ภาพซ้าย: ดาวพฤหัสฯ อยู่กลางภาพ กับดวงจันทร์ยูโรปา, ธีบี และเมทิส เมื่อมองผ่านฟิลเตอร์ 2.12 ไมครอนจาก NIRCam ของกล้องเวบบ์ ขวา: ดาวพฤหัสฯ กับยูโรปา, ธีบีและเมทิส เมื่อมองผ่านฟิลเตอร์ 3.23 ไมครอนของ NIRCam
ใต้ความคึกคักจากการเผยแพร่ภาพชุดแรกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์
ขณะนี้ก็มีการเผยแพร่ข้อมูลจากช่วงการทดสอบการทำงานของกล้อง(commissioning)
จากคลังข้อมูลมิคัลสกี้ของสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ
ข้อมูลเหล่านี้รวมทั้งภาพดาวพฤหัสฯ และภาพและสเปคตรัมของดาวเคราะห์น้อยอีกหลายดวง
ที่ทำเพื่อทดสอบเครื่องมือบนกล้องก่อนที่จะดำเนินงานทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการซึ่งเริ่มต้นในวันที่
12 กรกฎาคม ข้อมูลที่ได้แสดงถึงความสามารถของกล้องเวบบ์ในการตามรอยเป้าหมายในระบบสุริยะและผลิตภาพและสเปคตรัมด้วยรายละเอียดที่สูงจนไม่น่าเชื่อ
ผู้หลงใหลในดาวพฤหัสฯ
คงสังเกตเห็นรายละเอียดที่คุ้นเคยบางอย่างบนดาวเคราะห์ดวงยักษ์ในภาพซึ่งมองผ่านสายตาของกล้องเวบบ์นี้
ภาพจากฟิลเตอร์ความยาวคลื่นสั้นของ NIRCam ได้แสดงแถบ(band)
ต่างๆ ที่ล้อมรอบดาวเคราะห์
เช่นเดียวกับจุดแดงใหญ่(Great Red Spot) ซึ่งเป็นพายุขนาดใหญ่ที่ใส่โลกทั้งใบเข้าไปได้
จุดอันเป็นเอกลักษณ์ปรากฏเป็นสีขาวในภาพนี้
เนื่องจากกระบวนการทำภาพอินฟราเรดของเวบบ์
เมื่อรวมกับภาพห้วงลึกที่เผยแพร่เมื่อหลายวันก่อน
ภาพดาวพฤหัสได้แสดงให้เห็นศักยภาพเต็มๆ ที่กล้องเวบบ์จะสามารถสำรวจได้
ตั้งแต่กาแลคซีที่ห่างไกลที่สุดและสลัวที่สุดเท่าที่จะสำรวจได้
จนถึงดาวเคราะห์ในละแวกใกล้ๆ ที่คุณสามารถมองเห็นไดด้วยตาเปล่า Bryan
Holler นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศในบัลติมอร์
มารีแลนด์ ซึ่งช่วยวางแผนการสำรวจ กล่าว
ที่เห็นได้ชัดเจนทางซ้ายก็คือ ยูโรปา(Europa)
ดวงจันทร์ที่อาจมีมหาสมุทรอยู่ข้างใต้เปลือกน้ำแข็งหนาของมัน
และเป็นปลายทางของปฏิบัติการยูโรปา คลิปเปอร์(Europa Clipper) ของนาซาที่จะออกบินในอนาคต ยิ่งกว่านั้น
เงาของยูโรปายังทอดลงทางซ้ายของจุดแดงใหญ่ ดวงจันทร์อีกดวงที่เห็นได้ในภาพเหล่านี้
รวมถึง ธีบี(Thebe) และ เมทิส(Metis)
ด้วย ฉันแทบไม่เชื่อว่าเราจะเห็นทุกอย่างชัดเจนมาก
และสว่างมาก Stephanie Milam รองนักวิทยาศาสตร์โครงการเพื่อวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของกล้องเวบบ์
ที่ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด กล่าว
มันน่าตื่นเต้นที่จะคิดว่าเราจะมีความสามารถและโอกาสที่จะได้สำรวจวัตถุลักษณะนี้ในระบบของเรา
นักวิทยาศาสตร์กระหายที่จะได้เห็นภาพเหล่านี้เป็นพิเศษ
