สามจากหกว่าที่กาแลคซีมวลสูงที่พบในช่วงอรุณรุ่งของเอกภพ
มีการค้นพบกาแลคซีขนาดใหญ่ในเอกภพยุคต้นสร้างปัญหาให้กับความเข้าใจก่อนหน้านี้ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกำเนิดของกาแลคซีในเอกภพ
วัตถุเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าที่ใครๆ
เคยคาดไว้ Joel Leja ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่เพนน์สเตท
ซึ่งจำลองแสงจากกาแลคซีเหล่านี้ กล่าว
เราคาดว่าจะพบเพียงกาแลคซีทารกอายุน้อยขนาดจิ๋วในช่วงเวลาดังกล่าวในเอกภพ
แต่เรากลับได้พบกาแลคซีที่โตเต็มวัยพอๆ
กับทางช้างเผือกของเราในช่วงที่เราเคยคิดว่ามันเป็นอรุณรุ่งแห่งเอกภพ
ด้วยการใช้ชุดข้อมูลชุดแรกที่เผยแพร่จากกล้องอินฟราเรดใกล้(NIRCam)
ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์
จากโครงการสำรวจ CEERS(Cosmic Evolution Early Release Science program)
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้พบวัตถุที่โตเต็มวัยพอๆ กับทางช้างเผือก
เมื่อเอกภพมีอายุเพียง 3% ของอายุปัจจุบัน
คือที่ราว 500 ถึง 700
ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง
กล้องนี้ติดตั้งด้วยเครื่องมือที่ตรวจสอบในช่วงอินฟราเรดที่สามารถตรวจจับแสงที่เปล่งจากดาวฤกษ์และกาแลคซีที่เก่าแก่ที่สุดได้
ซึ่งเวบบ์ก็ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้มองย้อนเวลากลับไปราว 13.5 พันล้านปี
ใกล้เคียงช่วงเริ่มต้นเอกภพที่เรารู้จักนี้ Leja อธิบาย
นี่เป็นครั้งแรกที่เราได้มองย้อนเวลาไปไกลขนาดนั้น
ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่ต้องเปิดใจให้กว้างเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังได้เห็น Leja
กล่าว
ในขณะที่ข้อมูลบ่งชี้ว่าพวกมันน่าจะเป็นกาแลคซี แต่ผมคิดว่าความเป็นไปได้จริงๆ
ก็คือมีสองสามแห่งในกลุ่มนี้ที่อาจจะกลายเป็นหลุมดำมวลมหาศาล(supermassive
black holes) ที่ถูกปิดบังไว้
แต่ไม่ว่าอย่างไร มวลที่เราพบก็หมายความว่ามวลในรูปดาวในช่วงเวลาเอกภพดังกล่าวนั้น
สูงกว่าที่เคยคิดไว้ 100 เท่า
แม้ว่าเราอาจจะตัดกาแลคซีจนเหลือไม่กี่แห่งก็ยังสร้างความสั่นสะเทือนได้
ว่าที่กาแลคซีมวลสูงทั้งหกแห่งที่จำแนกในข้อมูลจากกล้องเวบบ์พบเห็นในช่วงเวลา 500 ถึง 800 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง หนึ่งในว่าที่(ล่างซ้าย) อาจจะมีมวลในรูปดาวมากพอๆ กับทางช้างเผือกในปัจจุบัน แต่มีขนาดเล็กกว่า 30 เท่า
ในรายงานที่เผยแพร่ใน Nature วันที่ 22 กุมภาพันธ์ นักวิจัยได้แสดงหลักฐานว่ากาแลคซี 6
แห่งนี้มีมวลสูงกว่าที่ใครๆ
เคยคาดไว้
และสร้างคำถามให้กับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่าเข้าใจวิวัฒนาการกาแลคซีในช่วงเริ่มแรกของเอกภพ
