การสำรวจที่น่าสนใจจากกล้องฮับเบิลนี้
แสดงกาแลคซีที่ถูกขยายด้วยเลนส์ความโน้มถ่วงแห่งหนึ่งโดยมีชื่อยาวๆ SGAS
J143845+145407 เลนส์ความโน้มถ่วงเป็นผลให้เกิดภาพกาแลคซีเหมือนภาพในกระจกที่ใจกลางภาพนี้
สร้างเป็นชิ้นงามที่สวยงามจับตา
ปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง(gravitational
lensing) เกิดขึ้นเมื่อวัตถุมวลสูงเช่น
กระจุกกาแลคซี ทำให้กาลอวกาศเกิดการบิดโค้ง เส้นทางเดินของแสงที่เกิดขึ้นใกล้วัตถุจึงเหมือนเลี้ยวเบนได้
ราวกับมันทำหน้าที่เหมือนเลนส์ วัตถุที่ทำให้แสงเลี้ยวเบน จะเรียกว่า
วัตถุที่เป็นเลนส์(gravitational lens) และวัตถุที่พื้นหลังที่(แสง)
ถูกบิดเบือนก็เรียกว่า วัตถุที่เกิดปรากฏการณ์เลนส์(lensed) เลนส์ความโน้มถ่วงอาจเป็นผลให้เกิดภาพซ้ำ(multiple
images) จากกาแลคซีเดิม
ดังที่เห็นในภาพนี้ หรือกับวัตถุที่พื้นหลังให้ปรากฏเป็นวงโค้ง(arc) เบี้ยวๆ หรือกระทั่งวงแหวน(ring) ผลสำคัญอีกประการของการเกิดเลนส์นี้ก็คือ การขยายแสง(magnify)
ช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้สำรวจวัตถุที่ปกติน่าจะอยู่ห่างไกลเกินไป
หรือสลัวเกินกว่าจะเห็นได้
กล้องฮับเบิลมีพันธกิจพิเศษในการตรวจจับกาแลคซีที่เกิดปรากฏการณ์เลนส์
ความไวและสายตาที่แจ่มแจ๋วของกล้องช่วยให้มันได้มองเห็นเลนส์ความโน้มถ่วงสลัวและห่างไกล
ซึ่งไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน เนื่องจากชั้นบรรยากาศของโลกทำให้ภาพเบลอ
ฮับเบิลจึงเป็นกล้องโทรทรรศน์ตัวแรกที่เปิดเผยรายละเอียดภายในภาพกาแลคซีที่ถูกบิดและขยายด้วยเลนส์
และยังสามารถถ่ายภาพทั้งรูปร่างและโครงสร้างภายในกาแลคซีนั้นๆ ได้
กาแลคซีที่ถูกบิดขยายด้วยเลนส์ที่พิเศษมากแห่งนี้ มาจากการสำรวจของกล้องฮับเบิลชุดหนึ่งซึ่งใช้ประโยชน์จากการเกิดเลนส์ความโน้มถ่วงเพื่อเจาะหากาแลคซีในเอกภพยุคต้น
การเกิดเลนส์เผยให้เห็นรายละเอียดของกาแลคซีที่ห่างไกลซึ่งไม่น่าจะได้เห็น
และช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้ตรวจสอบการก่อตัวดาวในกาแลคซียุคต้นเหล่านี้
ซึ่งจะให้แง่มุมแก่นักวิทยาศาสตร์ว่าวิวัฒนาการโดยรวมของกาแลคซี เป็นอย่างไร
แหล่งข่าว esahubble.org
: lens flair
No comments:
Post a Comment