Wednesday, 4 September 2019

Direction in sky




ภาพ Star trail รอบดาวเหนือ เห็นได้ชัดว่าดาวมีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม

ฝนยังตกฟ้ายังปิด มาทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานที่แสนสับสนและสำคัญกับการดูดาว “ทิศบนท้องฟ้า”

การบอกทิศที่ทุกคนรู้จักกันดีเป็นทิศบนพื้นระนาบ แต่ท้องฟ้ามีลักษณะเป็นทรงกลมที่เรามองขึ้นไปจากภายใน เราใช้วิธีปกติบอกทิศไม่ได้เพราะบนทรงกลมท้องฟ้าไม่มีขอบฟ้าให้เป็นจุดอ้างอิง คล้ายเราหันหน้าไปทางทิศเหนือ ขวามือของเราจะเป็นทิศตะวันออกซ้ายมือจะเป็นทิศตะวันตก

แต่หากหันหน้าไปทางทิศใต้คราวนี้ขวามือของเรากลับกลายเป็นทิศตะวันตก ซ้ายมือเป็นทิศตะวันออก จะเห็นว่าจากซ้ายจะเป็นขวาและจากขวาจะเป็นซ้ายชวนให้สับสน

วิธีที่ใช้แก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ยากนัก การบอกทิศในทรงกลมท้องฟ้าจะมีกฎ 2 ข้อ


  1. ทิศที่ดาวเคลื่อนที่ไปเป็นทิศตะวันตก
  2. ทิศที่ชี้ไปดาวเหนือคือทิศเหนือ


กฎทั้งสองข้อนี้สามารถใช้ได้กับทุกจุดบนทรงกลมท้องฟ้า เมื่อได้สองทิศหลักแล้วก็จะทราบทิศตะวันออกกับทิศใต้ และต้องย้ำว่าทิศบนท้องฟ้ากับทิศบนพื้นโลกแม้ดูคล้ายแถมใช้คำเดียวกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกัน


ทิศที่ดาวเคลื่อนที่ไปคือทิศตะวันตก จะแตกต่างกับทิศบนพื้นดิน

ทิศเหนือคือทิศที่ชี้ไปที่ดาวเหนือ

กฎนี้จะไม่มีปัญหากับดูดาวตาเปล่าหรือด้วยกล้องสองตา แต่หากจะดูดาวผ่านกล้องโทรทัศน์จะปวดหัวในการระบุทิศมากขึ้น เพราะภาพจากกล้องดูดาวแบบหักเหแสงหรือแบบผสมที่ใช้ไดอะกอนอล ภาพที่เห็นจะเป็นภาพกลับซ้ายขวาหัวตั้ง ส่วนกล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงนั้นจะเป็นภาพจริงหัวกลับ


ซ้ายมือเป็นภาพที่มองผ่านไดอะกอนอล
ภาพขวามือมองผ่านกล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง


วีดีโอจำลองภาพในเลนส์ตาเมื่อปิดระบบตามดาว
ทิศที่ดาวไหลไปคือทิศตะวันตก

วิธีจะระบุทิศในกล้องดูดาวที่ง่ายที่สุดก็คือปิดระบบตามดาว ดูว่าดาวไหลไปด้านไหนด้านนั้นก็คือทิศตะวันตก หากดูยากและยังสับสนให้วางดาวที่เด่นสักดวงไว้กลางเลนส์ตาแล้วรอเวลาจะเห็นจุดที่ดาวไหลออกไปได้แน่นอนกว่า

และหากคุณใช้ไดอะกอนอลขอให้จำไว้ว่าการบิดไดอะโกนอลจะทำให้ฟิลด์ภาพหมุนตาม ดังนั้นต้องหาทิศตะวันตกใหม่ทุกครั้ง

เมื่อระบุทิศตะวันตกได้แล้วก็ระบุทิศเหนือโดยกล้องดูดาวที่ใช้ไดอะกอนอลทิศเหนือจะตามเข็มนาฬิกาไป 90 องศา ส่วนกล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงจะทวนเข็มนาฬิกาไป 90 องศา จำว่า “ไดอะกอนอลตามเข็ม สะท้อนแสงทวนเข็ม” ก็ง่ายดี

ไม่รู้ว่าจะช่วยให้ “หลงฟ้า” มากขึ้นหรือน้อยลงนะครับ :)

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...