ความจริงที่ว่า การก่อตัวกาแลคซีมวลสูงเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงแรกๆ
สุดของความเป็นมาของเอกภพ ได้ปลุกสิ่งที่เราหลายๆ คนเคยคิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่ได้ข้อสรุปแล้วให้คุกรุ่นอีก
Leja กล่าว
เราจึงเรียกวัตถุเหล่านี้อย่างไม่เป็นทางการว่า universe breakers
Leja อธิบายว่ากาแลคซีที่ทีมได้พบนั้นมีมวลสูงมากจนขัดแย้งกับแบบจำลองเอกภพวิทยาเกือบทั้งหมดที่มีอยู่
ยิ่งกว่านั้น ว่าที่กาแลคซีแห่งหนึ่งมีมวลถึง 1 แสนล้านเท่ามวลดวงอาทิตย์พอๆ กับมวลทางช้างเผือก
ในขณะที่ทางช้างเผือกใช้เวลาเกือบตลอดความเป็นมาของเอกภพจนสั่งสมมวลได้ขนาดนี้
แต่กาแลคซีอายุน้อยเหล่านั้นกลับมีการเจริญในเวลาเพียง 700 ล้านปี จึงน่าจะเจริญเร็วกว่าทางช้างเผือกราว 20
เท่า Ivo Labbe ผู้เขียนคนแรกในรายงานนี้
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลจีแห่งสวินเบิร์น ออสเตรเลีย กล่าว
จากแบบจำลองเอกภพวิทยาของเรา
เอกภพในช่วงแรกๆ สุดนั้นไม่เหมือนกับที่เป็นในปัจจุบันเลย เริ่มต้นด้วย
ซุปอนุภาคร้อนจัดที่เกิดขึ้นจากบิ๊กแบง ได้เย็นตัวลงมากพอที่จะสร้างอะตอม
ซึ่งทั่วห้วงอวกาศเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเกือบทั้งหมด
และจากก๊าซเหล่านี้เองที่ดาวฤกษ์และกาแลคซีแห่งแรกๆ ได้เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อราว 150
ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง
แต่ก็ยากที่จะพบหลักฐานการสำรวจจากช่วงเวลาดังกล่าวนั้น
แต่กรอบเวลานี้ก็สมเหตุสมผลโดยมีหลักฐานอื่นมาสนับสนุน และจากนั้นในช่วงราว 500
ถึง 700 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง กาแลคซีก็น่าจะก่อตัวขึ้นมา
จากมวลกาแลคซีที่สูงมากและก่อตัวในเวลาอันสั้นมาก
น่าจะส่งผลต่อแบบจำลองเอกภพวิทยา
หรือต้องกลับไปปรับปรุงความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อตัวกาแลคซีในเอกภพยุคต้นเสียใหม่ซึ่งบอกว่า
กาแลคซีเริ่มต้นขึ้นจากเป็นเมฆของดาวและฝุ่นก้อนเล็ก ซึ่งค่อยๆ
เจริญใหญ่โตขึ้นตามเวลา ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อความเข้าใจว่าเอกภพเป็นมาอย่างไร
เขากล่าวเสริม
เรามองเข้าไปในเอกภพยุคต้นมากๆ
เป็นครั้งแรกและไม่เคยคิดเลยว่าจะได้พบอะไร Leja กล่าว กลับเป็นว่าเราได้พบสิ่งที่คาดไม่ถึง จริงๆ
แล้วคือมันได้สร้างปัญหาให้กับวงการวิทยาศาสตร์
ทำให้ภาพรวมการก่อตัวกาแลคซีในช่วงต้นมีปัญหาขึ้นมา
ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2022 นาซาได้เผยแพร่ภาพสีและข้อมูลสเปคตรัมชุดแรกจากกล้องเวบบ์
เวบบ์ถูกออกแบบมาให้มองเห็นการกำเนิดของเอกภพ
