Thursday 12 November 2020

Messier 30

 





แม้อากาศเย็นแต่ความชื้นจากสารพัดพายุที่พัดถล่มเข้ามายังไม่หมดไปง่าย สองสามวันก่อนฟ้าเปิดให้วันสองวันแต่ผ้าก็ยังขุ่นไม่ใสอย่างที่ควร ฟอร์มาฮัลท์กับสี่เหลี่ยมใหญ่เพกาซัสแม้จะมองเห็นแต่ก็ริบหรี่

คืนนี้ค่อนข้างจะช้าไปหน่อยสำหรับแมสซายเออร์ 30 ที่อยู่ในกลุ่มดาวราศีมังกรที่ตกไล่หลังราศีธนูตอนหัวค่ำ แมสซายเออร์ 30 เป็นกระจุกดาวทรงกลมไม่ได้อยู่ในลิสต์ไหนๆขอผมมาก่อน

ก่อนหน้าผมไปตรวจสอบเนบิวล่าดาวเคราะห์ NGC7009 ที่มีรูปร่างเหมือนดาวเสาร์ว่าจะมองเห็นจากที่บางพลีหรือเปล่า แล้วบังเอิญเห็นแมสซายเออร์ 30 ในแผนที่ว่าห่างไปแค่ 15 องศาทางตะวันออกเฉียงใต้

แมสซายเออร์ 30 สว่างกว่าที่คิดมาก ถึงฟ้าไม่ดีนักก็ยังดูได้จากกล้องหักเหแสง 4” ง่ายๆ เรียกว่าสว่างใกล้เคียงกับ M2 และ M15 ทีเดียว หากฟ้าดีพอก็ควรจะมองเห็นได้ขากกล้องสองตา 10x50

สิ่งที่เอ็ม 30 ดูแปลกไปกว่าตัวอื่นก็คือ มีรูปทรงรีชัดเจน แกนกลางสว่างเป็นทรงยาววางตามแนว ตะวันออก ตะวันตก มีใจกลางที่กลมและสว่างมาก ผมดูด้วยกล้องแบบผสม 8” f11 พอจะแยกภาพออกเป็นเม็ดดาวได้ที่กำลังขยาย 320 เท่า

ที่แกนกลางมีดาวสีห้าดวงเรียงเป็นแถวยาว และมีสองสามดวงเรียงเป็นสร้อยจากใจกลางขึ้นไปทางทิศเหนือ เชื่อว่าหากฟ้าดีกว่านี้ น่าจะเป็นอีกตัวที่น่าชม

เป็นอีกหนึ่งตัวที่บังเอิญเจอและดูดีทีเดียวครับ

สำหรับการฮอบหากอยู่ในเมืองเป็นความท้าทายเพราะกลุ่มดาวราศีมังกรดูได้ยากยิ่งจากในเมือง ต้องเปิดแผนที่คลำทางมาให้เจอ ซีต้า แคปปริโคนี่ เอ็มสามสิบจะอยู่ห่างไปทางตะวันออกสามองศาเศษ อยู่ใกล้ดาว 41 แคปปริโคนี่





ข้อมูลเบื้องต้น
กลุ่มดาว: Capriconus 
Catalog No.: Messier 30, NGC 7099 
ประเภท: Globular Cluster 
Visual Magnitude: +7.12 
dia: 12 arcmin 
ระยะทางจากโลก: 2600 ly 
R.A.: 21h 41m 28.06s 
Dec.: -23° 05’ 27.3”

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...