ไททัน(Titan) พิภพที่แปลกพิสดารมากอยู่แล้ว
ก็ยิ่งพิสดารขึ้นไปอีกหน่อยเมื่อนักดาราศาสตร์ได้ตรวจพบ ไซโคลโพร-เพนนิลลิดีน
(cyclopropenylidene; C3H2) ซึ่งเป็นโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่พบได้ยากมากๆ
ในชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ เป็นโมเลกุลที่กระตือรือร้นมาก
จนพบได้เฉพาะในสภาวะในห้องทดลองบนโลกเท่านั้น
ในความเป็นจริง มันพบได้ยากมากๆ
จนไม่เคยตรวจพบในชั้นบรรยากาศไหนๆ ในระบบสุริยะหรือที่อื่นๆ มาก่อนเลย อีกที่ที่พบว่ามันอยู่อย่างเสถียรได้ก็คือในความเวิ้งว้างที่เย็นเยือกของห้วงอวกาศเท่านั้น
แต่มันก็อาจจะเป็นวัตถุดิบสำหรับโมเลกุลอินทรีย์เชิงซ้อนมากขึ้น
ซึ่งวันหนึ่งอาจพัฒนาไปเป็นชีวิต Melissa Trainer นักดาราศาสตร์ชีววิทยาที่ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดของนาซา
หนึ่งในหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่สำรวจไททันในปฏิบัติการดรากอนไฟล์(Dragonfly)
ที่จะส่งออกสู่อวกาศในปี 2027
เรากำลังมองหาโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่กว่า C3H2 แต่เราต้องทราบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในชั้นบรรยากาศของมัน เพื่อให้เข้าใจปฏิกิริยาเคมีที่นำไปสู่โมเลกุลอินทรีย์เชิงซ้อนที่ก่อตัวและตกเป็นฝนลงสู่พื้นผิว ไซโคลโพรเพนนิลลิดีนซึ่งแม้แต่นักวิจัยนาซายังบอกว่าเป็นโมเลกุลเล็กที่ประหลาดมากๆ จะไม่อยู่นานในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากมันเกิดปฏิกิริยาได้รวดเร็วมากและง่ายมากๆ ด้วยโมเลกุลอื่น เพื่อก่อตัวสารประกอบอื่น
และเมื่อมันเกิดปฏิกิริยาขึ้นมา
ก็จะไม่มีไซโคลโพรเพนนิลลิดีนอีกต่อไป ในห้วงอวกาศ ก๊าซหรือฝุ่นใดๆ มักจะเย็นมากๆ
และเบาบางมากๆ ซึ่งหมายความว่าสารประกอบจะไม่ได้เกิดปฏิกิริยากันมากนัก
และจึงมีไซโคลโพรเพนนิลลิดีนเหลืออยู่
แต่ไททันนั้นแตกต่างอย่างมากกับห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว
มันค่อนข้างจะชื้นแฉะด้วยทะเลสาบไฮโดรคาร์บอน, เมฆไฮโดรคาร์บอน, แม่น้ำและฝน
และชั้นบรรยากาศที่อุดมด้วยไนโตรเจน โดยมีมีเธนอยู่ไม่น้อย
ชั้นบรรยากาศนั้นหนาแน่นกว่าชั้นบรรยากาศโลก 4 เท่า(ซึ่งก็อุดมด้วยไนโตรเจนด้วยเช่นกัน)
ข้างใต้พื้นผิว นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามีมหาสมุทรของน้ำเกลือขนาดมหึมาอยู่
ในปี 2016 ทีมที่นำโดย Conor Nixon นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดของนาซา
ได้ใช้ ALMA(Atacama Large Millimeter/submillimeter Array) ในชิลี เพื่อตรวจสอบชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์นี้
เพื่อมองหาโมเลกุลอินทรีย์
และก็พบสัญญาณสารเคมีที่ไม่ทราบชนิดอยู่ในชั้นบรรยากาศส่วนบนที่เบาบาง
