กลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์
ซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์วิทยุ ในบอนน์
เจอรมนี เพิ่งเผยภาพฐานของไอพ่นของไอพ่นพลาสมาด้วยความละเอียดสูง
ทีมนานาชาติใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเสมือนเท่าโลกเพื่อตรวจสอบโครงสร้างแม่เหล็กในนิวเคลียสของกาแลคซิวิทยุ
3C 84 หรือ Perseus
A ซึ่งเป็นหนึ่งในหลุมดำมวลมหาศาลที่มีกิจกรรมคึกคักมากที่สุดที่อยู่ใกล้ที่สุดในละแวกใกล้ๆ
เรา ผลที่ได้ให้แง่มุมใหม่ว่า ไอพ่นถูกยิงออกมาได้อย่างไร เผยให้เห็นว่า
ในสงครามการฉุดดึง สนามแม่เหล็กมีชัยเหนือแรงโน้มถ่วง การศึกษาเผยแพร่ในวารสาร Astronomy
& Astrophysics วันที่ 1
กุมภาพันธ์
แหล่งวิทยุคลื่นแรง 3C 84 หรือ Perseus A หรือ NGC 1275 เป็นกาแลคซีที่ใจกลางกระจุกเปอร์ซีอุส(Perseus
cluster) ที่อยู่ห่างออกไป
230 ล้านปีแสง
มันเป็นที่อยู่ของนิวเคลียสกาแลคซีกัมมันต์(active galactic nucleus) ที่อยู่ค่อนข้างใกล้
ช่วยให้มีการศึกษาแหล่งในใจกลางด้วยความละเอียดด้วย EHT
นอกเหนือจากให้ภาพหลุมดำภาพแรกแล้ว EHT
ยังเหมาะสมอย่างมากกับการสำรวจไอพ่นพลาสมาดาราศาสตร์ฟิสิกส์
และปฏิสัมพันธ์ของมันกับสนามแม่เหล็กที่รุนแรง Georgios Fillippos
Paraschos นักวิจัยที่สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์วิทยุ
ซึ่งนำโครงการนี้ การค้นพบใหม่ของเราได้ให้หลักฐานใหม่ว่า
สนามแม่เหล็กที่มีระเบียบจะแผ่ไปทั่วก๊าซร้อนจัดที่ล้อมรอบหลุมดำอยู่
การสำรวจครั้งสำคัญโดย EHT ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้คำถามที่มีมานานเกี่ยวกับกระบวนการที่หลุมดำสะสมมวลสารและผลักไอพ่นทรงพลังออกมาในระยะทางที่ไกลจากกาแลคซีต้นสังกัด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ได้เผยภาพแสดงทิศทางการสั่นของแสงรอบๆ หลุมดำของ M87
คุณสมบัติของแสงแบบนี้เรียกว่า
การเกิดโพลาไรซ์แบบเส้นตรง(linear polarization) ได้ให้เงื่อนงำเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กที่สร้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดโพลาไรซ์แบบเส้นตรงอย่างแรง อย่างที่พบในการศึกษาใหม่นี้
บอกใบ้ถึงสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบในละแวกรอบข้างของหลุมดำใน 3C
84
ที่น่าสนใจก็คือ
คิดกันว่าสนามแม่เหล็กที่ทรงพลังลักษณะนี้เป็นแรงผลักดันเบื้องหลังการยิงไอพ่นพลาสมา
ซึ่งเป็นสสารที่ไม่ถูกหลุมดำกลืนกินลงไป
กาแลคซีวิทยุ 3C 84 นั้นน่าสนใจเป็นพิเศษจากความท้าทายที่มันมี
ในการตรวจจับและตรวจสอบระดับการเกิดโพลาไรซ์ของแสงใกล้หลุมดำให้เที่ยงตรง Jae-Young
Kim รองศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์
ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติคยองพุก ในแดกู เกาหลีใต้ ซึ่งประสานงานกับ MPifR ด้วย กล่าว ความสามารถอันเอกอุของ EHT ในการเจาะทะลุก๊าซที่หนาแน่นในห้วงอวกาศ
ได้ช่วยพัฒนาการสำรวจละแวกใกล้เคียงหลุมดำได้อย่างแม่นยำ
การสำรวจที่แม่นยำสูงลักษณะนี้จะแผ้วถางหนทางในการค้นพบและศึกษาหลุมดำมวลมหาศาลอื่นๆ
ที่ยังคงซ่อนตัวจากเทคโนโลจีการสำรวจรุ่นก่อนหน้านี้ การค้นพบเหล่านี้ยังเปิดช่องสู่วิธีที่สะสมมวลเข้าสู่หลุมดำมหาศาลด้วย
คิดกันว่าสสารที่ตกลงมาสู่หลุมดำจะก่อตัวเป็นสารแม่เหล็กรุนแรง ซึ่งเรียกว่า
ดิสก์ยึดจับด้วยแม่เหล็ก(magnetically arrested disk)
ถ้ารูปการณ์เป็นแบบนี้
เส้นแรงสนามแม่เหล็กภายในดิสก์สะสมมวลสาร ก็จะเกี่ยวและพันกันอย่างแน่นหนา
ป้องกันการเปล่งพลังงานแม่เหล็กออกมา ยิ่งกว่านั้น การศึกษาได้บอกว่าหลุมดำของ 3C
84 นั้นหมุนรอบตัวเร็วมาก
ยิ่งส่งผลต่อความเกี่ยวข้องระหว่างการยิงไอพ่นกับอัตราการหมุนรอบตัวหลุมดำที่สูง
EHT สามารถสำรวจหลุมดำและไอพ่นของมันในเบื้องลึกได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า
มาตรแทรกสอดเส้นฐานยาวมาก(Very Long-baseline interferometry) ซึ่งช่วยสร้างภาพโดยรวมสัญญาณจากการสำรวจวัตถุเดียวกันจากกล้องโทรทรรศน์หลายตัว
EHT ประกอบด้วยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อิสระครอบคลุมทั่วโลก
ซึ่งมาทำงานด้วยกันเสมือนเป็นกล้องโทรทรรศน์ตัวเดียวที่มีขนาดเท่าโลก
Anton Zensus ผู้อำนวยการ MPifR และหัวหน้าแผนกวิจัย VLBI/ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ กล่าวว่า
เราตื่นเต้นเป็นอย่างมากก็เพราะผลสรุปที่ได้เป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญสู่ความเข้าใจกาแลคซีอย่างเช่น
3C 84 เรากับพันธมิตรกำลังกระหายที่จะพัฒนาความสามารถของกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ออกไปเพื่อให้ได้แง่มุมที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับการสร้างไอพ่นรอบหลุมดำ
แหล่งข่าว phys.org
: magnetic launch of black hole jets in Perseus A
space.com : Event Horizon
Telescope spies jets erupting from nearby supermassive black hole
No comments:
Post a Comment