟตอน) กับแสงที่พื้นหลัง
ในระหว่างเดินทางมายังโลก
ตามที่เกิดขึ้นได้เมื่อเดินทางระยะไกลกว่าข้ามห้วงอวกาศมา
ภาพจากศิลปินแสดงไอพ่นสัมพัทธภาพที่อุดมไปด้วยโฟตอนพลังงานสูงมากจากการปะทุรังสีแกมมาเหตุการณ์หนึ่ง
กำลังพุ่งทะยานออกจากดาวฤกษ์ที่กำลังยุบตัวดวงหนึ่ง
GRB 190829A เป็นการปะทุรังสีแกมมาเพียงเหตุการณ์ที่ 4
เท่านั้นที่ถูกพบโดยภาคพื้นดิน
สามเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นเกิดขึ้นไกลกว่าอย่างมาก
จึงสำรวจแสงเรืองไล่หลังของพวกมันได้ในช่วงเวลาที่สั้นกว่า
และพวกมันก็ดูเหมือนจะอ่อนแรงกว่าอย่างมาก(ไม่ถึงระดับเทร่าอิเลคตรอนโวลท์)
ดังนั้นจึงไม่สามารถทำการวิเคราะห์รายละเอียดได้ แต่เห็นได้ชัดเจนว่า HESS และเครื่องมืออื่นสามารถศึกษาเหตุการณ์เหล่านี้ในรายละเอียดที่สูงได้
Stefan Wagner โฆษกกลุ่ม HESS จาก หอสังเกตการณ์แห่งรัฐ ในไฮเดลแบร์ก กล่าวว่า
เมื่อมองไปในอนาคต
ความคาดหวังที่จะตรวจสอบการปะทุรังสีแกมมาโดยเครื่องมือรุ่นถัดไปอย่าง
เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์เชเรนคอฟ ซึ่งกำลังก่อสร้างในเทือกเขาแอนดีส ชิลี และบนลา
พัลมา เกาะคานารี ก็น่าจะประสบความสำเร็จ
ปริมาณของการปะทุรังสีแกมมาโดยรวมจะนำเราให้คาดหวังว่าการตรวจจับในช่วงพลังงานสูงมาก
จะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอค่อนข้างเป็นปกติ
ซึ่งจะช่วยเราให้เข้าใจฟิสิกส์ของพวกมันอย่างเต็มที่
แหล่งข่าว iflscience.com
: the most energetic and longest gamma-ray burst afterglow ever has been
detected
space.com : weird nearby
gamma-ray burst defies expectations
phys.org : front-row view
reveals exceptional cosmic explosion
No comments:
Post a Comment