ถ้าคุณรู้สึกทึ่งกับธรรมชาติ
ภาพกาแลคซีกังหันชุดใหม่เหล่านี้จะทำให้คุณทึ่งต่อไป
ภาพเหล่านี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ แสดงรายละเอียดในกาแลคซีกังหัน 19
แห่งที่หันหน้าเข้าหาเรา
แขนกังหันของพวกมันเต็มไปด้วยดาวสว่างขึ้นในช่วงอินฟราเรด
เช่นเดียวกับแกนกาแลคซีที่เป็นที่อยู่ของหลุมดำมวลมหาศาล
กล้องเวบบ์ได้จับภาพเหล่านี้อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PHANGS(Physics
at High Angular resolution in Nearby GalaxieS) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานมายาวนาน
โดยตั้งเป้าเพื่อเข้าใจว่าก๊าซและการก่อตัวดาวมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างและวิวัฒนาการกาแลคซีอย่างไรบ้าง
หนึ่งในเป้าหมายหลักทางวิทยาศาสตร์ 4 ประการของเวบบ์
ก็คือ เพื่อศึกษาว่ากาแลคซีก่อตัวและพัฒนาอย่างไร และโครงการ PHANGS ก็ป้อนความพยายามเหล่านี้
กล้องเวบบ์มองเห็นทั้งอินฟราเรดใกล้
และอินฟราเรดกลาง ซึ่งหมายความว่า
มันจะเผยให้เห็นรายละเอียดที่แตกต่างกัน
และลงรายละเอียดลึกมากขึ้นกว่าที่กล้องฮับเบิลซึ่งสำรวจในช่วงตาเห็น,
อุลตราไวโอเลต และอินฟราเรดช่วงแคบๆ เคยทำได้
ในภาพความละเอียดสูงจากกล้องเวบบ์เหล่านี้
สีแดงเป็นก๊าซและฝุ่นที่เปล่งอินฟราเรด ที่เวบบ์สำรวจ
ภาพบางส่วนยังมีประกายแฉกที่ใจกลางกาแลคซี ซึ่งเกิดจากแสงในปริมาณที่สูงมาก
นี่อาจบ่งชี้ว่ามีหลุมดำมวลมหาศาล(supermassive black holes) กำลังมีกิจกรรม
หรือมันอาจจะมาจากดาวที่อยู่กันอย่างหนาแน่นสูงมากๆ
Eva Shinnerer นักวิทยาศาสตร์ทีมงานที่สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์
ในไฮเดลแบร์ก เจอรมนี กล่าวว่า
มีสัญญาณอย่างชัดเจนว่าอาจจะมีหลุมดำมวลมหาศาลที่มีกิจกรรมสูง
หรือเป็นกระจุกดาวในทิศทางใจกลางที่สว่างเจิดจ้ามากจนทำให้พื้นที่นี้ในภาพอิ่มแสง
ดาวใกล้ใจกลางกาแลคซีโดยปกติจะมีอายุมากกว่าดาวที่แขนกังหัน
ยิ่งดาวอยู่ไกลจากใจกลางกาแลคซีมากเท่าใด ก็มักจะมีอายุน้อยลงเท่านั้น
ดาวอายุน้อยจะส่องสว่างเป็นสีฟ้าและปัดเป่ารังฝุ่นก๊าซที่ให้กำเนิดมันจนหายไป
ก้อนสีส้มกลับเป็นดาวที่มีอายุน้อยมากๆ
เมื่อพวกมันยังถูกห่อไว้ในรังฝุ่นและก๊าซ และยังคงสะสมมวลก๊าซเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Erik Rosolowsky ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา
ในเอ็ดมอนตัน คานาดา กล่าวว่า
นี่เป็นจุดที่เราจะได้พบดาวใหม่ที่สุดและมีมวลสูงที่สุดในกาแลคซีเหล่านั้น
ภาพใหม่ชุดนี้เผยแพร่พร้อมกับภาพกาแลคซีชุดเดียวกันจากกล้องฮับเบิล
ซึ่งได้เน้นให้เห็นว่าการสำรวจแสงในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ได้เผย/ปิดบังรายละเอียดแตกต่างกันในกาแลคซี
ไปอย่างไรบ้าง ในโครงการ PHANGS ใช้การสำรวจจากกล้องโทรทรรศน์ในช่วงตาเห็น,
อินฟราเรด, อุลตราไวโอเลต และคลื่นวิทยุ
ภาพชุดใหม่จากกล้องเวบบ์นั้นมีความพิเศษ
แม้แต่กับนักวิจัยที่ศึกษากาแลคซีเดียวกันเหล่านี้มาหลายสิบปี
จะเห็นฟองและเส้นใยละเอียดยิบจนถึงระดับที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยสำรวจได้
และบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัฏจักรการก่อตัวดาว ภาพจากเวบบ์แสดงรู/ฟอง ในการกระจายของก๊าซ
ซึ่งเกิดจากดาวหนึ่งดวงหรือมากกว่านั้นระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา
ผลักก๊าซและเส้นใยก๊าซให้ขยายออกจากโครงสร้างกังหันที่เราเห็นด้วยตาเปล่า
กาแลคซีเหล่านี้ทั้งหมดเป็นกาแลคซีกังหันเหมือนกับทางช้างเผือก
ซึ่งหมายความว่า มองเห็นแขนกังหันขนาดใหญ่ได้อย่างชัดเจน
แขนกังหันมีสภาพคล้ายคลื่นที่ซัดสาดผ่านอวกาศ
แทนที่จะเป็นกลุ่มของดาวแต่ละดวงที่เคลื่อนที่ไปด้วยกัน
นักดาราศาสตร์ศึกษาแขนกังหันเนื่องจากให้ข้อมูลว่ากาแลคซีสร้าง, รักษา
และปิดการก่อตัวดาวได้อย่างไร
โครงสร้างเหล่านี้ดูจะเป็นไปในรูปแบบเดียวกันในส่วนที่จำเพาะในกาแลคซี Rosolowsky
กล่าวเสริม
เราคิดว่าแขนกังหันเหมือนเป็นคลื่น
และช่องว่างของมันก็บอกเราได้มากว่ากาแลคซีแห่งหนึ่งๆ
กระจายฝุ่นและก๊าซของมันอย่างไร
แหล่งข่าว sciencealert.com
: breaking JWST images of 19 spiral galaxies reveal incredible diversity
iflscience.com : spiral
galaxies like you have never seen before in new JWST images
No comments:
Post a Comment