เนื่องจากพวกมันจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าเวบบ์สามารถสำรวจดวงจันทร์บริวารและวงแหวนที่อยู่ใกล้วัตถุสว่างในระบบสุริยะเช่น
ดาวพฤหัสฯ, ดาวเสาร์ และดาวอังคารได้ นักวิทยาศาสตร์จะใช้เวบบ์เพื่อหาคำตอบว่า
เราจะมองเห็นพวยพุวัสดุสารที่พ่นออกจากดวงจันทร์อย่างยูโรปาและดวงจันทร์เอนเซลาดัส(Enceladus)
ของดาวเสาร์ได้หรือไม่
เวบบ์อาจจะสามารถเห็นกระทั่งร่องรอยของวัสดุสารที่พวยพุทิ้งไว้บนพื้นผิวยูโรปาด้วย
นอกจากนี้ เวบบ์ยังจับภาพวงแหวนดาวพฤหัสฯ
บางส่วนไว้ได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งปรากฏอย่างเด่นชัดในภาพผ่านฟิลเตอร์ความยาวคลื่นยาวของ NIRCam วงแหวนเหล่านั้นปรากฎในภาพแรกๆ
จากระบบสุริยะจากกล้องเวบบ์นั้นอัศจรรย์และน่าทึ่งจริงๆ Milam กล่าว
ภาพดาวพฤหัสฯ ในฟิลเตอร์ช่วงแคบๆ
ถูกออกแบบมาให้ได้ภาพดิสก์ดาวเคราะห์ทั้งดวง
แต่ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมจำนวนมากเกี่ยวกับวัตถุที่สลัวมากเช่น เมทิส, ธีบี,
วงแหวนหลักๆ , ชั้นหมอก ในภาพเหล่านั้น โดยเปิดหน้ากล้องราว 1 นาที เป็นเซอร์ไพรส์ที่น่าพอใจมากๆ John
Stansberry นักวิทยาศาสตร์หอสังเกตการณ์และผู้นำทีมทดสอบการทำงาน
NIRCam ของกล้องเวบบ์ที่
STScI กล่าว
เวบบ์ยังถ่ายภาพดาวพฤหัสฯ
และยูโรปาเคลื่อนที่ข้ามพื้นที่สำรวจของกล้องในการสำรวจ 3 ครั้ง
การทดสอบนี้แสดงให้เห็นความสามารถของกล้องในการค้นหาและตามรอยดาวไกด์
ในละแวกใกล้ดาวพฤหัสฯ ที่สว่าง
แต่ว่ากล้องเวบบ์จะสามารถตามรอยวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วได้แค่ไหนและนิ่งแค่ไหน
นี่เป็นคำถามสำคัญสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง ในระหว่างการทดสอบการทำงาน
เวบบ์ใช้ดาวเคราะห์น้อย 6481 Tenzing ซึ่งอยู่ในแถบดาวเคราะห์หลัก
เพื่อเริ่มทดสอบขีดจำกัดความเร็วในการตามรอยวัตถุที่เคลื่อนที่
เวบบ์ถูกออกแบบจากความต้องการให้ตามรอยวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วพอๆ
กับดาวอังคาร ซึ่งมีความเร็วสูงสุด 30 มิลลิอาร์ควินาทีต่อวินาที
ในระหว่างการทดสอบการทำงาน ทีมเวบบ์ทำการสำรวจดาวเคราะห์น้อยหลายดวง
ซึ่งทั้งหมดปรากฏเป็นจุดเนื่องจากพวกมันมีขนาดเล็ก
ทีมได้พิสูจน์ว่าเวบบ์ยังใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทั้งหมดของมันเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์
จากวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วได้ถึง 67 มิลลิอาร์ควินาทีต่อวินาที
ซึ่งเป็นสองเท่าเศษของค่าที่วางไว้ Milam กล่าวว่า
ทุกๆ อย่างทำงานได้ดีกว่าที่คิด
แหล่งข่าว phys.org
: NASA releases Webb images of Jupiter
blog.nasa.gov : Webb
images of Jupiter and more now available in commissioning data
No comments:
Post a Comment