ภาพสเก็ทช์เอ็ม 22 โดยผู้เขียน |
“it was as if a globe had been filled with moon light
and hung before them in a net of woven of the glint of frosty stars”
“ราวกับโลกที่เปี่ยมด้วยแสงจันทร์และคลุมด้วยตาข่ายดวงดาว
ถักทอส่องประกายระยิบตา”
-J.J.R. Tolkien, The Hobbit, Ch 16, A Thief in the Night
เอ็ม22 เป็นหนึ่งในห้าราชาแห่งกระจุกดาวทรงกลมบนท้องฟ้า ด้วยความสว่างแมกนิจูดที่ 5.1 ทำให้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่ๆมืดดี และสว่างเป็นลำดับที่สามรองจากโอเมก้าเซนทอรี่และ 47 ทัคคาเน่ ส่วนเอ็ม13ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิสเป็นลำดับที่สี่
ค้นพบในปี 1665 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันอับบราฮัม ฮิลล์ หลังจากนั้นมีนักดาราศาสตร์หลายคนได้บันทึกการสังเกตไว้ ในปี1764 แมสซายเออร์ได้บันทึกไว้ว่า “เนบูล่ากลม ไม่มีดาว ใกล้ 25 แซจิทารี”
เอ็ม22 เป็นกระจุกดาวที่มีขนาดปรากฎใหญ่กว่าพระจันทร์เต็มดวงเล็กน้อย ประกอบด้วยดาวประมาณ 500,000ดวง ทั้งหมดสว่างประมาณแม่นิจูด 11 ห่างจากเราประมาณ 10,400ปีแสง ไปในทิศทางกลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่ใกล้โลกมากที่สุด และยังอยู่ใกล้เส้นสุริยวิถีทำให้มีดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านหน้าบ่อยครั้ง
ตำแหน่งหาไม่ยากเพราะอยู่ห่างจากดาวคาอัสบอเรียริสหรือฝากาน้ำชาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสององศาครึ่ง หากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าสามารถใช้กล้องสองตาช่วยได้
ภาพในเลนส์ตาผ่านกล้องดูดาวสะท้อนแสงขนาด 8” เอ็ม22 สว่าง มีขนาดใหญ่พอสมควร ที่กำลังขยายต่ำก็สามารถแยกดาวในกระจุกเป็นเม็ดได้แล้ว ที่กำลังขยาย133เท่า สว่าง มีรายละเอียดมาก มองเห็นดาวราว 100ดวง และจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวหากมองเหลือบ บางดวงจะสว่างเด่นกว่าดวงอื่น มีแถบมืดทางตะวันออกและตะวันตก
เมื่อดูไปสักพักเราจะเริ่มเห็นรายละเอียดมากขึ้น กระจุกดาวมีแขนขาระโยงระยางออกมาทุกด้านจนทำให้ภาพโดยรวมมองดูคล้ายแมลงอะไรสักอย่าง นับว่าเป็นออบเจคที่ห้ามพลาดสำหรับคนที่มีกล้องดูดาวและเป็นออบเจคที่เห็นด้วยตาเราเองจะงามกว่าดูจากภาพถ่ายครับ
คลิกภาพเพื่อขยาย |
Catalog number: Messier22, NGC6656
Type: Globular Cluster
Constellation: Sagittarius
Visual Magnitude: +5.09
Apparent Size: 32’
Distance: 10,400 ly
R.A. 18h 37m 34.32s
Dec. -23° 53’ 13.2”
อ้างอิง
Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook
SkySafari
No comments:
Post a Comment