ความละเอียดที่สูงช่วยให้เวบบ์ได้มองเห็นวัตถุที่เก่าแก่มากและอยู่ห่างไกลมาก
หรือสลัวเกินไปสำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล Leja กล่าวว่า เมื่อเราได้ข้อมูลมา ทุกๆ
คนเพิ่งจะเริ่มสุมหัวและเจ้าตัวใหญ่พวกนี้ก็โผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
เราเริ่มทำแบบจำลองและพยายามที่จะบอกให้ได้ว่าพวกมันเป็นอะไร
เพราะพวกมันมีขนาดใหญ่มากและสว่างมาก
ความคิดแวบแรกของผมก็คือน่าจะผิดพลาดอะไรสักอย่าง และเราดันพบมันแต่เดี๋ยวมันก็ผ่านไป
แต่เราก็ไม่พ้นความผิดพลาดนั้นแม้ว่าจะพยายามหาข้อผิดพลาดมากแค่ไหน
สิ่งที่ตลกก็คือเรามีทุกๆ
อย่างที่เราหวังว่าจะได้เรียนรู้จากกล้องเวบบ์
แต่นี่ไม่ได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายสูงสุดเลย
เราพบบางสิ่งที่เราไม่เคยคิดจะร้องขอจากเอกภพ
และมันก็เกิดขึ้นเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ Leja บอกว่าก่อนที่นักดาราศาสตร์จะเริ่มเขียนทฤษฎีเอกภพวิทยาขึ้นใหม่
พวกเขาก็ต้องแน่ใจก่อนว่าจุดสีแดงฝ้าๆ ที่มองเห็นไม่ได้เป็นอย่างอื่น
หรืออาจมีคำอธิบายทางเลือกใหม่
ยกตัวอย่างเช่น
ดาวในเอกภพยุคต้นอาจจะเปล่งแสงรุนแรงมาก อันเนื่องจากสภาพที่ขาดแคลนธาตุหนัก
และบางทีเราอาจจะไม่ได้รวมผลจากการขาดธาตุหนักเข้าไปในแบบจำลอง หรืออีกทาง บางที
ความเข้าใจของเราว่าดาวก่อตัวอย่างไร ใช้ได้แค่ในระดับท้องิ่น เช่น
จะมีดาวมากแค่ไหนที่ก่อตัวจากก๊าซตามการกระจายมวลชองดาวนั้นอาจจะใช้ไม่ได้กับเอกภพยุคต้น
Leja อธิบายว่าทางเดียวที่จะยืนยันการค้นพบของทีมก็น่าจะเป็นการเก็บสเปคตรัมของว่าที่กาแลคซีมวลสูงเหล่านี้
ซึ่งน่าจะให้ข้อมูลระยะทางที่แท้จริง และยังบอกถึงก๊าซและธาตุอื่นๆ
ที่มีในกาแลคซีเหล่านั้น จากนั้นทีมจะใช้ข้อมูลเพื่อทำแบบจำลองว่ากาแลคซีน่าจะสภาพอย่างไร
และจริงๆ แล้วพวกมันมีขนาดใหญ่แค่ไหน ได้ดีขึ้น
สเปคตรัมจะบอกเราในทันทีว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงหรือไม่
มันจะบอกเราว่าพวกนี้ใหญ่แค่ไหน, อยู่ไกลแค่ไหน
การค้นพบนี้จึงอาจจะเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นองการเปลี่ยนผ่านที่เราจะเข้าใจสรรพสิ่งรอบๆ
ตัว Labbe กล่าว
แหล่งข่าว phys.org
: discovery of massive early galaxies defies prior understanding of the
universe
phys.org : Webb spots
surprisingly massive galaxies in early universe
sciencealert.com :
astronomers detect 6 massive galaxies so old they can’t be explained by science
space.com : the James
Webb Space Telescope discovers enormous distant galaxies that should not exist
No comments:
Post a Comment