สูงจากพื้นผิวขึ้นไป ด้วยการเปรียบเทียบสัญญาณกับฐานข้อมูลคุณสมบัติของสารเคมี
ทีมได้จำแนกโมเลกุลว่าเป็นไซโคลโพรเพนนิลลิดีน
เป็นไปได้ที่ความเบาบางในชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงดังกล่าว
มีผลต่อการอยู่รอดของโมเลกุลนี้
แต่เพราะเหตุใดมันจึงปรากฏบนไททันและไม่พบบนพิภพอื่นๆ ก็ยังเป็นปริศนา
เมื่อผมตระหนักว่าผมกำลังได้เห็นไซโคลโพรเพนนิลลิดีน ความคิดแรกก็คือ
นี่มันไม่คาดฝันจริงๆ Nixon กล่าว
ไททันเป็นสถานที่ที่เป็นอัตลักษณ์ในระบบสุริยะ มันได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นขุมสมบัติของโมเลกุลใหม่ๆ
เพื่อตรวจสอบซ้ำว่านักวิจัยได้พบสารประกอบที่ไม่ปกติชนิดนี้จริงๆ
Nixon ได้กลั่นกรองรายงานการวิจัยที่เผยแพร่จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากยานคาสสินี
ซึ่งทำการบินผ่านไททันในระยะใกล้ 127 ครั้งระวห่างปี
2004 ถึง 2017
เขาต้องการจะหาว่าเครื่องมือชิ้นหนึ่งบนยาน
พบสารประกอบนี้รอบดาวเสาร์และไททันหรือไม่เพื่อยืนยันผลสรุปใหม่(เครื่องมือดังกล่าว
คือ สเปคโตรมิเตอร์มวล; mass spectrometer)
เครื่องมือได้ตรวจสอบโมเลกุลปริศนาจำนวนมากบนไททันซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงพยายามจำแนกโมเลกุลเหล่านั้นอยู่
จริงๆ แล้ว คาสสินีได้พบหลักฐานโมเลกุลนี้ในรูปแบบมีประจุไฟฟ้า(C3H3+)
มันเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่แปลกประหลาดจริงๆ
มันไม่ใช่โมเลกุลในแบบที่คุณจะได้เรียนในวิชาเคมีมัธยมปลายหรือแม้แต่เคมีของปริญญาตรี
Michael Malaska นักวิทยาศษสตร์ดาวเคราะห์
JPL ซึ่งทำงานที่บริษัทยาก่อนที่จะตกหลุมรักไททันและหันเหมาศึกษามัน
กล่าว บนโลกนี่ คุณแทบจะไม่ได้เฉียดใกล้โมเลกุลนี้เลย
แต่เขาก็บอกว่าการพบโมเลกุลอย่างไซโคลโพรเพนนิลลิดีน
เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการมองภาพกว้างๆ ของไททัน ชิ้นส่วนขนาดเล็กทุกๆ
ชิ้นที่คุณได้ค้นพบจะช่วยคุณให้ต่อภาพปริศนาขนาดใหญ่ของทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่นั้น
ไซโคลโพรเพนนิลลิดีนยังมีความน่าสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่ามันเป็นโมเลกุลวงแหวน
กล่าวคือ คาร์บอนทั้ง 3 อะตอมจับกันเป็นวงแหวน(จริงๆ
เป็นสามเหลี่ยม แต่ตามกฎก็เหตุผลเดียวกัน) แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันว่าไซโคลโพรเพนนิลลิดีนเองไม่ได้มีบทบาทในทางชีววิทยา
แต่นิวคลีโอเบส(nucleobase หรือเรียกอีกชื่อว่า
ไนโตรจีนัสเบส; nitrogenous base) ของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ
ก็มีพื้นฐานจากโมเลกุลวงแหวนเหล่านี้
ธรรมชาติอันเป็นวงแหวนของพวกมันทำให้ต้องมีวิชาเคมีที่จำเพาะ
