เมื่อเรามองเห็นแสงฟุ้งในเลนส์ตา สิ่งที่เป็นไปได้มีสองแบบคือเป็นกลุ่มกาซที่ในอวกาศที่เรียกว่าเนบิวลา หรือเป็นกลุ่มของดาวที่จางเกินกว่ากำลังของกล้องดูดาวจะแยกเป็นภาพ ต้องอาศัยกล้องดูดาวขนาดใหญ่ขึ้นถึงจะเริ่มแยกแสงฟุ้งออกเป็นดาวหลายดวงได้
ในช่วงแรกของการสำรวจท้องฟ้า วิลเลี่ยม เฮอร์เชลยังไม่รู้จักธรรมชาติของเนบิวล่าดาวเคราะห์ เขาคิดว่าเนบิวล่าที่ล้อมรอบเป็นแสงจากกระจุกดาวที่ไกลเกินกว่าจะมองเห็นเป็นดวง
จนกระทั่งในคืนวันที่ 13 พฤศจิกายน 1790 เฮอร์เชลพบ NGC1514 ความคิดเรื่องเนบิวล่าดาวเคราะห์ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลง และถ้อยคำของเฮอร์เชลชวนให้ออกไปวางกล้องดูดาวเสียทันที
“สิ่งที่แปลกไม่เหมือนใคร! ดาวสว่างแมกนิจูดที่ 8 ล้อมรอบด้วยบรรยากาศเบาบางเป็นทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางราว 3 นาที ดาวดวงนั้นอยู่ใจกลางพอดี ชั้นบรรยากาศเบาบาง จางและสม่ำเสมอจนไม่คิดว่าจะเป็นดาว(ที่ไกลออกไป) และทำให้เกิดข้อสงสัยในความเกี่ยวข้องระหว่างชั้นบรรยากาศกับดาวฤกษ์ที่ใจกลาง”
NGC1514 แม้จะอยู่ในเขตของกลุ่มดาวทอรัสและไม่ไกลจากกระจุกดาวลูกไก่นัก แต่การฮอบเริ่มจากซีต้า (ζ) เพอร์เซอิดจะสะดวกที่สุด คริสตัลบอลห่างจากดาวดวงนี้ไปทางตะวันออกแค่สามองศาครึ่ง จุดสังเกตคือดาวสว่างมัคนิจูด 8 สามดวงที่เรียงเกือบเป็นเส้นตรง NGC1514 คือดวงกลาง
สำหรับกล้องดูดาวขนาดเล็กและขนาดกลางจำเป็นต้องใช้ฟิลเตอร์ UHC หรือ OIII เป็นตัวช่วย ภาพจากกล้องหักเหแสงสี่นิ้วเป็นฝ้าขนาดเล็กกลม ล้อมรอบดาวดวงหนึ่ง เป็นตัวทีเหมาะกับกล้องดูดาวที่ใหญ่ตั้งแต่ 8” ขึ้นไปที่กำลังขยายสูง
คลิกภาพเพื่อขยาย |
Name: Crystal Ball
Catalog number: NGC1514
Type: Planetary Nebula
Constellation: Taurus
Visual Magnitude: +10.89
Dimension: 2.3x2.0’
Distance: 2400 ly
Coordinates :R.A. 04h 10m 31.93s
Dec. +30° 49’ 37.5”
อ้างอิง
http://spider.seds.org/spider/Misc/n1514.html
wikipedia.org
No comments:
Post a Comment