Wednesday, 11 March 2020

NGC2359 : Duck Nebula/Thor's Helmet




ดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าโลกราวร้อยเท่าเศษ มีมวลมากกว่าสามแสนสามหมื่นเท่า อุณหภูมิราวหมื่นองศาเซลเซียส เรียกว่าใหญ่มากแล้ว แต่ยังมีดาวฤกษ์ประเภทหนึ่งที่สุดขั้วกว่าดวงอาทิตย์มาก เราเรียกว่าดาว “วูลฟ์-ราเยท์ - Wolf-Rayet” ดาวประเภทนี้มีขนาดใหญ่ มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 20 เท่าขึ้นไป สว่างกว่าล้านเท่า และมีอุณหภูมิสูงถึง 50,000 องศาเซลเซียส พบแล้วในทางช้างเผือกราว 500 ดวง

เมื่อมวลสูงปฎิกริยานิวเคลียส์ฟิวชั่นก็รุนแรงตาม เกิดกระแสดาราวาต (Stellawind) รุนแรงตามไปด้วย แรงจนเป่ามวลสารกระจายออกจากตัวดาว มองเห็นเป็นเนบิวล่าเรืองแสงล้อมรอบ

ในกลุ่มดาวคานิสเมเจอร์หรือหมาใหญ่มีเนบิวล่าที่เกิดจากดาววูลฟ์-ราเยท์เป่าออกมา เนบิวล่าตัวนี้พอมองเห็นจางๆจากกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้ว แต่เมื่อดูผ่านฟิลเตอร์ OIII เนบิวล่าสว่างมากจนไม่น่าเชื่อ ส่วนดาว WR7 หรือ HD56925 ที่เป็นต้นกำเนิดเนบิวล่าพอมองเห็นเมื่อไม่ใช้ฟิลเตอร์

ความสว่างเมื่อดูผ่านฟิลเตอร์ ออกซิเจน III สอดคล้องกับข้อเท็จจริง มวลสารที่ดาราวาตเป่าออกมาส่วนมากเป็นออกซิเจน ที่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยพลังงานจากตัวดาวก็แตกเป็นอิออนให้แสงโทนสีฟ้า-เขียว ดังที่ปรากฎในภาพถ่าย

NGC2359 ก็ตอบสนองกับฟิลเตอร์ UHC ได้ดีเช่นกันและภาพที่ได้ก็ดูง่ายกว่า ตัวเนบิวล่าแม้ไม่สว่างเท่าดูผ่าน OIII แต่ก็มีรายละเอียดมากกว่า รูปร่างของเนบิวล่าจากกล้อง 8 นิ้วดูเหมือนหอยทากมาก หากอยากเห็นเป็นหมวกของธอร์คงต้องใช้กล้องดูดาวขนาด 12-13 นิ้วขึ้นไป

การหาตำแหน่งไม่ง่ายนักเพราะดาวเยอะ จางและมองไม่เห็นเนบิวล่าในกล้องเล็ง อาจจะต้องใช้เลนส์ตาที่กว้างที่สุดแล้วฮอบไปช้าๆ เส้นทางที่แนะนำเริ่มจากแกมม่า คานิสเมเจอริส ไปกระจุกดาว NGC2360 ทางทิศตะวันออก จากนั้นขึ้นเหนือไปอีกราวสององศาครึ่งจะเจอเป้าหมาย ดาวบริเวณนี้ค่อนข้างเยอะและจางทำให้ฮอบยากสักหน่อยครับ

คลิกภาพเพื่อขยาย


Name: Duck Nebula/Thor’s Helmet
Catalog number: NGC2359
Type: Emission Nebula
Constellation: Canis Major
Visual Magnitude: +11.50
Apparent Size : 8’x6’
Distance: 1800 ly

Coordinates :R.A. 07h 19m 31.16s
Dec. -13° 14’ 14.8”

อ้างอิง
SkySafari
https://earthsky.org/space/wolf-rayets-are-the-most-massive-and-brightest-stars-known
https://www.facebook.com/ThaiStargazers/posts/614040439152407:0?__tn__=K-R

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...