หลุมดำแห่งหนึ่งในใจกลางกาแลคซีแสดงบทบาทในการตายของกาแลคซีต้นสังกัด
โดยกลืนกินฝุ่นและก๊าซรอบข้างไป
และไม่เหลือสสารทิ้งไว้มากพอที่จะก่อตัวดาวฤกษ์ใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม
เพียงแรงโน้มถ่วงโดยลำพัง ไม่ได้รุนแรงมากพอที่จะจัดการให้สสารทั้งหมดเคลื่อนย้ายสู่หลุมดำได้
ทฤษฎีได้เสนอว่าสนามแม่เหล็กน่าจะช่วยแรงโน้มถ่วงในการป้อนสสารเข้าสู่หลุมดำ
ลำเลียงสสารตามทิศทาง(สนามแม่เหล็ก) ด้วยความช่วยเหลือจากการสำรวจของ SOFIA(Stratospheric
Observatory for Infrared Astronomy) ก็สามารถยืนยันทฤษฎีเหล่านี้ได้
ด้วยการทำแผนที่รูปร่างของสนามแม่เหล็กในพื้นที่ใจกลางของกาแลคซีกังหัน NGC
1097 นักวิจัยได้พบว่าสนามแม่เหล็กช่วยกำกับเส้นทางที่ฝุ่นและก๊าซมุ่งหน้าเข้าสู่หลุมดำมวลมหาศาล(supermassive
black hole) ที่ใจกลางกาแลคซี
ด้วยการใช้การสำรวจช่วงตาเห็น, อุลตราไวโอเลต
และอินฟราเรด เราสามารถตรวจสอบดาวฤกษ์, ก๊าซและฝุ่นที่ประกอบอยู่ในกาแลคซีได้
อย่างไรก็ตาม การเกิดโพลาไรซ์(polarization) ของแสงเหล่านี้
ช่วยเราให้ระบุองค์ประกอบที่เกือบมองไม่เห็น ก็คือ สนามแม่เหล็กอ่อนๆ
ที่แทรกซึมอยู่ในห้วงอวกาศระหว่างดาว และกำกับวิวัฒนาการกาแลคซี ดาวไม่สร้างแสงโพลาไรซ์ในตัวมันเอง
แสงของมันจะสั่นในทุกระนาบ แต่เมื่อแสงดาวมีปฏิสมพันธ์กับเม็ดฝุ่นในอวกาศ
ก็อาจจะเกิดโพลาไรซ์ได้ โดยสั่นในทิศทางที่จำเพาะเท่านั้น
เม็ดฝุ่นจะเรียงตัวไปกับสนามแม่เหล็ก
รูปแบบการเกิดโพลาไรซ์ของแสงที่กระเจิงออกจากเม็ดฝุ่น จึงสะท้อนถึงทิศทางของสนาม(แม่เหล็ก)
เหล่านั้น
เป็นครั้งแรกที่เราสามารถวิเคราะห์ผลของสนามแม่เหล็กต่อการไหลของก๊าซเข้าสู่พื้นที่ก่อตัวดาว(ที่ใจกลาง)
โดยใช้ SOFIA และในพื้นที่ใจกลางกาแลคซีก็ใช้การสำรวจโพลาริเมตริกคลื่นวิทยุ
Enrique Lopez-Rodriguez จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ผู้เขียนนำรายงานล่าสุดที่อธิบายสนามแม่เหล็กของ NGC 1097 ซึ่งอยู่ห่างออกไป 45 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวเตาหลอม(Fornax) เผยแพร่ใน Astrophysical Journal
NGC 1097 เป็นกาแลคซีกังหันมีคาน(barred spiral) โดยมีพื้นที่ก่อตัวดาวอย่างหนาแน่นในทิศทางมุ่งหน้าสู่ใจกลาง
ซึ่งเรียกว่า starburst ring เนื่องจากการตรวจสอบสนามแม่เหล็กในพื้นที่ที่หนาแน่นสูงมากเป็นหนึ่งในความได้เปรียบของ
SOFIA Lopez-Rodriguez และทีมใช้ SOFIA
เพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่หนาแน่นที่กำลังควบรวมกันกลายเป็น
starburst ring เมื่อรวมกับการสำรวจโพลาริเมตริกคลื่นวิทยุภายในวงแหวนนี้
การสำรวจทางดาราศาสตร์ที่แตกต่างชนิดกันเหมาะสมในการศึกษาพื้นที่ที่เบาบางกว่า
นักวิจัยได้พบความแตกต่างอย่างชัดเจนในสัณฐานวิทยาสนามแม่เหล็กระหว่างพื้นที่ทั้งสอง
การสำรวจของ SOFIA ได้แสดงว่าสนามแม่เหล็กป้อนสสารเข้าสู่
starburst ring ในขณะที่การสำรวจคลื่นวิทยุแสดงว่าสนามแม่เหล็กหมุนวนเข้าสู่ใจกลางกาแลคซี
ป้อนเข้าสู่หลุมดำมวลมหาศาล
แต่แม้ว่าจะมีความแตกต่างปรากฏให้เห็น
ทั้งสองส่วนก็ไม่ได้แยกขาดจากกันเด็ดขาดนัก
การศึกษาได้พิสูจน์ว่าสนามแม่เหล็กในกาแลคซี ช่วยนำก๊าซและฝุ่นเข้าสู่หลุมดำที่ใจกลาง
เมื่อรวมกันแล้ว สนามในโครงสร้างขนาดใหญ่เป็นไปตามรูปร่างแขนกังหันของ NGC
1097 ไขสสารจากแขนเข้าสู่วงแหวนที่พื้นที่ส่วนในสุดของแขน
และจากวงแหวนนี้ก็ไหลต่อไปสู่หลุมดำซึ่งจะกลืนกินสสารไป
งานวิจัยนี้ยืนยันว่าไม่เพียงแค่แรงโน้มถ่วงที่ช่วยหลุมดำให้ได้รับมวลสารในกาแลคซีต้นสังกัด
แต่สนาแม่เหล็กก็มีบทบาทด้วย
การสำรวจของเรายังให้หลักฐานว่าสนามแม่เหล็กที่อยู่ใกล้ชิดกับหลุมดำที่ใจกลางกาแลคซีกัมมันต์(active
galaxies) อาจจะมาจากสนามแม่เหล็กในโครงสร้างขนาดใหญ่ในกาแลคซีต้นสังกัดเอง
Lopez-Rodriguez กล่าว การสำรวจพบสนามแม่เหล็กที่ฟูมฟักหลุมดำเป็นครั้งแรกนี้ช่วยตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับว่ากาแลคซีพัฒนา
และสุดท้ายก็ตายอย่างไร
แหล่งข่าว scitechdaily.com
: SOFIA reveals how magnetic fields help feed a supermassive black hole
skyandtelescope.com :
magnetic “spoon” feeds supermassive black hole
No comments:
Post a Comment