Thursday 26 November 2020

NGC253 อีกครั้ง

 


ภาพสเก็ทช์ NGC253
เทคนิคดินสอดำบนกระดาษขาวแล้วกลับค่าสีด้วยคอมพิวเตอร์


เดือนมืดที่ผ่านมา ได้แวะไปชม NGC253 แกแลกซี่ต่างกลุ่มที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดอีกรอบ คราวนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะดูด้วย Takahashi Mewlon 210 ที่ภูสวนทราย ที่นี่ฟ้ามืดมากแต่ก็ชื้นมาก แต่สำหรับ Visual Observer ความชื้นไม่น่ากลัวเท่ากับ Haze

กาแลกซี่เป็นออบเจคที่ไวต่อหมอกควัน (haze) และ light pollution มาก ฟิลเตอร์ต่างๆก็ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น แต่หากได้ฟ้าที่มืดสนิทดี มีคอนทราสดี กาแลกซี่จะเป็นออบเจคที่ดูที่สุดประเภทหนึ่ง มีรายละเอียดมากจนคาดไม่ถึง

Mewlon 210 มีทางยาวโฟกัส 2415 มม เรียกว่าค่อนข้างยาว กล้องเล็งแบบตรงที่ติดมาทำหน้าที่เป็นมือจับไปด้วยในตัว แต่ก็เป็นข้อเสียที่เปลี่ยนไม่ได้ ทำให้ไม่เหมาะกับการฮอบนัก สิ่งที่มีชื่อเสียงมากของ Mewlon ก็คือ Contrast ที่ดีมาก จากที่เห็นก็สมคำลำลือ เหมาะกับ Visual Astronomy อย่างยิ่ง

ภาพนี้ผมสเก็ทช์ที่กำลังขยายต่ำที่สุดที่มีคือ 80 เท่า ที่นี่แม้จะชื้น แต่ NGC253 ก็สว่างมาก ท้องฟ้าเป็นสีดำสนิท ถึงจะเป็นจ้ำเล็กน้อยเพราะอากาศชื้น แต่คอนทราสก็ดีมากจนขับรายละเอียดของใจกลางกาแลกซี่ออกมาแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เปรียบเทียบสิ่งที่เห็นจากกล้องดูดาวคนละตัวและต่างสถานที่
[คลิกภาพเพื่อขยาย]

ผมเคยดู 253 หรือ สตรับเจอร์มาหลายครั้งมีสเก็ทช์ที่เคยดูจากกล้องดูดาวต่างกัน ต่างสถานที่มาให้เปรียบเทียบว่ามองเห็นเป็นอย่างไร ภาพที่ได้รายละเอียดน้อยที่สุดก็เป็น Borg 101 ED กล้องดูดาวหักเหแสงขนาด 4” ED ที่มองเห็นแค่เป็นขีด ใจกลางสว่าง ไม่มีรายละเอียด

ส่วน GSO 8” ภาพนี้ดูที่บ้านหมี่ ฟ้าสว่างเทียบไม่ได้กับภูสวนทรายแต่ก็นับว่าพอมีรายละเอียดเล็กน้อย เรียกว่าดีทีเดียวครับ

อ่านเรื่องราวของ NGC253 เพิ่มเติมจาก [โพสต์เก่า] ครับ

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...