ในปี 2020 ทีมที่นำโดยนักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ทางใต้ของยุโรป(ESO)
ได้รายงานการค้นพบหลุมดำที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด
ห่างออกไปเพียง 1000 ปีแสงในระบบดาว
HR 6819 ในกลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์(Telescopium)
แต่ผลสรุปจากการศึกษานี้ก็เป็นที่สงสัยสำหรับนักวิจัยคนอื่นๆ
ซึ่งรวมถึงทีมนานาชาติที่ เคยู เลอแวง(KU Leuven) ในเบลเจียม ในรายงานที่เผยแพร่ล่าสุด
ทั้งสองทีมได้ร่วมมือกันรายงานว่าในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีหลุมดำใน HR 6819
แต่กลับเป็นระบบแวมไพร์ของดาวสองดวง
ในวิวัฒนาการช่วงที่พบได้ยากและมีอายุสั้น
การศึกษาระบบ HR 6819 ดั้งเดิมได้รับความสนใจจากทั้งสื่อและนักวิทยาศาสตร์
Thomas Rivinius นักดาราศาสตร์ ESO
ที่ประจำที่ชิลี
และผู้เขียนนำรายงานเดิม
จึงไม่ประหลาดใจกับเสียงตอบรับจากประชาคมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการค้นพบหลุมดำ ไม่เพียงแค่เป็นเรื่องปกติแต่ผลสรุปก็น่าจะถูกตรวจสอบอยู่แล้ว
เขากล่าว และผลสรุปที่เป็นหัวข้อข่าวยิ่งต้องโดนมากขึ้น
Rivinius และเพื่อนร่วมงานแน่ใจว่าคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับข้อมูลสเปคตรัมที่พวกเขามี
ซึ่งได้จากกล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO ขนาด 2.2
เมตร ก็คือ HR6819 เป็นระบบไตรวัตถุ(triple system) โดยมีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบหลุมดำแห่งหนึ่งทุกๆ
40 วัน
และดาวฤกษ์ดวงที่สอง ก็อยู่ในวงโคจรที่ไกลออกไปมาก แต่การศึกษาล่าสุดโดย Julia
Bodensteiner ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่
เคยู เลอแวง เบลเจียม ได้เสนอคำอธิบายทางเลือกจากข้อมูลเดียวกันว่า HR 6819
น่าจะเป็นระบบที่มีดาวเพียงสองดวง
ในวงโคจร 40 วัน
และไม่มีหลุมดำอยู่เลย ลำดับเหตุการณ์ทางเลือกนี้น่าจะต้องใช้ดาวดวงใดดวงหนึ่ง
“เปลือย” ออก ซึ่งหมายความว่า ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ มันได้สูญเสียมวลส่วนใหญ่ไปให้กับดาวอีกดวง
เรามาถึงข้อจำกัดกับข้อมูลที่มีอยู่
ดังนั้นเราจึงต้องหันไปหากลยุทธการสำรวจที่แตกต่างออกไป
เพื่อตัดสินใจระหว่างลำดับเหตุการณ์สองอย่างที่เสนอโดยทีมสองทีม Abigail
Frost นักวิจัยจากเคยู
เลอแวง ซึ่งนำการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ใน Astronomy & Astrophysics
เพื่อไขปริศนานี้
สองทีมจึงทำงานร่วมกันในการเก็บข้อมูล HR 8619 ใหม่ที่คมมากขึ้น โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ใหญ่มาก(VLT)
และมาตรแทรกสอด VLT(VLT
Interferometer) VLTI เป็นหอสังเกตการณ์เพียงหนึ่งเดียวที่น่าจะให้ข้อมูลชี้เป็นชี้ตายที่เราต้องการเพื่อแยกแยะระหว่างคำอธิบายทั้งสอง
Dietrich Baade ผู้เขียนจากทั้งรายงาน
HR 8619 เดิมและการศึกษาใหม่
เนื่องจากไม่สมเหตุสมผลที่จะร้องหาเวลาการสำรวจวัตถุเดียวกันซ้ำสอง
ทีมทั้งสองจึงร่วมมือ
ซึ่งช่วยให้พวกเขาได้รวมทรัพยากรและความรู้เพื่อค้นหาธรรมชาติของระบบแห่งนี้