ซึ่งช่วยให้เราได้สร้างโมเลกุลที่สำคัญๆ ในทางชีววิทยา Alexander Thelen นักดาราศาสตร์ชีววิทยาที่กอดดาร์ด กล่าว
ยิ่งโมเลกุลมีขนาดเล็กเท่าใด มันก็ยิ่งมีศักยภาพสูง
ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับโมเลกุลขนาดเล็กที่มีพันธะไม่มาก
จะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับโมเลกุลขนาดใหญ่กว่า, ซับซ้อนกว่า
นี่หมายความว่าปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับโมเลกุลขนาดเล็กแค่เฉพาะจากจำนวนที่เกิด
ก็น่าจะสร้างผลิตผลที่หลากหลายได้มากกว่า
ก่อนหน้านี้ คิดกันว่า เบนซีน(benzene;
C6H6) เป็นโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนวงแหวนที่เล็กที่สุดที่พบในชั้นบรรยากาศใดๆ(ซึ่งรวมถึงไททันด้วย)
แต่ไซโคลโพรเพนนิลลิดีนก็เอาชนะได้
เป็นที่ทราบกันดีว่าไททันนั้นเป็นดงของกิจกรรมทางเคมีอินทรีย์เลยทีเดียว
ไนโตรเจนและมีเธนแตกตัวภายใต้แสงอาทิตย์ อะตอมที่ได้หน่วงนำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่แตกแขนงออกไป
แต่ว่าปฏิกิริยาเหล่านั้นจะให้ผลเป็นชีวิตหรือไม่ก็ยังเป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์อยากรู้คำตอบ
เรากำลังพยายามจะระบุให้ได้ว่าไททันนั้นเอื้ออาศัยหรือไม่
Rosaly Lopes นักธรณีวิทยาจากห้องทดลองไอพ่นขับดัน(JPL)
ของนาซา
ดังนั้นเราจึงต้องการจะทราบว่ามีสารประกอบอะไรจากชั้นบรรยากาศลงมาที่พื้นผิวบ้าง
และหลังจากนั้น
วัสดุสารเหล่านั้นสามารถหาทางผ่านเปลือกน้ำแข็งลงไปถึงมหาสมุทรด้านล่างได้หรือไม่
เนื่องจากเราคิดว่ามหาสมุทรเป็นที่ที่มีสภาวะเอื้ออาศัยได้อยู่
ชนิดของโมเลกุลที่อาจมีบนพื้นผิวไททันก็น่าจะเหมือนกับที่ก่อตัวสารตั้งต้นของชีวิตบนโลก
ในช่วงต้นเมื่อ 3.8 ถึง 2.5
พันล้านปีก่อน
เมื่อชั้นบรรยากาศโลกมีมีเธนแทนที่จะเป็นออกซิเจน
นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าสภาวะในช่วงเวลานั้นก็น่าจะคล้ายคลึงกับที่เป็นบนไททันในตอนนี้
เราคิดว่าไททันเป็นเหมือนห้องทดลองในชีวิตจริงที่เราจะสามารถเห็นกระบวนการทางเคมีคล้ายๆ
กับที่เกิดบนโลกยุคโบราณ เมื่อจะสร้างชีวิตขึ้นมา Trainer กล่าว
การระบุว่าสารประกอบใดที่มีในชั้นบรรยากาศจึงเป็นก้าวที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการวิจัยเหล่านั้น
ไซโคลโพร-เพนนิลลิดีนอาจจะมีขนาดเล็กและประหลาด
แต่โมเลกุลที่หายากมากๆ นี้ก็อาจเป็นกุญแจหลักในปริศนากระบวนการทางเคมีบนไททัน
ขณะนี้เราแค่ต้องระบุให้ได้ว่ามันไปอยู่ตรงส่วนไหน งานวิจัยเผยแพร่ใน Astronomical
Journal วันที่ 15
ตุลาคม
แหล่งข่าว sciencealert.com
: “weird” molecule detected on Titan has never
been found in any atmosphere
nasa.gov : NASA
scientists discover “weird” molecule in Titan’s atmosphere
No comments:
Post a Comment