ภาพเงาหลุมดำภาพแรกจาก EHT ที่เผยแพร่ในปี 2017 และภาพล่าสุดจากข้อมูลที่รวบรวมในอีกหนึ่งปีต่อมา ที่เพิ่งเผยแพร่ล่าสุด
จุดที่สว่างที่สุดในวงแหวนรอบๆ
หลุมดำมวลมหาศาลของ M87 ขยับไป 30
องศาในทิศตามเข็มนาฬิกา
ในเวลาหนึ่งปี ซึ่งแสดงในภาพใหม่ที่เผยแพร่โดยกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์
กลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์(Event
Horizon Telescope; EHT) ด้วยความช่วยเหลือจากนักดาราศาสตร์ดัตช์
ได้เผยแพร่ภาพใหม่ของ M87* ซึ่งเป็นหลุมดำมวลมหาศาล(supermassive
black hole) ที่ใจกลางของกาแลคซี
M87 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจในเดือนเมษายน
2018 โดยมีความร่วมมือใหม่เอี่ยมจากกล้องโทรทรรศน์กรีนแลนด์
และอัตราการบันทึกที่ปรับปรุงขึ้นอย่างมากทั่วเครือข่าย การสำรวจในปี 2018 ช่วยให้เรามีแหล่งข้อมูลใหม่ที่เป็นอิสระจากการสำรวจแรกในปี
2017
รายงานล่าสุดเผยแพร่ในวารสาร Astronomy
& Astrophysics นำเสนอภาพจากข้อมูลใหม่ปี
2018 และเผยให้เห็นวงแหวนที่แสนคุ้นเคยด้วยขนาดเท่าเดิมกับที่เคยสำรวจในปี
2017 วงแหวนสว่างวงนี้ล้อมรอบหลุมมืดที่ใจกลาง
ซึ่งเป็นเงาของหลุมดำ ตามที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปได้ทำนายไว้
แต่ที่น่าตื่นเต้นก็คือ จุดที่สว่างที่สุดในวงแหวนขยับไปราว 30 องศาเมื่อเทียบกับภาพปี 2017 ซึ่งก็สอดคล้องกับความเข้าใจทางทฤษฎีเกี่ยวกับการแปรแสงจากวัสดุสารที่ปั่นป่วนรอบหลุมดำ
ความต้องการพื้นฐานของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งก็คือ สร้างผลสรุปเดิมขึ้นมาได้
Keichi Asada ผู้ช่วยนักวิจัยที่สถาบันเพื่อดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์
Academia Sinica ในไต้หวัน
กล่าว การยืนยันวงแหวนในชุดข้อมูลใหม่
จึงเป็นหลักชัยใหญ่สำหรับความร่วมมือและบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเรากำลังมองเห็นเงาของหลุมดำ
และวัสดุสารที่โคจรรอบๆ มัน
ในปี 2017 EHT ได้เผยแพร่ภาพหลุมดำภาพแรก วัตถุซึ่งเรียกว่า M87*
เป็นหัวใจมวล 6.5 พันล้านเท่าดวงอาทิตย์ที่กำลังเต้นของกาแลคซีทรงรียักษ์
Messier 87 และอยู่ไกลออกไป
55 ล้านปีแสงจากโลก
ภาพของหลุมดำเผยให้เห็นวงแหวนกลมสว่างวงหนึ่ง มีจุดที่สว่างกว่าส่วนอื่น
อยู่ที่ตำแหน่งทางใต้ของวงแหวน
การวิเคราะห์ข้อมูลต่อมายังเผยให้เห็นโครงสร้างของหลุมดำนี้ในแสงโพลาไรซ์
ช่วยให้เรามีมุมมองเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเรขาคณิตของสนามแม่เหล็กและธรรมชาติของพลาสมารอบๆ
หลุมดำ
ยุคสมัยใหม่แห่งการถ่ายภาพหลุมดำโดยตรง
มีหัวหอกโดยการวิเคราะห์การสำรวจ M87* ในปี 2017
ได้เปิดหน้าต่างบานใหมซึ่งนำเราให้ศึกษาหลุมดำในทางดาราศาสตร์ฟิสิกส์
และช่วยให้เราได้ทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในระดับพื้นฐานที่สุด