ลำดับเหตุการณ์ที่เราได้เห็นนั้นค่อนข้างชัดเจน แตกต่างอย่างมากและแยกแยะได้ง่ายด้วยเครื่องมือนี้ Rivinius กล่าว เราเห็นพ้องกันว่ามีแหล่งแสง 2 แห่งในระบบนี้ ดังนั้นคำถามก็คือ พวกมันโคจรรอบกันและกันอย่างใกล้ชิดหรือไม่ ตามที่ลำดับเหตุการณ์ดาวเปลือยได้บอกไว้ หรืออยู่ห่างไกลกันตามที่ลำดับเหตุการณ์หลุมดำบอกไว้ เพื่อแยกแยะระหว่างทั้งสองแบบ นักดาราศาสตร์ใช้ทั้งเครื่องมือ GRAVITY บน VLTI และ Muse บน VLT
ภาพจากศิลปินแสดงว่าระบบ HR 6819 น่าจะมีสภาพอย่างไร โดยมีดาวที่รีแป้นดวงหนึ่งที่ล้อมรอบด้วยดิสก์ก๊าซที่มันได้ดึงออกจากดาวเพื่อนบ้าน(พื้นหลัง) ซึ่งขณะนี้ปราศจากชั้นบรรยากาศ MUSE
ยืนยันว่าไม่พบวัตถุข้างเคียงสว่างในวงโคจรที่กว้าง ในขณะที่ความละเอียดที่สูงของ GRAVITY
สามารถเปิดให้เห็นแหล่งสว่าง 2
แห่งที่แยกห่างจากกันเพียงหนึ่งในสามระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์
Frost กล่าว
ข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นชิ้นส่วนสุดท้ายของปริศนานี้ และช่วยให้เราได้สรุปว่า HR
6819 เป็นระบบดาวคู่ที่ไม่มีหลุมดำ
การแปลผลที่ดีที่สุดโดยรวมก็คือ
เราได้พบระบบดาวคู่ในชั่วขณะไม่นานหลังจากที่ดาวดวงหนึ่งในนั้น
ได้ดึงชั้นบรรยากาศของดาวข้างเคียงของมันเรียบร้อย ออกมาเป็น “กระโปรง”
ก๊าซที่ดาวสว่าง เรียบร้อย นี่เป็นปรากฏการณ์ประหลาดแบบปกติในระบบคู่ประชิด
บางครั้งก็ถูกเรียกว่า ระบบดาวแวมไพร์(stellar vampirism) ในสื่อ Bodensteiner อธิบาย
ในขณะที่ดาวผู้บริจาคถูกเปลือยวัสดุสารบางส่วนของมันออกไป ดาวผู้รับสีฟ้าสว่างก็เริ่มหมุนรอบตัวเร็วมากขึ้น
การจับสถานะหลังเกิดปฏิสัมพันธ์
เป็นเรื่องที่ยากมากๆ เมื่อมันเกิดเป็นเวลาสั้นมากๆ Frost กล่าวเสริม นี่ทำให้การค้นพบของเราใน HR
6819 มีความน่าตื่นเต้นมาก
เมื่อมันเป็นตัวแทนที่ดีเยี่ยมในการศึกษาว่าการเกิดแวมไพร์ส่งผลต่อวิวัฒนาการดาวมวลสูงอย่างไร
และการก่อตัวปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึง คลื่นความโน้มถ่วง(gravitational
waves) และการระเบิดซุปเปอร์โนวา
ทีมร่วมทั้งสองวางแผนจะจับตาดู HR
6819 อย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วยเครื่องมือ
GRAVITY นักวิจัยจะทำการศึกษาร่วมกับระบบนี้
เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของมัน, ระบุคุณนมบัติ และใช้ความรู้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับระบบคู่แห่งอื่นให้มากขึ้น
และสำหรับการสำรวจหาหลุมดำ ทีมยังคงอยากทำ
หลุมดำมวลดวงดาว(stellar-mass black hole) ยังคงเหมือนผีจากธรรมชาติของมัน
Rivinius กล่าว
แต่จากการประเมินบอกว่าจะมีหลุมดำแบบนี้หลายสิบจนถึงหลายร้อยล้านแห่งในทางช้างเผือก
Baade กล่าวเสริม
ก็เป็นเพียงเรื่องของเวลาเท่านั้นจนกว่านักดาราศาสตร์จะได้พบพวกมัน
แหล่งข่าว eso.org
: “closest black hole” system found to contain no black hole
phys.org : “closest black hole” system found to contain no black hole
skyandtelescope.com
: “closest black hole” doesn’t exist, after all
No comments:
Post a Comment