แบบจำลองทางทฤษฎีบอกว่าสถานะของสสารรอบ M87* จากปี 2017 ถึง 2018 น่าจะไม่เกี่ยวข้องกัน
การสำรวจ M87* ซ้ำๆ
จะช่วยเราให้ระบุโครงสร้างพลาสมาและสนามแม่เหล็กรอบหลุมดำ
และช่วยเราให้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ฟิสิกส์อันซับซ้อนจากผลของสัมพัทธภาพทั่วไป
เพื่อช่วยให้บรรลุผลสรุปใหม่ EHT จึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กล้องโทรทรรศน์กรีนแลนด์เข้ามาร่วมกับ EHT เป็นครั้งแรกในปี
2018 เพียงห้าเดือนหลังจากที่การก่อสร้างแล้วเสร็จเหนือวงกลมอาร์คติก(Arctic
Circle) กล้องตัวใหม่ได้ปรับปรุงความละเอียดของภาพในเครือข่าย
EHT ได้พอสมควร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิศทางเหนือใต้ กล้องโทรทรรศน์มิลลิเมตรใหญ่
ก็เข้าร่วมด้วยโดยใช้พื้นผิวเต็ม 50 เมตรของมัน
ยิ่งเพิ่มความไวให้เครือข่าย เครือข่าย EHT ยังอัพเกรดขึ้นสู่การสำรวจในช่วงความถี่ 4
ช่วงใกล้ๆ 230 GHz เทียบกับในปี 2017 ซึ่งมีสองความถี่เท่านั้น
การสำรวจซ้ำๆ
ด้วยเครือข่ายที่ปรับปรุงขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นในการแสดงความแน่ชัดของการค้นพบและช่วยตอกย้ำความมั่นใจในผลสรุป
นอกเหนือจากวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว EHT ยังทำหน้าที่เป็นตัวทดสอบทางเทคโนโลจีสำหรับการพัฒนามาตรแทรกสอดวิทยุความถี่สูงด้วย
การวิเคราะห์ข้อมูลปี 2018 ประกอบด้วยการถ่ายภาพและเทคนิคการทำแบบจำลอง 8
ชุดที่แยกจากกัน
ซึ่งรวมถึงวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ M87* ก่อนหน้านี้ในปี 2017 และวิธีการใหม่ที่พัฒนาจากประสบการณ์ของทีมจากการวิเคราะห์
Sgr A*
ภาพ M87* ที่ได้จากปี
2018 นั้นคล้ายกับสิ่งที่ได้เห็นในปี
2017 อย่างมาก
เราได้เห็นวงแหวนสว่างที่มีขนาดใกล้เคียงกัน, โดยมีพื้นที่มืดในใจกลาง
และด้านหนึ่งของวงแหวนก็สว่างกว่าอีกด้าน มวลและระยะทางจาก M87* ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดแม้จะในช่วงชีวิตมนุษย์
ดังนั้นสัมพัทธภาพทั่วไปจึงทำนายว่าเส้นผ่าศูนย์กลางวงแหวนแสงก็ควรจะมีขนาดใกล้เคียงเดิม
เสถียรภาพของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ตรวจสอบได้จากปี 2017 จนถึง 2018 จึงสนับสนุนข้อสรุปว่า M87* เป็นไปตามที่สัมพัทธภาพทั่วไปบอกไว้
หนึ่งในคุณสมบัติที่น่าประทับใจของหลุมดำก็คือ
รัศมีของมันนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น ก็คือ มวล ดร. Nitika Yadlapali Yurk อดีตนักศึกษาปริญญาโทที่คาลเทค
ซึ่งขณะนี้เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ห้องทดลองไอพ่นขับดัน(JPL) กล่าว เนื่องจาก M87* ไม่ได้สะสมมวลสาร(ซึ่งน่าจะมีส่วนเพิ่มมวลให้กับมัน)
ด้วยอัตราที่รวดเร็ว
สัมพัทธภาพทั่วไปบอกเราว่ารัศมีของมันก็น่าจะแทบไม่เปลี่ยนในชั่วชีวิตมนุษย์
จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่ได้เห็นว่าข้อมูลยืนยันการทำนายนี้
ในขณะที่ขนาดของเงาหลุมดำไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2017 ถึง 2018 แต่ตำแหน่งของพื้นที่ที่สว่างที่สุดในวงแหวนก็ขยับไปพอสมควร
พื้นที่สว่างหมุนไปราว 30 องศาในทิศตามเข็มนาฬิกา
ไปอยู่ทางขวาล่างของวงแหวนราวตำแหน่ง 5 นาฬิกา
การสำรวจ M87* ครั้งแรกใช้เครือข่ายที่ไวน้อยกว่าและมีกล้องร่วมน้อยกว่า
ยังบ่งชี้ว่าโครงสร้างเงาเปลี่ยนแปลงไปทุกปีแต่ก็บอกไม่ได้แม่นยำนัก
ในขณะที่เครือข่ายในปี 2018 ก็ยังคงสำรวจไม่พบไอพ่นผุดออกจาก
M87* แต่แกนการหมุนรอบตัวของหลุมดำที่ทำนายไว้จากตำแหน่งของพื้นที่ที่สว่างที่สุดในวงแหวน
ก็สอดคล้องกับแกนการหมุนไอพ่นมากกว่าที่สำรวจในช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดก็คือ
จุดสว่างที่สุดที่เคลื่อนไปตามวงแหวน
เป็นสิ่งที่เราได้ทำนายไว้เมื่อเผยแพร่ผลสรุปแรกในปี 2019 ดร Britt Jeter นักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ Academia Sinica
ที่ไต้หวัน กล่าว
ในขณะที่สัมพัทธภาพทั่วไปบอกว่าขนาดของวงแหวนน่าจะค่อนข้างไม่เปลี่ยน
แต่การเปล่งคลื่นจากดิสก์สะสมมวลสารที่ปั่นป่วนวุ่นวายรอบๆ หลุมดำ
จะทำให้ส่วนที่สว่างที่สุดในวงแหวนส่ายไปรอบๆ
ระดับการส่ายที่เราเห็นเมื่อเวลาผ่านไปเป็นสิ่งที่เราสามารถใช้เพื่อทดสอบทฤษฎีสนามแม่เหล็กและสภาพแวดล้อมพลาสมารอบหลุมดำได้
การรวมกล้องกรีนแลนด์เข้ามาใน EHT ช่วยเติมเต็มช่องว่างที่วิกฤติในกล้องโทรทรรศน์ขนาดเสมือนเท่าโลกนี้
Rohan Dahale ว่าที่ดอกเตอร์จากสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์
อันดาลูเชีย การสำรวจในปี 2021, 2022 และในช่วงครึ่งแรกของปี
2024 นี้
จะได้เห็นถึงการปรับปรุงเครือข่าย
เติมเชื้อไฟให้กับความกระตือรือร้นที่จะผลักดันพรมแดนดาราศาสตร์ฟิสิกส์หลุมดำออกไปอีก
ด้วยความหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นไอพ่นวัสดุสารที่พุ่งออกจาก M87*
ในปี 2022 เราได้ภาพหลุมดำมวลมหาศาล Sgr A* ในทางช้างเผือกเป็นครั้งแรก และในปี 2023 ก็ได้ถ่ายภาพหลุมดำแห่งหนึ่งที่กำลังยิงไอพ่นออกมาได้โดยตรง
เช่นเดียวกับที่ได้เห็นภาพ M87* ที่ชัดเจนขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์
ด้วยภาพหรือรายละเอียดใหม่ๆ
ที่เผยออกมาและเมื่อมีกล้องมาเพิ่มขนาดและความสามารถของเครือข่าย EHT มากขึ้น คำถามต่อไปก็คือ ต่อไปเราจะส่องดูอะไร
แหล่งข่าว phys.org
: brightness peak of M87 supermassive black hole shifts 30 degrees in one year
iflscience.com : brand
new image of first black hole to be photographed reveals moving shadow
space.com : 2nd
image of 1st black hole ever pictured confirms Einstein’s general
relativity
No comments:
Post a Comment